วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การใช้ Excel : Goal Seek แก้ปัญหาปริมาตรทรงกลม

การใช้ Excel ในบทความนี้จะนำเสนอการใช้สูตร Goal Seek เพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรทรงกลม เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นตัวอย่างการใช้ Excel แก้ปัญหาทางวิศวกรรมมากขึ้น สัปดาห์ที่ผ่านมาได้รับโจทย์ข้อหนึ่งจากเพื่อนๆว่า หากมีถังทรงกลมและเติมน้ำลงไปคิดเป็น 85% ของปริมาตรทรงกลม น้ำในถังทรงกลมจะมีความลึกเท่าไหร่ หากถังทรงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในเท่ากับ 12,410 มม. (ที่ต้องการทราบเพราะว่าความลึกของน้ำในถังที่คำนวณได้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการคำนวณหา Hydrostatic Pressure ที่กระทำกับถังและต่อไปถึงการออกแบบเสารองรับ เสาค้ำยัน และ Sloshing ต่อไปครับ) ในขั้นตอนนี้จะยังไม่เกี่ยวกับการใช้ Excel ครับ มาดูรูปร่างของปัญหากันก่อนครับ

Pic1-bเอาหล่ะครับเริ่มจากการใช้ Calculus ในการหาปริมาตรทรงกลม โดยใช้ Disk Method ดังภาพที่ 1 ครับ

Pic2-b

ภาพที่ 1 Disk Method หาปริมาตรทรงกลม

เมื่อแทนค่า r^2 ด้วย ค่า R^2 - X^2 และอินทิเกรตช่วง x ระหว่าง –R ถึง R จะได้ปริมาตรทรงกลม เท่ากับ (4/3)*PI*R^3 ในทำนองเดียวกันครับหากของไหลในถังบรรจุไม่เต็มสมมุติให้ลึกเท่ากับ h หากกำหนดให้ x เป็นขอบเขตบนของการอินทิเกรต ดังนั้น h = R+x ทำการอินทิเกรต ระหว่าง –R ถึง x จะได้ปริมาตรของไหลที่บรรจุในถังทรงกลมความลึก h เท่ากับ

vf = (PI/3 )*(3xR^2 - x^3 + 2R^3)

จากโจทย์ที่ได้มากำหนดค่า volume fraction (f) ดังนั้นสามารถเขียนได้เป็น

vf = f*(4/3)*PI*R^3

เราสามารถหาค่า x ได้ดังความสัมพันธ์

f*(4/3)*PI*R^3 = (PI/3 )*(3xR^3 - x^3 + 2R^3)

4fR^3 = 3xR^2 - x^3 + 2R^3

3xR^2 - x^3 = 2R^3(2f-1)

จัดเรียงจะได้สมการความสัมพันธ์ดังนี้

(3xR^2 - x^3)/2R^3 = 2f – 1 (1)

มาถึงตรงนี้หากเราแก้สมการหาค่า x ได้ ก็สามารถหาความลึกของของไหลได้ดังความสัมพันธ์ h = R + x

จะเห็นว่าการแก้สมการที่ 1 ทำได้โดยการใช้ Excel สูตร Goal Seek ดังที่เคยนำเสนอไปในบทความก่อนหน้านี้ครับ มาดูการใช้ Excel กันเลยครับ

เริ่มจากขั้นแรกกำหนดค่าตัวแปรต่างๆลงในเซลล์ดังแสดงในภาพที่ 2

การใช้ Excel

ภาพที่ 2 การกำหนดค่าตัวแปรในเซลล์

จากภาพที่ 2 อธิบายได้ดังนี้

f คือ volume fraction ในโจทย์นี้เท่ากับ 0.85 (85%)

x คือ คำตอบของสมการ ผมเดาค่าเริ่มต้นเท่ากับ 2000

h คือ ความลึกของระดับน้ำ มีค่าเท่ากับ B1+B3

LHS คือผลการคำนวณค่าด้านซ้ายของสมการ(3*B3*(B1^2) - B3^3)/(2*B1^3)

RHS คือผลการคำนวณค่าด้านขวาของสมการ (2*B2 – 1)

DIFF คือผลต่างของ LHS และ RHS

การใช้ Excel ช่วยหาคำตอบจะเริ่มจากการเรียกใช้งานคำสั่ง Goal Seek ซึ่งจะปรากฎหน้าต่างดังแสดงในภาพที่ 3

การใช้ Excel-Goal seek ภาพที่ 3 การกำหนดค่าในหน้าต่าง Goal Seek

จากภาพที่ 3 สามารถอธิบายได้ว่า ต้องการตั้งค่าในเซลล์ B6 (ค่า DIFF) ให้เป็นค่า 0.0001 โดยการเปลี่ยนค่าในเซลล์ B3 (ค่า x) เมื่อกดปุ่ม ตกลง Excel จะทำการหาค่าเป้าหมายที่ใกล้เคียงที่สุดดังแสดงผลการค้นหาได้ดังภาพที่ 4

ผลการใช้ Excel

ภาพที่ 4 ผลการใช้ Excel : Goal seek

จากภาพที่ 4 Excel ได้ค้นหาค่า x ซึ่งเป็นคำตอบของสมการได้และเมื่อเราตรวจสอบผลต่างใน B6 แล้วจะพบว่ามีค่ามากจึงกล่าวได้ว่า เราได้ Solution ของปัญนี้แล้ว โดยระดับน้ำในถังทรงกลมซึ่งบรรจุน้ำ 85% โดยปริมาตรของถังมีค่าเท่ากับ 9,374.078 มม.

หวังว่าการนำเสนอ การใช้ Excel ในหัวข้อนี้คงจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านนะครับ หากผมพบปัญหาที่น่าสนใจและมีการใช้ Excel เข้าช่วยแก้ปัญหาจะนำมาเสนอท่านผู้อ่านต่อไป สวัสดีครับ

ปล

ในทางกลับกัน สมการ vf = (PI/3 )*(3xR^2 - x^3 + 2R^3) สามารถใช้ในการคำนวณหาปริมาตรของของไหลน้ำในถังทรงกลมได้ หากทราบความลึกของระดับของของไหล h โดยที่ x = h – R ครับ

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

TQC and TPM

มีบริษัทจำนวนมากที่ได้ประยุกต์ใช้ทั้ง TQC และ TPM พร้อมๆกัน ซึ่งก็ได้รับผลดีเยี่ยม โดยบริษัทส่วนใหญ่ดำเนินการประยุกต์ภายในแนวคิดที่ว่า TPM คือส่วนหนึ่งของ TQC ในขณะที่ความเป็นจริงนั้น ทั้ง TQC และ TPM ล้วนแต่สร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทได้เหมือนกัน แต่หากพิจารณาในแง่ที่ว่า TPM คือการพัฒนาระบบที่สร้างคุณภาพให้อยู่ในเครื่องจักร อุปกรณ์ อันเป็นการประยุกต์หลักการข้อหนึ่งของ TQC ที่ว่า “คุณภาพต้องมาก่อน” ก็อาจกล่าวได้ว่า TPM คือมุมมองหนึ่งของ TQC

ในขณะที่ TQC ได้รับการประยุกต์ใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมญี่ปุ่น แต่ทว่า TPM กลับได้รับการยอมรับในระยะเวลาไม่นานนี่เอง ทั้งนี้เนื่องจากมีบริษัทจำนวนหนึ่งเกิดความลังเลใจต่อการประยุกต์ใช้ TPM เนื่องจากไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า TQC และ TPM มีความแตกต่างกันอย่างไร ตลอดจนไม่ทราบถึงวิธีการใช้ TQC ร่วมกับ TPM ได้อย่างไร ดังนั้นจะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง TQC และ TPM ให้ถ่องแท้ดังจะนำเสนอในหัวข้อต่อๆไปครับ

TPM and TQC

ปล บทความนี้เห็นว่ามีประโยชน์กับท่านผู้อ่านจึงนำมาเสนอให้ท่านผู้อ่านครับ ขอขอบคุณ หนังสือ TQC AND TPM ของสำนักพิมพ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Excel tips: การแปลงเป็น pdf จากไฟล์หลายรูปแบบ

Excel tips บทความนี้ขอนำเสนอ การแปลงไฟล์เป็น pdf อีกบทหนึ่งครับ จากบทความที่ผ่านมา จะเห็นว่าผมได้นำเสนอวิธีการแปลงข้อมูลในไฟล์ excel เป็น pdf ไปแล้วซึ่งหากพิจารณากันแล้วจะพบว่าเป็นการแปลงเป็น pdf จากแหล่งข้อมูลเดียว หากในการใช้งานการแปลงข้อมูลเป็น pdf จริงอาจมีแหล่งข้อมูลหลากหลาย เช่น ในรายงานฉบับหนึ่งในแต่ละหน้าอาจมีแหล่งข้อมูลจากไฟล์หลากหลายรูปแบบเช่น เนื้อหารายงานจากไฟล์ word ตารางผลการวิเคราะห์จาก excel รูปภาพประกอบเป็นไฟล์รูปแบบ jpg เป็นต้น ทีนี้หากเราจะรวมแปลงข้อมูลเหล่านี้เป็น pdf หนึ่งไฟล์จะทำอย่างไร นี่จึงเป็นจุดประสงค์ของการนำเสนอบทความนี้ครับ และก็เช่นเดิมครับ เราจะใช้โปรแกรม pdf creator เป็นโปรแกรมที่ช่วยรวบรวมและจัดเรียงข้อมูล สุดท้ายจะแปลงเป็น pdf ให้กับเรากันครับ มาดูกันเลย เริ่มต้นให้ท่านผู้อ่านสร้างไฟล์ word ขึ้นมา 1 ไฟล์ ตั้งชื่อไฟล์เป็น Document.doc ให้มีข้อมูลซัก 1 หน้า แล้วก็สร้างไฟล์ excel ตั้งชื่อไฟล์เป็น table.xls ทำตารางคำนวณใน worksheet 1 แผ่นแ เอาหล่ะครับเราจะเริ่มรวมข้อมูลและแปลงเป็น pdf กันเลย ตามขั้นตอนดังนี้

  1. หากเราติดตั้ง pdf creator ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วให้เปิดโปรแกรม pdf creator ดังแสดงในภาพที่ 1

pdf creator-openภาพที่ 1 เปิดโปรแกรม pdf creator

2. โปรแกรม pdf creator จะปรากฏดังภาพที่ 2 ให้ท่านผู้อ่านตรวจสอบสถานะการแปลงไฟล์ก่อนครับ โดยไปที่ เมนู Printer และเลือก Printer Stop ให้มีเครื่องหมายถูกหน้าเมนู เพื่อหยุดการพิมพ์ก่อน หรืออาจกดปุ่ม F2 เพื่อสลับสถานะการแปลงไฟล์ และให้ท่านสังเกตทูลบาร์ตัวแรกรูปเครื่องพิมพ์ครับ หากอยู่ในสถานะหยุดพิมพ์จะมีจุดสีแดงหากอยู่ในสถานะพร้อมพิมพ์จะมีจุดสีเขียวปรากฎ ขั้นตอนนี้ให้กำหนดสถานะการพิมพ์เป็น หยุดพิมพ์ครับ

pdf creator Program

ภาพที่ 2 โปรแกรม pdf creator แสดงสถานะการพิมพ์เป็นหยุดพิมพ์

3. การนำเข้าข้อมูลจากไฟล์ที่ต้องการแปลงป็น pdf ทำได้โดยไปที่ เมนู Document เลือกคำสั่ง Add จะปรากฎหน้าต่าง Open ในหน้าต่างนี้ให้เลือกชนิดไฟล์เป็น All Files(*.*) เลือกไฟล์ชื่อ Document.doc คลิกปุ่ม Open pdf creator จะประมวลผลให้รอซักครู่ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจะแสดงสถานะโปรแกรม pdf creator ดังภาพที่ 3

pdf creator-2

ภาพที่ 3 pdf creator แสดงไฟล์ข้อมูลที่ถูกนำเข้า 1 ไฟล์

4. ดำเนินการตามข้อ 3 เพื่อนำเข้าไฟล์ table.xls สุดท้ายจะได้ดังภาพที่ 4

pdf creator-3

ภาพที่ 4 pdf creator แสดงไฟล์ข้อมูลที่ถูกนำเข้า 2 ไฟล์

5. ในขั้นตอนนี้หากต้องการสลับตำแหน่งข้อมูลก็สามารถทำได้โดยการคลิกทูลบาร์ปุ่มลูกศรเพื่อสลับตำแหน่งของหน้าข้อมูล หรือไปที่เมนู Document และเลือกคำสั่งได้ตามต้องการ

