วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

ตัวอย่าง kpi : Availability Rate (kpi ด้านการผลิต)

ตัวอย่าง kpi ด้านการผลิต ที่จะนำเสนอในบทความนี้เป็นองค์ประกอบที่ 2 ที่ใช้ในการวัด kpi ของค่า OEE หลังจากได้กล่าวถึง Quality Rate ไปแล้วในบทความที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวชี้วัดในด้านคุณภาพของสินค้า ตอนนี้มาพิจารณาความพร้อมใช้ของเครื่องจักรหรือของกระบวนการผลิตกันครับ kpi ตัวที่ใช้วัดคือ ความพร้อมของเครื่องจักร(Availability Rate) ซึ่งใช้วัดความพร้อมของเครื่องจักรที่สามารถผลิตสินค้าได้จริง โดยนำเวลาที่ใช้ในการผลิต (Loading time) หักออกจากเวลาสูญเสียทั้งหมดออกไป มาดูกันครับว่าเราต้องใช้ข้อมูลดิบอะไรบ้าง

  1. Working Time คือเวลาทำงานทั้งหมดของเครื่องจักรที่กำหนดตามแผน
  2. Planned Halt Time คือเวลาที่เครื่องจักรหยุดโดยมีการกำหนดเอาไว้ เช่น การประชุมประจำก่อนเริ่มงาน การกำหนดหยุดซ่อมเครื่องจักร(การ PM เครื่องจักร) เป็นต้น
  3. Down Time คือ เวลาที่สูญเสียไปเนื่องจักรเครื่องจักรไม่สามารถทำงานหรือผลิตสินค้าได้
  4. Loading Time = Working Time - Planned Halt Time

สูตรคำนวณ kpi

clip_image002[5]

หน่วยวัด kpi : %

การรายงานผลการวัด kpi

ควรรายงานการวัด kpi เป็นรายสัปดาห์เพื่อให้สามารถติดตามการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว โดยอาจแยกเป็นเครื่องจักร หรือเป็นกระบวนการผลิต หรือรวมเป็นแต่ละโรงงาน

ข้อสังเกต

เนื่องจากการคำนวณ Availability Rate เกี่ยวข้องกับเวลาในการผลิต ดังนั้นจึงขอกล่าวถึงเวลาในการผลิตเพื่อให้นำไปคำนวณ kpi ได้อย่างถูกต้องรวมถึง ตัวอย่าง kpi อื่นๆที่จะกล่าวต่อไป โดยเวลาที่กล่าวถึงในการผลิตมีดังนี้

  1. Total Time คือเวลาเป็นนาทีในหนึ่งสัปดาห์ (