6. เมื่อจัดตำแหน่งข้อมูลที่ต้องการแปลงเป็น pdf ได้ตามต้องการแล้ว ให้ไปที่เมนู Document เลือกคำสั่ง Combine All (หรือกด Ctrl + A) pdf creator จะรวมข้อมูลเป็นไฟล์เดียวดังแสดงในภาพที่ 5

pdf creator-4ภาพที่ 5 pdf creator แสดงไฟล์ข้อมูลที่ถูกรวม

7. ทำการแปลงเป็น pdf โดยการเปลี่ยนสถานะการพิมพ์ (กดปุ่ม F2) จะปรากฎ หน้าต่าง pdfcreator ให้คลิกปุ่ม Save จะปรากฎหน้าต่าง Save as เลือกชนิดไฟล์เป็น .pdf ตั้งชื่อไฟล์ เป็น Combine กดปุ่ม Save pdf creator จะแปลงข้อมูลเป็น pdf ให้

8. มาถึงขั้นตอนนี้เราก็จะได้ไฟล์ pdf ที่ได้จากการแปลงข้อมูลเป็น pdf เรียบร้อยแล้วครับ

ที่นำเสนอมาทั้งหมดขอให้ท่านผู้อ่านทดลองใช้ดูนะครับ ลองทดสอบใช้งานคำสั่งต่างในเมนูของ pdf creator ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการแปลงเป็น pdf ได้อีกเยอะ หากมีข้อสงสัยถามมาได้นะครับ สวัสดีครับ

excel tips

  1. pdf creator สำหรับแปลงเป็น pdf
  2. การสลับแถวสลับหลักของข้อมูล
  3. การทำซ้ำด้านบน (Repeat Row)

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Excel tips: pdf creator สำหรับแปลงเป็น pdf

pdf creator เป็น free program ที่ใช้สำหรับแปลงไฟล์ต่างๆให้เป็น pdf ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไป download pdf creator ได้ที่นี่ บางครั้งเราก็จำเป็นต้องส่งข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการด้วยสูตร excel ต่างๆ เช่น การดำเนินการด้วยสูตรexcel : vlookup การใช้ pivottable ช่วยทำรายงานกับข้อมูลต่างๆใน excel ในรูปแบบไฟล์ pdf เพื่อป้องกันความผิดพลากจากการอ้างอิงสูตร excel หรือป้องกันการถูกแก้ไขสูตร excel วิธีการแปลงเป็น pdf ก็ไม่ยากครับ หากท่าน download pdf creator เสร็จแล้ว ให้ท่านทำการติดตั้ง pdf creator ตามปกติครับ จากนั้นหากต้องการแปลงข้อมูลใน excel เราก็สามารถทำได้โดยไปที่ File->print… จะปรากฎหน้าต่าง พิมพ์ โดยในหน้างต่างพิมพ์ ในช่องชื่อเครื่องพิมพ์ ให้เราเลือก PDFCreator ดังแสดงในภาพ นอกจากนี้เราสามารถปรับแต่งรูปแบบการพิมพ์ได้เหมือนการพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ครับ เพียงแต่การพิมพ์ด้วย pdf creator เป็นการแปลงออกเป็นไฟล์ pdf ดังแสดงในภาพที่ 1

pdf creator ภาพที่ 1 หน้าต่างกำหนดการพิมพ์ (pdf creator)

เมื่อกำหนดรูปแบบการพิมพ์เสร็จสมบูรณ์แล้วก็ให้กดปุ่มตกลงเพื่อให้ pdf creator แปลงข้อมูลที่เราเลือกออกเป็นไฟล์ pdf โดยจะแสดงหน้าต่างดังภาพที่ 2 ให้เรากดปุ่ม Save จะปรากฎหน้าต่าง Save As ให้เรากำหนดชื่อไฟล์ผลลัพธ์การแปลง ตำแหน่งที่เก็บไฟล์ผลลัพธ์ และชนิดของไฟล์ที่ต้องแปลง ดังแสดงในภาพที่ 3

pdf creator dialogภาพที่ 2 หน้าต่างการกำหนดค่าของ pdf creator

pdf creator save

ภาพที่ 3 หน้าต่าง pdf creator Save As

กดปุ่ม Save เสร็จแล้ว pdf creator จะดำเนินการแปลงข้อมูลใน excel ที่เรากำหนดให้เป็นรูปแบบไฟล์ pdf ที่เรากำหนดครับ

เสร็จแล้วครับขั้นตอนการใช้งาน pdf creator จะเห็นว่าสามารถแปลงเป็น pdf ได้ง่ายมากที่สำคัญเป็นของฟรีด้วยครับ แถมท้ายมาดูกันว่านอกจากการแปลงเป็น pdf แล้ว pdf creator สามารถแปลงข้อมูลเป็นไฟล์ชนิดไหนได้อีก ไปดูกันเลยครับ

  1. ไฟล์ภาพ .png ,.jpg, .bmp , .pcx , .tif ,
  2. postscrip file .ps , .eps
  3. text file .txt
  4. Adobe Photoshop .psd

excel tips

  1. การแปลงเป็น pdf จากไฟล์หลายรูปแบบ

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

TPM : 8 เสาหลัก – PM,SI

มาดูเสาหลักของการทำ TPM อีก 2 เสาต่อไปเลยครับ

  1. เสา Planned Maintenace Pillar(PM) เป็นเสาการบำรุงรักษาตามแผน
    1. เป้าหมายการทำ TPM : เพิ่มประสิทธิภาพงานซ่อมบำรุงเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียในการผลิต
    2. ผู้รับผิดชอบการทำ TPM : ผู้จัดการและหัวหน้างานในฝ่ายซ่อมบำรุง
    3. บทบาทและหน้าที่ของเสา PM
      1. จัดทำแผนการบำรุงรักษาประจำวัน
      2. จัดทำแผนบำรุงรักษาตามระยะเวลา
      3. จัดทำแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
      4. ยืดอายุการใช้งานเครื่องจักร
      5. ควบคุมการเปลี่ยนชิ้นส่วนตามคาบเวลาที่กำหนด
      6. วิเคราะห์ความเสียหายและหาทางป้องกัน
  2. เสา Specific Improvement (SI) เป็นเสาการปรับปรุงเฉพาะเรื่อง เป็นเสาที่ช่วยในการหาการสูญเสียที่เกิดขึ้นในการผลิตและหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกโดยใช้เครื่องมือต่างๆเช่น PDCA ,Fish Bone , Pareto Matrix,Why-Why Analysis, PM-Analysis เป็นต้น
    1. เป้าหมายการทำ TPM :
      1. เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้อยู่ระดับสูงสุดเสมอ
      2. เครื่องจักรเสียและของเสียเป็นศูนย์
    2. ผู้รับผิดชอบการทำ TPM : ผู้จัดการและหัวหน้างานในสยาการผลิต
    3. บทบาทและหน้าที่ของเสา SI
      1. กำจัดความสูญเสีย
      2. คำนวณค่า OEE ของแต่ละสายการผลิตหรือของแต่ละ Product พร้อมทั้งทำการตั้งเป้าหมาย
      3. วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่ทำให้ OEE ต่ำ
      4. ทำการวิเคราะห์ด้วยหลัก P-M เพื่อกำจัดความเสียหายแบบเรื้อรัง
      5. เฝ้าติดตามในแต่ละช่วงเวลาว่าเครื่องจักรควรได้รับการปรับปรุงอย่างไร

แปดเสาหลักอื่นๆ

  1. Education & Training Pillar (ET)
  2. Autonomous Maintenance Pillar (AM)
  3. Safety and Enveronment Pillar (SE)
  4. Quality Maintanance Pillar(QM)

ตัวอย่าง kpi : Breakdown Rate (TPM kpi)

ตัวอย่าง kpi ที่จะนำเสนอในบทความนี้จะเกี่ยวข้องกับการทำ TPM ซึ่งสิ่งที่ชี้วัดผลได้อย่างชัดเจนและรวดเร็วที่สุดในดำเนินการทำ TPM น่าจะเป็น การลดลงของเวลาหยุดโดยไม่คาดคิดของเครื่องจักร หรือเรียกว่า Breakdown Time kpi ที่ใช้วัดผลและสามารถเชื่อมโยงไปยังค่า oee ได้คือ นั่นคือ ค่า Breakdown Rate (BR)

วัตถุประสงค์ในการใช้ KPI

เพื่อใช้วัดเวลาการสูญเสียที่ไม่สามารถผลิตสินค้าอันเนื่องมาจากเครื่องจักรเสียเทียบกับเวลาที่ใช้เดินเครื่องเพื่อผลิตสินค้า

ข้อมูลดิบ

  1. Breakdown Time หน่วยเป็นนาที
  2. Operation Time = Used Time – Planned Halt Time (สามารถดูได้จากบทความเรื่อง Effective Time)

สูตรการคำนวณ kpi

Breakdown Rate = 100*Breakdown Time/Operation Time

หน่วยวัด kpi : %

ความถี่ในการวัดผล kpi

ควรรายงานเป็นสัปดาห์เพื่อให้หัวหน้างานใช้ติดตามสำหรับแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วโดยอาจแยกเป็นแผนกหรือเป็นแต่ละโรงงาน และน่าจะนำเสนอสรุปเป็นค่าเฉลี่ยเป็นรายเดือนหรือไตรมาสเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงทราบ

ตัวอย่าง kpi ที่เกี่ยวข้อง

  1. oee
  2. Availibility Rate
  3. MTBF
  4. MTTR

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่าง kpi : Effective Time ในการผลิต

Chart Time

ภาพที่ 1 แผนภูมิเวลา

สวัสดีครับ บทความนี้ขอแสดงด้วยภาพเลยนะครับ ว่าจริงๆแล้ว Production Time ที่ใช้ผลิตสินค้า (Effective Time) ถูกรบกวนด้วยเหตุการณ์ใดบ้าง ตัวอย่าง kpi ด้านการผลิตส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวกับเวลา Effective Time เหล่านี้ครับ

Effective Time สามารถเพิ่มได้หากเราดำเนินการลด Down Time มาดูกันครับว่า Down Time เหล่านี้มีอะไรบ้าง

Holiday คือวันหยุดการผลิตตามโรงงาน

Unused Time คือ เวลาที่เครื่องพร้อมผลิตแต่ไม่ได้ผลิตอันเกิดจากไม่มีแผนผลิตหรือการสั่งซื้อ

Planned Halt Time คือเวลาที่จงใจไม่ผลิตสินค้าเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักร (pm)

Routine Production Stoopage คือเวลาที่ต้องหยุดเครื่องเป็นประจำทุกครั้งก่อนผลิตสินค้า เช่น setup time startup Adjustment Change over เป็นต้น

Unexpect stoppage คือเวลาที่หยุดโดยไม่คาดคิด (Breakdown time) เช่นเครื่องเสีย ไฟฟ้าดับ เป็นต้น

ก็คงไม่ต้องอธิบายมากครับ ฟ้องด้วยภาพหล่ะกันครับ เพราะท่านผู้อ่านคงจะพบกับ down time เหล่านี้ในตัวอย่าง kpi ต่อๆไป สวัสดีครับ

อ้อ การลด breakdown ต่างๆที่เสนอไว้ เราจะใช้การทำ TPM เข้าช่วยนะครับ

TPM : 8 เสาหลัก (1)

บทความนี้จะนำเสนอกิจกรรมหลัก 8 กิจกรรมที่เราเรียกกันว่า 8 เสาหลักในการทำ TPM และจะนำเสนอตัวอย่าง kpi ที่ใช้วัดความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ บทความนี้จะขอนำเสนอ 2 เสาแรกก่อนครับ ไปดูกันเลย

  1. Education & Training Pillar (ET) เป็นเสาการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการทำงานและการบำรุงรักษา เป็นเสาที่ควรจะดำเนินการเป็นอันดับแรก เพื่อให้คนในองค์กรทราบว่า TPM คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และจะกระตุ้นให้พนักงานอยากทำ TPM ได้อย่างไร เสานี้จะต้องพยายามหาหลักสูตรการอบรมให้ความรู้แก่พนักงานเป็นหลัก เช่น วิชาช่างพื้นฐาน วิชาช่างชั้นสูง ฟิสิกส์ การวิเคราะห์ปัญหา ด้วยระบบต่างๆเช่น PDCA P-M Analysis เป็นต้น สุดท้ายแล้วเป้าของกิจกรรมเสานี้คือ การยกระดับความสามารถในทางเทคนิคของผู้ใช้เครื่องและช่างซ่อมบำรุง ตัวอย่าง kpi อาจจะใช้จำนวนหลักสูตรอบรมโดยเฉลี่ย หรือ % ของผู้เข้าอบรมที่ทำคะแนนในการเกินกว่าที่กำหนดเป็นต้น
  2. Autonomous Maintenance Pillar (AM) เป็นเสาการบำรุงรักษาด้วยตัวเอง เสานี้เปรียบได้กับเสาหลักของกิจกรรม TPM ตังชี้วัดหลังจากดำเนินกิจกรรมในเสานี้ พนักงาน(ผู้ใช้เครื่องและหัวหน้างานในสายการผลิต)จะต้อง
    1. สามารถการทำความสะอาดแบบตรวจสอบได้
    2. สามารถกำจัดจุดยากลำบากและแหล่งกำเนิดปัญหา
    3. มีการเตรียมมาตรฐานการบำรุงรักษาด้วยตัวเอง
    4. มีการตรวจสอบโดยรวม
    5. มีการตรวจสอบด้วยตัวเอง
    6. มีการจัดทำเป็นมาตรฐาน
    7. มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
8 เสาหลัก TPM อื่นๆ
  1. Safety and Enveronment Pillar (SE)
  2. Quality Maintanance Pillar(QM)
  3. Planned Maintenace Pillar(PM)
  4. Specific Improvement (SI)

TPM คืออะไร

Total Productive Maintenance หรือ TPM คืออะไร

ในภาคส่วนการผลิต

TPM คือระบบการบำรุงรักษาที่จะทำให้เครื่องจักรอุปกรณ์เกิดประโยชน์สูงสุด

TPM คือ การประยุกต์ใช้ PM เพื่อให้สามารถใช้เครื่องจักรได้ตลอดอายุการใช้งาน

TPM คือ ระบบการบำรุงรักษาของทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเครื่องจักรอุปกรณ์ ได้แก่ผู้วางแผนการผลิต ผู้ใช้เครื่อง และฝ่ายซ่อมบำรุง

TPM คือ ระบบการบำรุงรักษาที่อยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงผู้ใช้เครื่อง

TPM คือการทำให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำ PM ในลักษณะเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม

TPM แท้จริงแล้วมิใช่เครื่องมือในการบำรุงรักษา แต่ TPM เป็นปรัชญาในการบริหารการผลิตที่เน้นเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องในแนวคิดปละความสำคัญที่แท้จริงของ TPM เพื่อไปสู่ความสำเร็จในการทำ TPM

หากท่านผู้อ่านเคยเรียนรู้ TQM จะพบว่า การทำ TPM เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำ TQM โดยกิจกรรมต่างๆในการทำ TPM จะดำเนินการผ่านกิจกรรมทั้งหมด 8 ส่วน ซึ่งจะนิยมเรียกกันว่า 8 เสาหลักของ TPM จะมีอะไรบ้าง มีลำดับในการทำก่อนหลังหรือไม่ KPIs ที่นิยมใช้วัดความสำเร็จของกิจกรรมทั้ง 8 เสาหลักนอกจากค่า OEE MTBF MTTR แล้วมีอะไรอีกบ้าง บทความต่อไปผมจะรวบรวม ตัวอย่าง kpi มาเสนอท่านผู้อ่านครับ

ปล. ข้อมูลบางส่วนของบทความนี้นำมาจาก หนังสือ TPM Total Productive Maintenance เขียนโดย ธานี อ่วมอ้อ สำนักพิมพ์ ซีเอ็ด ก็ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

หัวข้อ TPM ที่เกี่ยวข้อง

แนวคิด TPM ในสำนักงาน

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตัวอย่าง kpi : Mean Time to Repair (MTTR)

ตัวอย่าง kpi ในบทความนี้ขอนำเสนอ Lead kpi ที่จะมีผลต่อค่า OEE อีกชนิดหนึ่ง โดยจะเกี่ยวข้องกับ ค่า Availibility Rate นั่นคือค่า Mean Time to Repair (MTTR) และยังสามารถนำไปคำนวณค่า Availibility Rate ได้

จุดประสงค์ของการวัด kpi

เพื่อใช้แสดงระยะเวลาในการซ่อมเครื่องจักรให้กลับคืนสู่สภาพปกติ ค่า MTTR เป็นการแสดงถึงการบริหารจัดการในการดูแลรักษษเครื่องจักรตั้งแต่กระบวนการวางแผนบำรุงรักษาเครื่องจักร การบริหารอะไหล่สำรอง ค่า MTTR ต่ำแสดงถึงประสิทธิภาพการบริหารจัดการในการซ่อมบำรุงที่ดีและมีผลให้ค่า Availibility Rate สูงขึ้น

ขัอมูลดิบ

  1. Failure Date Time คือวันและเวลาที่เครื่องจักรเสียจนหยุดผลิต
  2. Reproduction Date Time คือวันและเวลาที่เครื่องจักรสามารถเดินเครื่องได้ตามปกติ

สูตรคำนวณ

MTTR = Reproduction Date Time - Failure Date Time

จากสูตรการคำนวณสามารถใช้สูตร Excel : Datediff คำนวณค่า MTTR ได้โดยง่าย

หน่วยวัด kpi : ชั่วโมงหรือวัน

การรายงาน

รายงานเป็นสัปดาห์เพื่อติดตามผลอย่างใกล้ชิดเพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

ตัวอย่าง kpi ที่เกี่ยวข้อง

  1. MTBF

ตัวอย่าง kpi : Mean Time Between Failure(MTBF)

ตัวอย่าง kpi ในบทความนี้จะเสนอ Productivity kpi ที่เกี่ยวข้องกับค่า OEE เป็น kpi ที่บ่งบอกผลโดยอ้อมของกระบวนการทำ TPM ได้เช่นกัน นั่นคือค่า Mean Time Between Failure นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้คำนวณค่า Availability Rate ได้อีกด้วย มาดูรายละเอียดกัน kpi ตัวนี้กันครับ

จุดประสงค์ของการวัด kpi

เพื่อใช้แสดงระยะเวลาระหว่างการที่เครื่องจักรเสียคราวที่ก่อนกับการเสียครั้งล่าสุด เป็นตัวบ่งชี้ถึงการยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรให้นานขึ้นก่อนจะเสียครั้งต่อไป หากการทำ TPM เกิดผล MTBF จะมีค่าสูงและจะส่งผลให้ค่า Availability Rate มีค่าสูงขึ้นด้วย ดังนั้นหากจะกล่าวว่า MTBF เป็น kpi ที่บ่งชี้ถึงสุขภาพเครื่องจักรก็คงไม่ผิดนัก

ข้อมูลดิบ

  1. Preavious Breakdown Date คือวันที่เครื่อจักรเสียครั้งก่อน
  2. Last Breakdown Date คือวันที่เครื่องจักรเสียครั้งล่าสุด

สูตรคำนวณ

MTBF = Preavious Breakdown - Last Breakdown Date

MTBF ที่ได้จากแต่ละเครื่องและแต่ละช่วงเวลาจะถูกนำมาหาค่าเฉลี่ย จะสังเกตเห็นว่าค่าสูตรการคำนวณ MTBF สามารถใช้สูตร Excel : Datediff มาคำนวณได้ ดังนั้นการเก็บข้อมูลดิบเพื่อคำนวณ ค่า MTBF ลงใน Excel จะทำให้สะดวกเป็นอย่างมาก

ตัวอย่างการคำนวณ

MTBF = 30/8/53 – 1/8/53 = 29 วัน = 29*24 ชม

หน่วยวัด kpi : ชั่วโมงหรือวัน

การรายงาน

ควรรายงานค่า MTBF เป็นรายสัปดาห์เพื่อให้ทราบถึงสุขภาพของเครื่องจักรและจะได้ติดตามแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว โดยอาจแยกเป็นแต่ละเครื่องจักร หรือรวมกันเป็นแผนกหรือของโรงงาน

ข้อสังเกต

MTBF ถือว่าเป็น Lead kpi เนื่องจากเป็นตัวชี้นำให้เห็นแนวโน้มของปัญหาของสภาพเครื่องจักรซึ่งจะมีผลต่อการผลิตหรือคุณภาพสินค้า

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Excel Pivot Table : บัญชีรายรับงานแต่ง (Wedding)

Excel pivot table ที่จะนำเสนอในบทความนี้ เป็นการประยุกต์ใช้ excel pivot table ในการจัดทำบัญชีรายรับงานแต่งงานครับ จากที่ผ่านมาได้นำเสนอการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายไปแล้ว 3 ชนิด และเนื่องจากเมื่อเร็วๆนี้ผมมีประสบการณ์ตรงในเรื่องนี้จึงขอนำเสนอ หลังเสร็จสิ้นงานแต่งงาน สิ่งหนึ่งที่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวต้องพึงระวังคือ การแกะซอง ใช่แล้วครับ เนื่องจากงานแต่งงาน แขกผู้ใหญ่และเพื่อนๆที่เราเชิญมาร่วมงานก็จะมอบซองเพื่อร่วมอวยพรให้กับเรา ซึ่งเราเองฝ่ายเจ้าบ่าวเจ้าสาวหลังงานแต่งงานก็ต้องจดบันทึกเงินช่วยซองในงานแต่งงาน เอาไว้เพื่อว่าต่อไปแขกที่เราเคยเชิญมีงานบุญต่างๆ ครอบครัวเราก็จะได้ร่วมแสดงความยินดีด้วย หากเป็นเมื่อก่อนเราก็คงจะจดบันทึกบัญชีรายรับลงในสมุดทั่วไปและก็จะมาพลิกค้นหารายชื่อแขกเมื่อมีโอกาสต่าง ซึ่งไม่ง่ายนักหากแขกมีจำนวนเยอะหรือหากเวลาเนิ่นนานความคมชัดของข้อมูลอาจจะลดลง ดังนั้นในปัจจุบันผมจึงขอนำเสนอการจัดทำบัญชีรายรับ ด้วย excel และสรุปรายงานด้วย Pivot table มาเริ่มกันเลยครับ

เริ่มจากเราจะบันทึกข้อมูลรายชื่อแขกและรายละเอียดลงในบัญชีรายรับ งานแต่งงาน โดยมีรูปแบบดังนี้

เซลล์ A1 ให้กำหนดหัวข้อเป็นรายชื่อแขก

เซลล์ B2 เป็นที่มาของแขก เราอาจจะแบ่งที่มาเป็นหลายรูปแบบ เช่น จังหวัดของแขกที่มา (กรณีบ่าวสาวอยู่คนละจังหวัด) ชื่อบริษัท (กรณีแขกเป็นเพื่อนร่วมงาน) ชื่อสถาบันการศึกษา(กรณีแขกเป็นเพื่อนสมัยเรียน) ชื่อหมู่บ้านที่พักอาศัย(กรณีบ่าวสาวมีที่พักเป็นหมู่บ้าน)เป็นต้น

เซลล์ C1 เป็นจำนวนเงินที่แขกช่วยงาน

เซลล์ D1 เป็นหมายเหตุอื่นๆ เช่น ให้ซองให้ของ เป็นต้น

จากนั้นเราก็ทำการแกะซองและบันทึกลงบัญชีรายรับงานแต่งของเรากันครับ

เมื่อได้ข้อมูลครบ เราก็จะใช้ Excel Pivot Table ช่วยรายงานบัญชีรายรับงานแต่งของเราครับ สมมุติว่าผมต้องการแยกรายงานบัญชีรายรับตามที่มาของแขกเราจะดำเนินการดังนี้ครับ

  1. ไปที่เมนูข้อมูลเลือก รายงาน PivotTable และ PivotChart… จะปรากฎหน้าต่างตัวช่วยสร้างPivotTable และ PivotChart ขั้นตอนที่ 1ให้คลิกปุ่มถัดไป
  2. ในขั้นตอนที่ 2 ให้ผู้ใช้เลือกช่วงข้อมูลที่ต้องการทำ PivotTable จากนั้นให้คลิกปุ่มถัดไปจะปรากฎตัวช่วยสร้างขั้นตอนที่ 3
  3. ให้เลือกใช้ตัวกำหนดเป็นสร้างเป็นแผ่นงานใหม่
  4. คลิกปุ่ม เค้าโครง… เพื่อปรับรูปแบบของรายงานจะปรากฎตัวช่วยสร้างเค้าโครงดังภาพที่ 1
  5. ทำการลากหัวข้อของข้อมูลวางลงบนเค้าโครงดังแสดงในภาพที่ 2
  6. คลิกปุ่ม ตกลง เพื่อกลับมายังหน้าต่าง ตัวช่วยสร้างPivotTable และ PivotChart ขั้นตอนที่ 3 และให้คลิกปุ่ม ตัวเลือก… จะปรากฎหน้าต่าง ตัวเลือก PivotTable
  7. ให้คลิกตัวเลือก ผลรวมทั้งหมดสำหรับแถว ออก แล้วคลิกปุ่ม ตกลง เพื่อกลับมายังหน้าต่าง สร้างPivotTable และ PivotChart ขั้นตอนที่ 3
  8. คลิกปุ่มเสร็จสิ้น excel จะสร้าง worksheets ใหม่ เพื่อแสดงรายงานบัญชีรายรับงานแต่ง ดังแสดงในภาพที่ 3

Excel Pivot table

ภาพที่ 1 ตัวช่วยสร้าง PivotTable และ PivotChart เค้าโครง

Excel Pivot table1

ภาพที่ 2 ตัวช่วยสร้าง PivotTable และ PivotChart เค้าโครง

Excel Pivot table2

ภาพที่ 3 รายงานบัญชีรายรับงานแต่ง

จากรายงานในภาพที่ 3 ท่านสามารถเลือกดูรายชื่อแยกตามที่อยู่ได้ครับโดยการเลือกในช่อง ที่อยู่ ดังตัวอย่างในภาพที่ 4

Excel Pivot table3

ภาพที่ 4 การแสดงข้อมูลตามที่อยู่ที่ต้องการ (กรณีนี้คือ KMUTNB)

จากตัวอย่างที่นำเสนอมาหวังว่าท่านผู้อ่านคงจะนำไปปรับใช้เป็นบัญชีรายรับในกรณีอื่นๆได้นะครับ เช่น งานบวช ขึ้นบ้านใหม่ สำหรับงานแต่งอีกรอบ(ไม่แนะนำครับ) แล้วพบกันในบทความต่อไปครับ สวัสดีครับ

Excel Tips: การสลับแถวสลับหลักของข้อมูล

Excel Tips ที่จะเสนอในบทความนี้คือวิธีการสลับแถวสลับหลักของข้อมูลในเซลล์ที่เลือกไว้ครับ ในการใช้งาน excel หลายครั้งที่ต้องมีการสำเนาข้อมูลจาก excel file หนึ่งไปยัง excel file หนึ่ง และมีอีกสิ่งหนึ่งที่มีโอกาสพบเจอนั่นคือรูปแบบการจัดเรียงข้อมูลใน excel file ปลายทางไม่ตรงกับการจัดเรียงข้อมูลใน excel file ต้นทาง มาดูตัวอย่างปัญหากันเลยครับ

100.99 20 30.45 50.85

ลักษณะการวางข้อมูล excel file ต้นทางมีลักษณะเป็นเมตริกซ์ขนาด 1x4

24


24.6
1000
105

ลักษณะรูปแบบข้อมูล excel file ปลายทาง

ท่านผู้อ่านสามารถทำได้โดยใช้คำสั่งใน excel ดังนี้ครับ

ให้ทำการ copy ข้อมูลใน excel ต้นทาง จากนั้นให้ท่านผู้อ่านคลิกเมาส์ปุ่มขวาใน excel ปลายทาง จะปรากฎ pop-up menu ให้เลือกคำสั่ง วางแบบพิเศษ… excel จะปรากฎหน้าต่างการวางแบบพิเศษ ดังแสดงในภาพที่ 1

Excel Transpost

ภาพที่ 1 หน้าต่างการวางแบบพิเศษ

ในหน้าต่างการวางแบบพิเศษให้ผู้ใช้เลือก Check box หัวข้อ สลับเปลี่ยนแถวกับคอลัมน์ ดังแสดงในภาพที่ 1 จากนั้นให้คลิกปุ่ม ตกลง จะทำให้ข้อมูลที่ผู้ใช้สำเนามามีการสลับตำแหน่งของแถวและคอมลัมภ์ดังแสดงในภาพที่ 2

24

100.99

24.6 20
1000 30.45
105 50.85

ภาพที่ 2 ลักษณะของข้อมูลใน excel file ปลายทาง

ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าคำสั่งนี้มีประโยชน์มากสำหรับใช้ในการโอนย้ายข้อมูลทีมีเป็นจำนวนมากๆ ก็หวังว่า excel tips ข้อนี้คงเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ excel ทุกท่านนะครับ

ทิ้งท้ายไว้ด้วยจากหน้าต่างการวางแบบพิเศษ ในหัวข้อการวาง เราสามารถเลือกการวางแบบ ค่า ได้ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่ต้องการสำเนาสูตรการคำนวณจาก excel file ต้นทางซึ่งมีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้และข้อมูลที่ผู้ใช้สำเนามาไม่มีจำเป็นที่ต้องเชื่อมโยงกับข้อมูลใน excel file อื่นๆ ก็ฝากไว้สอง tips นะครับ สวัสดีครับ

Excel Tips

การทำซ้ำด้านบน (Repeat a Row)

pdf creator สำหรับแปลงไฟล์ excel

การแปลงเป็น pdf จากไฟล์หลายรูปแบบ

วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สูตร excel : การตั้งราคาขาย

การตั้งราคาขายเป็นพื้นฐานในการทำธุรกิจ บทความนี้จะนำเสนอแนวคิดในการตั้งราคาขายโดยประยุกต์ใช้สูตร excel ปัญหามีอยู่ว่า หากเราซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อ หากต้องการกำไรประมาณ 10% หากคำนวณ 10% แล้ว บางครั้งตัวเลขราคาขายที่ได้ไม่สวย เช่น อาจต้องการให้ราคาขายลงท้ายด้วยเลข 0 หรือ 5 เป็นต้น เราสามารถใช้สูตร excel ได้ดังนี้

สมมุติว่ามีสินค้าที่ต้องการกำหนดราคาขายดังแสดงในภาพที่ 1

การตั้งราคาขาย

ภาพที่ 1 ภาพตัวอย่างข้อมูลสินค้าที่ต้องการตั้งราคาขาย

การคำนวณราคาขายคำนวณได้จากสูตร

ราคาขาย = ต้นทุน + กำไร

= ต้นทุน + ต้นทุน*%กำไร

= ต้นทุน (1 + %กำไร)

ดังนั้นในเซลล์ E3 เราสามารถพิมพ์สูตร excel ได้ดังนี้ = C3*(1+D3) ในกรณีที่ต้องการปัดเศษลง เราจะคำนวณลงในคอลัมภ์ F ขณะที่หากต้องการปัดเศษขี้น เราจะคำนวณลงในคอมลัมภ์ G โดยใช้ สูตร excel : FLOOR และ CEILING ตามลำดับ โดยพิมพ์สูตรในเซลล์ F3 ได้ดังนี้

= FLOOR(E3,5) ในขณะที่ G3 สามารถพิมพ์สูตร excel ได้ดังนี้ =CEILING(E3,5)

ในขณะที่ในแถวถัดไปสามารถใช้ AutoFill จะได้ผลการตั้งราคาขายได้ดังภาพที่ 2

การตั้งราคาขาย1

ภาพที่ 2 ผลการใช้สูตร excel ตั้งราคาขาย

ท่านผู้อ่านก็จะได้ราคาขายซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ต้องการแล้วครับ

คราวนี้มาดูโจทย์ที่ยากขึ้นอีกนิดครับ หากเราต้องการตั้งราคาขายซึ่งเมื่อคิดส่วนลดให้ผู้ซื้อแล้วเรายังมีกำไรที่ต้องการอีก จะคำนวนราคาขายได้อย่างไร เรามาดูสูตรคำนวณก่อนครับ

สูตรการคิด%กำไร

%กำไร = (ราคาขายหลังหักส่วนลด - ราคาต้นทุน)/ราคาต้นทุน

การคิดราคาขายหลังหักส่วนลด

ราคาขายหลังหักส่วนลด = (1 - %ส่วนลด)*ราคาขาย

เมื่อแทนค่าราคาขายหลังหักส่วนลดลงในสมการการคิดกำไรจะได้สูตรการคิดกำไรในรูปแบบของราคาขายได้เป็น

%กำไร = ((1 - %ส่วนลด)*ราคาขาย - ราคาต้นทุน)/ราคาต้นทุน

เมื่อจัดรูปแบบสมการใหม่จะได้สมการการตั้งราคาขายดังนี้

ราคาขาย = (1+%กำไร)*ราคาต้นทุน/(1-%ส่วนลด)

ดังนั้นจากสมการการคิดราคาขายดังกล่าว เราสามารถเขียนสูตร excel เพื่อช่วยคำนวณได้ สมมุติยกตัวอย่างราคาต้นทุนสินค้า กำไรที่ต้องการ และส่วนลดที่แจ้งลูกค้า ดังแสดงในภาพที่ 3

การตั้งราคาขาย2

ภาพที่ 3 การตั้งราคาแบบมีส่วนลด

ดังนั้นหากต้องการคิดราคาขายก็สามารถพิมพ์สูตร excel ลงในคอลัมภ์ F ได้ดังนี้ = (1+D3)*C3/(1-E3)

ผลการคำนวณราคาขายแสดงได้ดังภาพที่ 4

การตั้งราคาขาย3

ภาพที่ 4 ราคาขายหลังหักส่วนลดและคิดกำไรที่ต้องการ

หากท่านผู้อ่านต้องการตั้งราคาขายให้ลงท้ายด้วยเลข 0 หรือ 5 ก็สามารถใช้สูตร excel ดังที่ได้นำเสนอไปในตอนต้นครับ

ในบทความนี้ก็หวังว่าจะช่วยให้ท่านที่ต้องคิดราคาขายสินค้าสามารถตั้งราคาขายสินค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วโดยการประยุกต์ใช้สูตร excel ครับ สวัสดีครับ

จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายด้วย excel : Pivot Table

การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ด้วย Pivot Table เป็นการปรับปรุงการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบอย่างง่ายที่ได้นำเสนอไปในบทความที่ผ่านมา ในบทความนี้ผมขอยกตัวอย่างการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทเงินสด โดยการจัดการด้วย Pivot Table จะทำการจัดเก็บข้อมูลในแต่ละแถวเป็นแบบฐานข้อมูล โดยแยกรายการใช้จ่ายออกเป็นประเภทของรายรับรายจ่ายและเก็บไว้ในหลักๆหนึ่ง โดยตั้งชื่อหัวข้อไว้เป็น ประเภท ดังแสดงในภาพตัวอย่างที่ 1
บัญชีรายรับรายจ่าย-Pivot-Table ภาพที่ 1 ตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทเงินสด
ท่านผู้อ่านอาจจะกำหนดให้ข้อมูลในเซลล์ D3 ให้ผู้ใช้เลือกรายการว่าจะเป็นรายรับหรือรายจ่าย ซึ่งlสามารถทำได้โดยใช้ excel ฟังก์ชัน Data Validation
จากข้อมูลที่เราทำการบันทึกลงบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทเงินสดในแต่ละวัน เราสามารถนำข้อมูลมากำหนดเป็น Pivot Table ได้ตามขั้นตอนดังนี้
  1. คลิกเซลล์ B3
  2. เลือกคำสั่งในเมนู ข้อมูล->รายงาน PivotTable และPivotChart…
  3. จะปรากฎหน้าต่างตัวช่วยสร้าง PivotTable และPivotChart ให้คลิกปุ่ม ถัดไป สองครั้งเพื่อยอมรับค่าตั้งต้นที่ได้จาก excel
  4. ในขั้นตอนที่ 3 ของตัวช่วยสร้างให้คลิก ปุ่ม เค้าโครง… เพื่อกำหนดเค้าโครงของรายงาน
  5. ลากหัวข้อ ประเภทไปวางไว้ในตำแหน่ง คอมลัมภ์ (Column)
  6. ลากหัวข้อ วันที่ และ รายการ ไปวางไว้ในตำแหน่ง แถว (Row)
  7. ลากหัวข้อ จำนวนเงินไปวางไว้ในตำแหน้ง ข้อมูล (Data) จะได้ผลดังแสดงในภาพที่ 2
  8. กดปุ่ม ตกลง จะกลับมายังหน้าต่างของตัวช่วยสร้างให้คลิกปุ่ม ตัวเลือก… จะปรากฎหน้าต่าง ตัวเลือก PivotTable
  9. ให้ยกเลิก หัวข้อ ผลรวมทั้งหมดสำหรับแถว
  10. คลิกปุ่ม ตกลง และคลิกปุ่ม เสร็จสิ้น excel จะสร้าง worksheet ใหม่เพื่อแสดงผลการทำ Pivot Table ดังแสดงในภาพที่ 3
PivotTableWizard-1
ภาพที่ 2 หน้าต่างตัวเลือก PivotTable
PivotTable
ภาพที่ 3 ผลการทำ Pivot Table กับบัญชีรายรับรายจ่าย
หากต้องการทราบว่าในแต่ละวันมีเงินคงเหลือเท่าไหร่ก็ตั้งสูตรในหลัก E ได้ดังที่เคยนำเสนอในบทความการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทเงินสด
ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าการทำบัญชีรายรับรายจ่ายโดยใช้ Pivot Table ก็มีความยืดหยุ่นและสะดวก โดยผู้จัดทำเพียงบันทึกข้อมูลลงในบัญชีรายรับรายจ่ายดังภาพที่ 1 ในแต่ละวัน เมื่อต้องการวิเคราะห์สภาพคล่องของเงินสดก็เพียงใช้ Pivot Table ช่วยดังที่นำเสนอมา ก็หวังว่าท่านผู้อ่านจะประยุกต์ใช้ในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทที่เหลือได้ต่อไปครับ สวัสดีครับ

วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การใช้ excel : การจัดทำงบดุล

การใช้ excel ในบทความนี้จะนำเสนอ การจัดทำงบดุล ซึ่งเปรียบได้กับการเอกซเรย์สุขภาพการเงินของเราๆท่านๆกันครับ ในบทความสองสามบทความที่ผ่านมาผมได้นำเสนอการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทต่างๆเพื่อให้ทราบสภาพคล่องทางการเงินของเรา หากเปรียบไปแล้วบัญชีรายรับรายจ่ายดังกล่าวก็เสมือนอวัยวะภายในของร่างกายเรา เช่น ตับ กระเพาะ หัวใจ ฯลฯ โดยการเงินที่ไหลผ่านไปมาเพื่อดำเนินการต่างๆเปรียบไปก็เหมือนกับเลือดที่ไหลไปเลี้ยงร่างกายของเรานั่นเอง ดังนั้นการจัดงบดุลจะทำให้เราทราบสถานะทางการเงินของเราในภาพใหญ่ได้เป็นอย่างดี โดยงบดุลจะแสดงปริมาณเงินที่สะสมอยู่ในบัญชีรายรับรายจ่ายต่างๆ ณ วันใดวันหนึ่ง ซึ่งการจัดทำงบดุลของตัวเราเองก็สามารถทำได้โดยง่ายหากเราได้ดำเนินการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายแต่ละประเภทมาแล้วยิ่งสามารถจัดทำงบดุลได้โดยไม่ยากมากนัก เรามาดูตัวอย่าง งบดุล ที่ถูกจัดทำไว้โดยใช้ excel ดังแสดงในภาพที่ 1
งบดุล
ภาพที่ 1 งบดุล
จากตัวอย่างงบดุลในภาพที่ 1 เราจะเห็นว่า ตารางงบดุลจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนด้านซ้ายเป็นส่วนของทรัพย์สิน ส่วนด้านขวาจะประกอบด้วยส่วนหนี้สินและส่วนที่เป็นของเรา ซึ่งผลรวมของตัวเลขด้านขวา(รวมหนี้สิน + ส่วนของเรา)ต้องเท่ากับผลรวมของตัวเลขด้านซ้าย อธิบายได้ง่ายๆว่างบดุลจะช่วยบอกเราได้ว่า ตัวเรามีสินทรัพย์อะไรบ้าง และตีเป็นจำนวนเงินได้เท่าไหร่ (ด้านซ้าย) และยังสามารถบอกได้อีกว่า ทรพย์สินที่เรามีอยู่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากเราเอง(ส่วนของเรา)เท่าไหร่ และกู้เจ้าหนี้มาเท่าไหร่ (รวมหนี้สิน) จากการวิเคราะห์งบดุล เราจะเห็นว่าทรัพย์สินของเราตามงบดุลอาจไม่ได้เป็นของเราจริงๆ 100% (ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ บ้าน ที่ดิน)แต่จะเป็นของเราเท่าใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่ามีส่วนของเราคิดเป็นกี่เปอร์เซนต์นั่นเอง ดังนั้นหากจะวัดสุขภาพการเงินเราควรจะวัดส่วนที่เป็นของเรามากว่า จากตารางงบดุล ท่านจะเห็นว่ามีข้อมูลบางรายการในส่วนของสินทรัพย์และหนี้สินที่อ้างอิงได้จากบัญชีรายรับรายจ่าย คือข้อมูลเงินสดในเซลล์ B6 เราจะอ้างถึงบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทเงินสด ข้อมูลเงินฝากออมทรัพย์ในเซลล์ B7 เราจะอ้างถึงบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ข้อมูลบัตรเครดิตในเซลล์ D6 เราจะอ้างถึงบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัตรเครดิต
ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าจากที่ผมได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับบัญชีรายรับรายจ่ายจนถึงงบดุลในบทความนี้ หวังว่าท่านผู้อ่านจะนำไปประยุกต์การบริหารจัดการด้านการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ บทความต่อไปผมจะนำเสนอการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในรูปแบบที่ซับซ้อนขึ้นแต่จะช่วยให้ท่านวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้เงินในรูปแบบต่างๆได้ชัดเจนมากขึ้น เพราะท้ายที่สุดจุดมุงหมายของเราก็คือการเพิ่ม ส่วนของเราใน งบดุล และการเพิ่มส่วนของทรัพย์สินในงบดุล นั่นเอง สวัสดีครับ

การใช้ excel : จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย (บัญชีเงินฝากออมทรัพย์)

การใช้ excel ในบทความนี้ผมจะนำท่านผู้อ่านจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทสุดท้าย นั่นคือ บัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ในธนาคาร คงไม่มีใครปฎิเสธว่าปัจจุบันนี้การฝากเงินในบัญชีสะสมทรัพย์ในธนาคารเป็นการบริหารสภาพคล่องได้ดีอีกวิธีหนึ่ง เพราะเราสามารถฝากถอนได้อย่างสะดวกนั่นเอง ทำให้การฝากเงินออมทรัพยืไว้กัยธนาคารจึงมีสภาคล่องใกล้เคียงกับเงินสดในมือมาก และในปัจจุบันมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆท่านๆโดยส่วนใหญ่จะได้รับเงินเดือนผ่านทางธนาคาร ดังนั้นรายรับก้อนใหญ่ในแต่ละเดือนของพวกเราจึงอยู่ในรูปแบบของบัญชีเงินฝากสะสมทรัพย์โดยปริยาย ดังนั้นในทำนองเดียวกันกับบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทอื่นๆ เราสามารถจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทเงินฝากออมทรัพย์ได้โดยกำหนดรายการได้ดังนี้
รายรับ หมายถึง เงินที่ถูกฝากเข้าบัญชีเงินฝาก , ดอกเบี้ย เป็นต้น
รายจ่าย หมายถึง เงินที่ถูกถอนออกไปจากบัญชี , ค่าธรรมเนียมการถอน เป็นต้น
ในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทเงินฝากออมทรัพย์ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยจำนวนบัญชีเงินฝาก ดังแสดงในภาพที่ 1
บัญชีรายรับรายจ่ายเงินฝากออมทรัพย์
ภาพที่ 1 บัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
ในการวิเคราะห์บัญชีรายรับรายจ่ายประเภทเงินฝากออมทรัพย์ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันกับ บัญชีรายรับรายจ่ายประเภทอื่น นั่นคือต้องเพิ่มรายการจำนวนสุทธิเข้ามาเพื่อตรวจสอบสถานะสภาพคล่อง โดยการใช้สูตร excel ดังนี้
  1. ในเซลล์ F4 ให้พิมพ์สูตร excel ดังนี้ = D4-E4
  2. ในเซลล์ F5 ให้พิมพ์สูตร excel ดังนี้ = F4 + D5 – E5
  3. ทำการ AutoFill จนถึงแถวที่ 9 จะได้ผลลัพธ์ดังภาพที่ 2
  4. ในกรณีต้องการทราบผลรวมของรายรับและรายจ่ายสามารถทำได้โดยการใช้สูตร excel : AutoSum ในหลัก D และ หลัก E
บัญชีรายรับรายจ่ายเงินฝากออมทรัพย์2
ภาพที่ 2 บัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์แบบสมบูรณ์
จากบทความที่ผ่านมาจนถึงบทความนี้ผมได้นำเสนอการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายทั้งหมด 3 ประเภทดังนี้
  1. บัญชีรายรับรายจ่ายประเภทเงินสด
  2. บัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัตรเครดิต
  3. บัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
ซึ่งแสดงถึงเงินสำรองสภาพคล่องของแต่ละบุคคลหรือแต่ละครอบครัวใน 3 รูปแบบไปแล้ว เรามารู้จักสภาพคล่องสุทธิ(Net Liquidity Reserved) กันต่อเลยครับ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง หากเราอยากทราบว่าเรามีสภาพคล่องสุทธิอยู่เท่าไหร่ เราสามารถทำได้โดยการนำจำนวนสุทธิของบัญชีรายรับรายจ่ายทั้งสามรูปแบบมารวมกัน โดยผลรวมของเงินทั้งสามรูปแบบจะถูกเรียกว่า สภาพคล่องสุทธิ (Net PLR) ณ วันนั้นๆ การหาสภาพคล่องสุทธิโดยใช้ excel ช่วยจัดการทำได้ง่ายมาก ดังแสดงในภาพที่ 3
สภาพคล่องสุทธิ ภาพที่ 3 สภาพคล่องสุทธิ
โดยจำนวนสุทธิในแต่ละประเภทของสภาพคล่อง ผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงจาก WorkSheets ต่างๆซึ่งเราได้ทำการแยกบัญชีรายรับรายจ่ายแต่ละประเภทไว้แล้ว ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องสุทธิมีการปรับปรุงผลคำนวณโดยอัตโนมัติหากมีการบันทึกค่าใน WorkSheet ของบัญชีรายรับรายจ่ายแต่ละประเภท
ก่อนจบบทความนี้ขอฝากคำถามให้ท่านผู้อ่านไว้ซักหนึ่งคำถามนะครับว่า สภาพคล่องสุทธิของเราควรจะมีค่าเป็นเท่าใด และสภาพคล่องสุทธิที่มากเกินไปเป็นผลดีหรือไม่ ในทางกลับกัน สภาพคล่องสุทธิที่น้อยมากหรือติดลบ เราควรบริหารจัดการอย่างไร คำตอบมีอยู่ในนิยามของการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายแต่ละประเภทแล้วหล่ะครับ สวัสดีครับ

การใช้งาน excel : จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย (บัญชีบัตรเครดิต)

การรใช้งาน excel ในบทความนี้ผมขอนำเสนอบัญชีรายรับรายจ่ายในรูปแบบอื่น ในบทความที่ผ่านมาผมได้นำเสนอการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในรูปของเงินสดไปแล้ว แต่ในปัจจุบันทุกท่านคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการใช้จ่ายของเราทุกวันนี้ยังมีการใช้จ่ายหรือรายรับในรูปแบบอื่นอีก ขอแบ่งเป็นรูปแบบของการใช้จ่ายออกเป็น 3 รูปแบบดังนี้ครับ
  1. เงินสด (Cash flow)
  2. บัตรเครดิต
  3. บัญชีเงินฝากในธนาคาร
บัตรเครดิต มีทั้งประโยชน์และโทษอยู่ในตัวเอง หากรู้จักวิธีใช้ให้เกิดประโยชน์ก็ดีไป ในที่นี้ขอนิยามบัตรเครดิตไว้ดังนี้ครับ บัตรเครดิตหมายถึง วงเงินพร้อมใช้ไว้เสริมสภาพคล่อง หรือหากจะหมายถึง หนี้พร้อมก่อที่ต้องชำระคืนทุกเดือน ก็มองได้แล้วแต่ว่าจะมองในมุมไหน แต่ในการบริหารการใช้เงินเราจะนิยามบัตรเครดิตเป็นหนี้พร้อมก่อที่ต้องชำระทุกเดือน ดังนั้นการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย เราจึงกำหนดช่องในการบันทึกรายการไว้ให้สอดคล้องกับการนิยามดังนี้
รายรับหมายถึง จำนวนเงินที่เราได้ชำระคืน
รายจ่ายหมายถึง จำนวนเงินที่เราใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต
จำนวนสุทธิหมายถึง รายรับ - รายจ่าย
ท่านผู้อ่านจะพบว่าในบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัตรเครดิต เราคงไม่ต้องการจำนวนสุทธิที่ติดลบมากเกินไปหรือหากมีค่าเท่ากับศูนย์ได้ยิ่งเป็นสิ่งที่ดีเพราะนั่นหมายถึงการที่เราไม่ติดหนี้บัตรเครดิตอยู่เลย การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย โดยการใช้ excel มีรูปแบบดังแสดงในภาพที่ 1
บัญชีรายรับรายจ่ายบัตรเครดิต
ภาพที่ 1 บัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัตรเครดิต
เพื่อให้เราทราบสถานะและบริหารการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต จึงเพิ่มรายการจำนวนสุทธิในหลัก F โดยกำหนดสูตร excel ดังนี้
  1. ในเซลล์ F4 พิมพ์สูตร excel ดังนี้ = D4 – E4
  2. ในเซลล์ F5 พิมพ์สูตร excel ดังนี้ = F4 + D5 – E5
  3. ทำการ AutoFill จนถึงแถวที่ 9 จะได้จำนวนสุทธิดังแสดงในภาพที่ 2
  4. กรณีที่ต้องการทราบผลรวมของรายรับหรือรายจ่ายเราก็สามารถใช้สูตร excel : AutoSum
บัญชีรายรับรายจ่ายบัตรเครดิต2 ภาพที่ 2 บัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัตรเครดิตแบบสมบูรณ์
ท่านผู้อ่านคงจะเห็นแล้วว่า บัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัตรเครดิตจะช่วยให้เราทราบถึงสถานะทางการเงินของเราได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งตัวเลขในรายการจำนวนสุทธิมีค่าติดลบมากขึ้นแสดงให้เห็นถึงหนี้ที่เราต้องเร่งดำเนินการชำระในเดือนถัดไปมากขึ้น ซึ่งทุกท่านคงทราบดี หนี้คงค้างในการชำระบัตรเครดิตจะโดนชาร์จดอกเบี้ยถึงร้อยละ 20 ต่อปี ดังนั้นการตรวจสอบบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัตรเครดิตก็เป็นสิ่งที่เราต้องใส่ใจ
ครับบทความนี้ก็นำเสนอการใช้ excel จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัตรเครดิตไปแล้วนะครับ บทความต่อไปผมจะมาแนะนำการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัญชีเงินฝากกันครับ สวัสดีครับ
ปล หนี้บัตรเครดิตต่างกับเงินกู้อย่างไร

การใช้ excel จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย(บัญชีเงินสด)

การใช้ excel ในบทความนี้ขอนำเสนอเรื่องใกล้ตัวของเราทุกคนครับ นั่นคือการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย โดยตามหลักทฤษฎีแล้วหากทำธุรกิจแล้วต้องการเพิ่มกำไรให้มากขึ้นมีวิธีการทำอยู่ 2 วิธีคือ
  1. การเพิ่มยอดขาย
  2. การลคค่าใช้จ่าย
ในชีวิตประจำวันของเราก็เช่นกัน หากต้องการมีเงินเก็บมากขึ้นก็ทำได้สองวิธีคือ เพิ่มรายรับและลดรายจ่าย ซึ่งดูแล้วเป็นเรื่องง่ายๆแต่ในทางปฎิบัติทำได้ไม่ง่ายนัก ในปัจจุบันมีการรณรงค์ให้จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อคอยตรวจสอบการใช้จ่ายและช่วยวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่างๆว่าสิ่งใดจำเป็น สิ่งใดไม่จำเป็น เพื่อจะได้วางแผนการใช้จ่ายในเดือนต่อๆไปได้ ผมเองก็จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายด้วยเช่นกัน โดยผมใช้ excel ช่วยในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ในบทความนี้ผมขอนำเสนอการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายแบบง่ายซึ่งผมก็ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเราจะเริ่มจากการบันทึกรายการที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตของเราในแต่ละวันไม่ว่าจะเป็น รายรับ หรือ รายจ่าย โดยจะเรียงวันที่ตามวันที่เกิดขึ้นจริงๆลงในไฟล์ excel โดยจะทำการบันทึกรายการและจำนวนเงินของรายการที่เกิดขึ้นแยกออกเป็นสองประเภทคือ รายรับ และ รายจ่าย บัญชีรายรับรายจ่ายที่ถูกบันทึกแสดงได้ดังภาพที่ 1

บัญชีรายรับรายจ่าย
ภาพที่ 1 ตัวอย่างบัญชีรายรับรายจ่าย
วัตถุประสงค์ในการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ก็เพื่อให้เราทราบสถานะทางการเงินหรือ Cash flow ของเราเอง ดังนั้นในการบันทึกรายการลงบัญชีรายรับรายจ่าย เจ้าของบัญชีต้องทราบจำนวนเงินสุทธิในบัญชี ซึ่งผู้ใช้งาน excel สามารถทำได้โดยง่ายดังนี้
  1. คลิกเซลล์ F4 พิมพ์สูตร excel ดังนี้ = D4 – E4
  2. คลิกเซลล์ F5 พิมพ์สูตร excel ดังนี้ = F4 + D5 – E5
  3. ทำการ AutoFill ลงมาถึงแถวที่ 11 จะได้ผลดังแสดงในภาพที่ 2
  4. ในกรณีที่ผู้จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย ต้องการทราบรายจ่ายสุทธิและรายรับสุทธิตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือน จนถึง ปัจจุบัน ก็สามารถทำได้โดยการใช้สูตร excel : AutoSum ก็จะได้ผลดังแสดงในภาพที่ 2
บัญชีรายรับรายจ่าย2
ภาพที่ 2 บัญชีรายรับรายจ่ายแบบสมบูรณ์

ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายที่ได้นำเสนอไปนั้นเป็นรูปแบบที่ง่ายต่อการจัดทำ สิ่งที่สามารถวิเคราะห์ได้จากการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายลักษณะนี้คือจำนวนเงินสุทธิที่เหลือ ณ ปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้มรายจ่ายของเจ้าของบัญชีนั่นเอง ในกรณีที่ต้องการวิเคราะห์ผลมากกว่านี้ บัญชีรายรับรายจ่ายที่จัดทำต้องมีรูปแบบที่ซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งผมจะนำเสนอในบทความต่อๆไปครับ สวัสดีครับ
ปล ปัจจุบันผมก็จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตัวเองในลักษณะนี้ซึ่งช่วยได้เยอะครับกับการบริหารจัดการการใช้เงิน
การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายด้านอื่นๆ

การใช้งาน excel : จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย (บัญชีบัตรเครดิต)

การใช้ excel : จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย (บัญชีเงินฝากออมทรัพย์)

การใช้ excel : การจัดทำงบดุล

Excel Tips การใช้ Data Validation ตรวจสอบงบหรือบัญชี

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สูตร excel : การดำเนินการระหว่างตัวเลขและTime data

สูตร excel วันนี้อยากจะนำเสนอข้อผิดพลาดที่ผมก็ยังไม่แน่ใจนักว่าท่านผู้ใช้ สูตร excel จะเผลอเหมือนผมหรือไม่นะครับ เอาเป็นว่าอยากยกให้เป็นข้อควรระวังก็แล้วกันนะครับ สมมุติท่านผู้อ่านได้รับข้อมูลเป็นจำนวนเวลาเข้ามาก็แล้วกันนะครับ เช่น จำนวนเวลาที่ทำโอที เวลาที่ใช้ทดสอบผลิตภัณฑ์ หรือใช้ดำเนินการกับข้อมูลดิบที่จะนำไปคำนวณ kpi ค่า Avaliabilty Rate หรือ oee เป็นต้นครับ ซึ่งหากได้รับข้อมูลใน excel จะอยู่ในรูปแบบดังนี้ครับ

h.m ซึ่งผมว่ามันเข้าใจในภาษามนุษย์เราใช่มั้ยครับเช่น 4.53 ก็หมายถึง 4 ชั่วโมง 53 นาที เอาหล่ะครับหากเราต้องการแปลงตัวเลขนี้ให้เป็นข้อมูลประเภท Time จะทำอย่างไร เรามาดูกันขั้นตอนกันเลยครับ

สูตร excel

  1. ใช้สูตร excel : Floor เพื่อปัดเป็นจำนวนเต็มจะได้เป็น =FLOOR(4.53,1) ผลที่ได้คือจำนวนชั่วโมงเท่ากับ 4
  2. นำผลที่ได้จากการใช้สูตร excel : Floor ลบออกจากตัวเลขตั้งต้นและคูณด้วย 100 จะได้เศษนาทีออกมาครับ
สูตร excel

ภาพที่ 1 ผลการใช้สูตร excel

เขียน excel vba

  1. ใช้ฟังก์ชัน Int เพื่อแปลงตัวเลขเป็นจำนวนเต็ม เขียนได้ดังนี้ h = Int(4.53) ผลที่ได้คือ 4
  2. นำผลที่ได้จากการใช้ฟังก์ชัน Int ลบออกจากตัวเลขตั้งต้นและคูณด้วย 100 จะได้เศษนาทีออกมาครับ

จะเห็นว่าหากเราต้องการแปลงตัวเลขเหล่านี้เป็นจำนวนนาทีก็ไม่ยากใช่มั้ยครับสามารถคำนวณได้ดังนี้

time_minute = h*60 + m

จากขั้นตอนที่กล่าวมาหากเราปรับเป็นฟังก์ชันไว้ใช้งานก็สามารถทำได้ ดูที่นี่ครับ สมมุติผมตั้งชื่อฟังก์ชันว่า NumToMinute ซึ่งมีรูปแบบของฟังก์ชันดังนี้

Function NumToMinute(ByVal num As Double) As Integer
Dim h As Integer
h = Int(num)
NumToMinute = h * 60 + (num - h) * 100
End Function

ผลการเรียกใช้ฟังก์ชัน NumToMinute แสดงได้ดังภาพที่ 2

Excel Function ภาพที่ 2 การเรียกใช้สูตร excel : NumToMinute

มาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านคงเห็นช่องทางในการต่อยอดนะครับ เราสามารถดำเนินการกับจำนวนเวลานี้ได้โดยง่าย โดยทั่วไปเราก็นิยมดำเนินการกับเวลาสองลักษณะครับคือ ผลรวมของเวลา หรือผลต่างของเวลา เช่นในการคำนวณค่า oee จำนวนเวลาที่เครื่องจักรเกิด BreakDown (ใช้ผลรวม) หรือระยะเวลาการซ่อมเครื่องจักรสองเครื่องต่างกันเท่าไหร่(ผลต่าง) เรามาดูกันครับว่าเราจะสร้างสูตร Excel ได้อย่างไร

ผลรวมของเวลา

Function AddTime(tm1 As Integer, tm2 As Integer) As Integer
AddTime = tm1 + tm2
End Function

ผลต่างของเวลา

Function MinusTime(tm1 As Integer, tm2 As Integer) As Integer
If tm1 >= tm2 Then
MinusTime = tm1 - tm2
Else
MinusTime = tm2 - tm1
End If
End Function

ผลการใช้สูตร Excel ทั้งสองแสดงได้ดังภาพที่ 3

Excel Function1

ภาพที่ 3 การใช้สูตร Excel ร่วม

ในบางกรณีเราต้องการแยกองค์ประกอบของจำนวนนาทีให้อยู่ในรูปแบบของจำนวนชั่วโมงและจำนวนนาที (h.m) เราสามารถเขียนฟังก์ชันได้ดังนี้

Function MinuteToNum(ByVal tm As Integer) As Double
Dim h As Integer
Dim m As Integer
m = tm Mod 60
h = Int(tm / 60)
MinuteToNum = h + m / 100#
End Function

ดังนั้นหลังจากดำเนินการกับเวลาเสร็จแล้วเราสามารถแปลงจำนวนเวลาดังกล่าวกลับมาอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้โดยง่ายโดยใช้สูตร Excel : MinuteToNum

หวังว่าท่านผู้อ่านคงได้ประโยชน์จากบทความนี้และนำไปปรับใช้กับปัญหาที่เจอได้นะครับ เพราะว่าข้อมูลที่เราได้จากผู้ใช้มีหลากหลาย เราจึงต้องประยุกต์สูตร Excel ที่มีอยู่ใน Excel และพัฒนาสูตร Excel ให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ เราคงได้เห็นประโยชน์ของฟังก์ชันที่ผมแนะนำไปในตัวอย่าง kpi ต่อๆไปนะครับ สวัสดีครับ

วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แบบฟอร์ม kpi (kpi template )

แบบฟอร์ม kpi หรือ kpi template ที่จะนำเสนอในบทความนี้เป็นการจัดเตรียมแบบฟอร์ม kpi (kpi template) ในรูปแบบการใช้งาน excel เพื่อความสะดวกในการประเมินผล kpi และการบันทึกผลของตัวชี้วัด kpi มาดูกันครับว่า แบบฟอร์ม kpi ควรจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
แบบฟอร์ม kpi จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบดังนี้ครับ
ชื่อตัวชี้วัด kpi ควรจะตั้งชื่อตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับหน้าที่และสาระสำคัญของตัวชี้วัดนั้น
รหัสตัวชี้วัด kpi ควรกำหนดรหัสตัวชี้วัด kpi เพื่อความสะดวกในการค้นหาและจะต้องไม่ซ้ำซ้อนกันกับตัวชี้วัด kpi อื่นๆ
วัตถุประสงค์ ทำไมจึงต้องวัดสิ่งนั้น สิ่งนั้นจะก่อให้เกิดการตอบสนองหรือพฤติกรรมในการทำงานเช่นใด และการตอบสนองหรือพฤติกรรมเช่นนั้นเป็นที่ต้องการขององค์กรหรือไม่
สอดรับกับ ตัวชี้วัด kpi นี้สอดรับหรือสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์สูงสุดขององค์กรอย่างไรบ้าง เราควรออกแบบตัวชี้วัด kpi เพื่อสนับสนุนให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดขององค์กรให้มากที่สุด
เป้าหมาย เป้าหมายประสิทธิภาพขนาดใดที่เราต้องการ เป้าหมายของเราควรมีกรอบเวลาที่แน่นอนในการที่จะทำให้สำเร็จ
วิธีการคำนวณ เราจะหาผลลัพธ์ของตัวชี้วัด kpi ได้อย่างไร
ความถี่ในการวัด จะต้องกำหนดให้มีการวัดผล ตัวชี้วัด kpi บ่อยแค่ไหน
ผู้วัด ต้องระบุว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการวัดผล ตัวชี้วัด kpi ตัวนี้
แหล่งข้อมูล จะต้องระบุแหล่งข้อมูลเพื่อจะได้มีการปฏิบัติตาม ตัวชี้วัด kpi ดังกล่าวอย่างเหมาะสม
ผู้ปฏิบัติ ต้องกำหนดให้มีผู้ปฏิบัติให้เป็นไปตาม ตัวชี้วัด kpi นี้
หลักหรือแนวทางปฏิบัติ เราต้องกำหนดแนวปฏิบัติอย่างกว้างๆที่พนักงานจะใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ
หมายเหตุ เป็นบันทึกคำแนะนำหรืออื่นๆที่เป็นประโยชน์ในการวัดผล ตัวชี้วัด kpi ข้อนี้
แต่ละหัวข้อที่ได้เสนอไปเราสามารถใช้ excel บันทึกเพื่อใช้เป็น แบบฟอร์ม kpi ได้ ในขณะเดียวกันด้านล่างของแบบฟอร์ม kpi จะถูกออกแบบไว้สำหรับการบันทึกผลการวัดผล ตัวชี้วัด kpi (ข้อมูลดิบ) และการใช้สูตร excel เพื่อช่วยคำนวณผลการวัด ตัวชี้วัด kpi ดังแสดงในภาพที่ 1
kpi template
ภาพที่ 1 แบบฟอร์ม kpi (kpi template)
จาก แบบฟอร์ม kpi ที่นำเสนอเราสามารถใช้สูตร excel มาช่วยในการค้นหาหรือการประมวลผลได้ดังจะนำเสนอในคราวต่อไปครับ สวัสดีครับ

วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การใช้ Excel : Import Text File ลง excel

การใช้ Excel ในบทความนี้ขอนำเสนอการ Import Text File ลง excel ครับ ข้อมูลบางอย่างที่ต้องการคำนวณอาจถูกสร้างในรูปแบบของ Text File เช่น ข้อมูลจากเครื่องรูดบัตร หรือข้อมูลจากเครื่องอ่านบาร์โค้ด เป็นต้น Text File เหล่านี้จะมีรูปแบบการจัดเก็บในลักษณะของฐานข้อมูลอยู่แล้ว บทความนี้ผมขอยกตัวอย่าง Text File ข้อมูลเครื่องรูดบัตรเข้าออกยี่ห้อ TAFF ครับซึ่งมีรูปแบบการเก็บข้อมูลในแต่ละแถวดังนี้

รหัสพนักงาน สถานะการรูด วันเดือนปี เวลารูดบัตร ตัวเลขตรวจสอบ

การบันทึกข้อมูลของเครื่องรูดบัตรจะบันทึกลง Text File วันละ 1 ไฟล์ ดังนั้นหากเราต้องการนำข้อมูลการรูดบัตรของพนักงานมาประมวลผลต่อเช่น คิดเวลาทำงาน เวลาเข้างานสาย ของพนักงาน vba excel ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเนื่องด้วยบางครั้งโปรแกรมสำเร็จรูปในการคำนวณเวลาการทำงานไม่สามารถตอบโจทย์ขององค์กรเราได้ ขั้นตอนแรกเราต้องทำการ Import Text File เข้าเก็บใน excel ก่อนครับ ผมขอยกตัวอย่างซัก 1 ไฟล์ครับดังภาพที่ 1

Text File

ภาพที่ 1 ตัวอย่างข้อมูลใน Text File

เริ่มต้นให้ไปที่ แฟ้ม->เปิด จะปรากฏหน้าต่างเปิดไฟล์ ให้ท่านไปยังโฟล์เดอร์ที่เก็บ Text File และให้เลือกชนิดแฟ้มในหน้าต่างเปิดไฟล์ เป็น All Files และให้เลือก Text File ที่ต้องการ Import เข้า Excel จากนั้นให้คลิก เปิด จะปรากฏหน้าต่างตัวช่วยสร้างการนำเข้าข้อความดังแสดงในภาพที่ 2 ในกรอบของชนิดข้อมูลดั้งเดิมให้เลือก มีการใช้ตัวคั่น กำหนดให้เริ่มนำเข้าในแถวที่ 1 ให้คลิกปุ่มถัดไป

Text File Wizard1

ภาพที่ 2 ตัวช่วยสร้างการ Import Text File Step 1

เมื่อคลิกปุ่มถัดไปจะปรากฏหน้าต่างตัวช่วยสร้างการ Import Text File Step 2 ดังแสดงในภาพที่ 3 ให้เลือกตัวคั่นเป็นแท็บและช่องว่าง (เนื่องจากข้อมูลใน Text File ที่กำลัง Import แยกข้อมูลในแต่ละหลักด้วยช่องว่างนั่นเอง) จากนั้นให้คลิกปุ่ม ถัดไป

Text File Wizard2

ภาพที่ 3 ตัวช่วยสร้างการ Import Text File Step 2

จะปรากฏหน้าต่างตัวช่วยสร้างการ Import Text File Step 3 ดังแสดงในภาพที่ 4 ในส่วนของหลักวันเดือนปี ให้เลือก รูปแบบข้อมูลคอมลัมน์ เป็นแบบวันที่และเลือกรูปแบบเป็น ปดว (ปีเดือนวัน) จากนั้นให้คลิกปุ่ม เสร็จสิ้น ถือเป็นการสิ้นสุดการ Import Text File ของการรูดบัตรลงใน Excel แล้วครับ ข้อมูลที่ถูกนำเข้าแสดงได้ดังภาพที่ 5

Text File Wizard3

ภาพที่ 4 ตัวช่วยสร้างการ Import Text File Step 3

Excel Data

ภาพที่ 5 ข้อมูลเวลาที่ถูก Import เข้า Excel

ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าข้อมูลที่นำเข้าเป็นไปตามที่เรากำหนดในตัวช่วยสร้างการ Import Text File ทุกประการ อ้อ หากข้อมูลในคอลัมน์ไหนไม่ต้องการ ก็สามารถกำหนดได้ในขั้นตอนที่ 3 ในภาพที่ 4 ได้นะครับ ทำได้โดยคลิกเลือกคอลัมน์ที่ไม่ต้องการแล้วกำหนดรูปแบบข้อมูลเป็น ไม่ต้องนำเข้าคอลัมน์(ข้าม) ได้ครับ

ครับมาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านคงเข้าใจการ Import Text File แล้วนะครับ คำถามคือหากต้องการสรุปการทำงานประจำเดือน (30 ไฟล์) พนักงานมี 500 ท่าน การเลือกเปิดไฟล์แบบที่นำเสนอไปคงไม่เหมาะ เพราะเป็นการทำซ้ำๆกัน การเขียน vba excel จะช่วยท่านได้ เดี๋ยวจะนำเสนอในโอกาสต่อไปนะครับ สวัสดีครับ

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การใช้งาน excel : การจัดการ Text Value

Text Value เป็นรูปแบบที่ท่านผู้อ่าน how to excel ต่างประสบปัญหากันมาบ้างไม่มากก็น้อย ตัวผมเองก็ประสบมาด้วยตัวเองก็พอสมควรดังได้เคยนำมาเล่าในหัวข้อการค้นหาข้อมูลด้วย VLOOKUP ไปแล้วครับ วันนี้ก็เลยมีความตั้งใจที่จะเสนอแนะลักษณะงานที่เกี่ยวกับ Text value ในการใช้งาน excel เนื่องด้วยบทความนี้เป็นบทความที่ 50 พอดี ย้อนกลับไปก็ให้ฉงนเหมือนกันว่าผมเขียนไปบทความไปเกือบครึ่งร้อยซะแล้ว วันนี้เลยขอนำเสนอบทความที่สบายๆเป็นการผ่อนคลายไปในตัวหล่ะกันนะครับ

วันนี้ผมอยากนำเสนอฟังก์ชัน excel ที่ใช้ในการจัดการข้อมูลประเภท Text Value ซัก 3 ฟังก์ชัน เนื่องด้วยอาทิตย์ที่ผ่านมามีโอกาสได้ใช้จัดการวางแผนการผลิต เรามาเริ่มสูตร Excel สูตรแรกกันเลยครับ

  1. UPPER / LOWER เป็น excel function ที่ใช้ในการแปลงอักษรทั้งหมดในข้อความให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่(UPPER) หรือเป็นตัวพิมพ์เล็ก(LOWER) ท่านผู้อ่านใช้ excel function ในด้านใดบ้างครับ ผมเองจะใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไขครับ เพื่อป้องกันผู้ใช้พิมพ์ตัวพิมพ์เล็กหรือพิมพ์ใหญ่ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบครับ โดยเรานำข้อความมาทำการแปลงก่อนนำไปเปรียบเทียบเงื่อนไขครับ ตัวอย่างเช่น หากตัวอักษร 2 ตัวแรกของข้อความที่นำเข้ามาเป็นตัวอักษร “EZ” ให้พิมพ์คำว่า yes หากมิใช่ให้พิมพ์ no ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าความเสี่ยงที่ผู้ใช้จะพิมพ์ตัวอักษร 2 ตัวแรกในรูปแบบที่แตกต่างกันมีความเป็นไปได้ เช่น Ez , ez , eZ , EZ ดังนั้นเพื่อให้การตรวจสอบความถูกต้องสามารถทำได้ง่าย เราอาจเขียนเป็นสูตร excel ได้ดังนี้ B2 =if(Left(UPPER(A2),2) = “EZ” ,”EZ” , “NO”) จากตัวอย่างที่ผมได้นำเสนอสามารถแสดงได้ดังภาพที่ 1

Upper

ภาพที่ 1 ตัวอย่างการใช้งาน excel function ในการตรวจสอบเงื่อนไข

excel function : UPPER / LOWER ในการเขียน VBA excel จะใช้ฟังก์ชัน UCase / LCase

ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าผมใช้ฟังก์ชัน Left เพื่อตัดเอาตัวอักษร 2 ตัวแรกด้านซ้ายมาแปลงเป็นตัวพิมพ์ใหญ่และตรวจสอบว่าเป็นตัวอักษร “EZ” หากใช่ก็กำหนดให้เท่ากับ EZ ในหลัก B หากไม่ใช่จะกำหนดให้เท่ากับ NO ในหลัก B

2. การประยุกต์ฟังก์ชัน Find และฟังก์ชัน Left Mid ในการแยกชื่อและนามสกุลออกจากกัน ในบางครั้งเราอาจมีความประสงค์ที่จะแยกชื่อและนามสกุลออกจากันเพื่อนำไปใช้งานอื่นๆ มาดูแนวคิดการแยกชื่อและนามสกุลกันเลยครับ โดยปกติชื่อและนามสกุลจะถูกคั่นด้วยช่องว่างดังนั้นขั้นตอนแรกต้องเราต้องหาตำแหน่งของช่องว่างในชื่อ-นามสกุล จากนั้นใช้ฟังก์ชั่น Left เพื่อแยกชื่อมาแสดง จากนั้นเราจะใช้ฟังก์ชัน Mid ในการแยกนามสกุล ดังแสดงเป็นสูตร Excel ในภาพที่ 2

find-left-mid

ภาพที่ 2 การแยกชื่อนามสกุลออกจากกัน

จากตัวอย่างที่ 2 หากข้อมูลในหลัก B มีคำนำหน้าชื่อด้วย ท่านผู้อ่านจะต้องทำอย่างไรดี เอาไว้เป็นการบ้านนะครับ หรือหากจะชี้แนะก็เชิญคอมเม้นด้านล่างได้เลยนะครับ แบ่งปันกันครับ เอาหล่ะครับผมก็ขอจบบทความบทที่ครึ่งร้อยไว้เพียงเท่านี้ เดี่ยวเรากลับมาพบกันในครึ่งร้อยส่วนหลังนะครับ ราตรีสวัสดิ์ครับ

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การใช้งาน Excel : ประยุกต์ VLOOKUP คำนวณค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันได

การใช้งาน excel ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างการคำนวณค่าคอมมิชชั่นในลักษณะแบบขั้นบันได ซึ่งหากมองดีๆแล้วก็จะคล้ายกับการคำนวณภาษีหรือการคิดค่าไฟฟ้านั่นเอง ขอยกตัวอย่างการคำนวณแบบขั้นบันไดให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจให้ง่ายขึ้นครับ สมมุติว่าฝ่ายการตลาดได้กำหนดการจ่ายค่าคอมมิชชั่นจากการขายดังนี้

  1. ยอดขายส่วน 0 – 5,000 บาทแรก จะคิดค่าคอมมิชชั่นให้ 1.5 %
  2. ยอดขายส่วน 5,000 – 10,000 บาท ต่อไปคิดค่าคอมมิชชั่นให้ 2.5 %
  3. ยอดขายส่วน 10,000 – 20,000 ต่อไปคิดค่าคอมมิชชั่นให้ 3.5 %
  4. ยอดขายส่วน 20,000 – 50,000 ต่อไปคิดค่าคอมมิชชั่นให้ 5.0 %
  5. ยอดขายส่วนที่ เกิน 50,000 คิดค่าคอมมิชชั่นให้ 7.5 %

ก่อนเริ่มใช้ excel ในการช่วยคำนวณ เรามาลองกำหนดแนวคิดกันก่อนดีกว่าครับ จากกำหนดการจ่ายค่าคอมมิชชั่นเราสามารถคำนวณค่าคอมมิชชั่นสูงสุดในแต่ละขั้นได้ตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ค่าคอมมิชชั่นสูงสุดในแต่ละขั้น

ช่วงของยอดขาย คอมมิชชั่นสูงสุดในช่วง เปอร์เซนต์คอมมิชชั่น
0 – 5,000 = 5000*0.015 1.5 %
5,000 – 10,000 = 5,000*0.025 2.5 %
10,000 – 20,000 =10,000*0.035 3.5 %
20,000 – 50,000 =30,000*0.050 5.0 %
50,000 up = ส่วนเกิน*0.075 7.5 %

หลักในการคำนวณ หากยอดขายรวมของเราอยู่ในช่วงใด ค่าคอมมิชชั่นที่ได้จะเท่ากับ ผลรวมของค่าคอมมิชชั่นสูงสุดของชั้นที่ต่ำกว่าทั้งหมด บวกด้วยผลคูณระหว่างยอดขายที่เหลือในช่วงนี้กับเปอร์เซนต์คอมมิชชั่นในช่วงนี้ ดังนั้นสามรถใช้ excel สร้างตารางเก็บค่าผลรวมคอมมิชชั่นและค่าต่ำสุดของยอดขายในแต่ละช่วงดังแสดงในภาพที่ 1 โดยสูตรการคำนวณค่าผลรวมคอมมิชชั่นในหลัก c ได้ดังนี้ สมมุติคำนวณค่าใน B3 = B2 + (A3-A2)*C2

Commission

ภาพที่ 1 ตารางใน excel ซึ่งเก็บข้อมูลการตำนวณค่าคอมมิชชั่น

จากหลักการคำนวณค่าคอมมิชชั่นจะเห็นว่าเราสามารถนำสูตร Excel : VLOOKUP มาประยุกต์ได้โดยการกำหนด option การค้นหาเป็น true เพื่อหาตำแหน่งช่วงข้อมูลค่าที่น้อยกว่ายอดขายได้จริง ตัวอย่างเช่น นาย ก มียอดขายในเดือน มค เท่ากับ 8,800 บาท การคำนวณค่าคอมมิชชั่นจะเริ่มจากหาตำแหน่งของยอดขายที่ต่ำกว่า 8,800 บาทในตารางจะพบว่ามีค่าเท่ากับ 5,000 บาท และจะพบว่าค่าคอมมิชชั่นสะสมในชั้นนี้เท่ากับ 75 บาท เมื่อรวมกับผลต่างในช่วงนี้ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3,800*3.5% = 95 บาท รวมเป็นค่าคอมมิชชั่นที่ได้เท่ากับ 75+95= 170 บาท จากวิธีการคำนวณ สมมุติเรามีข้อมูลยอดขายรวมของพนักงานดังแสดงในภาพที่ 2

Commission-1

ภาพที่ 2 ตัวอย่างยอดขายเพื่อคำนวณค่าคอมมิชชั่น

จากแนวคิดการคำนวณสามารถเขียนเป็นสูตร Excel ได้ดังนี้ (สมมุติคำนวณค่าคอมมิชชั่นของพนักงานในแถว A11 = VLOOKUP(B11,$A$2:$C$6,2,TRUE) + (B11 -VLOOKUP(B11,$A$2:$C$6,1,TRUE))*VLOOKUP(B11,$A$2:$C$6,3,TRUE)

ผลการคำนวณด้วย Excel แสดงได้ดังภาพที่ 3

Commission-2

ภาพที่ 3 ผลการคำนวณค่าคอมมิชชั่นตามสูตร Excel

จากตัวอย่างการคำนวณค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันไดนี้ ท่านผู้อ่านจะเห็นการประยุกต์ใช้สูตร excel : VLOOKUP อีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการคำนวณเงินภาษี ค่าไฟฟ้า และอื่นๆได้อีกมาก อย่าลืมหลุมพรางการใช้ VLOOKUP ที่ผมได้นำเสนอไปด้วยนะครับ สวัสดีครับ

ปล สนใจตัวอย่างการคำนวณค่าคอมมิชชั่นในรูปแบบอื่น ดู ที่นี่ ครับ

Yahoo bot last visit powered by  Ybotvisit.com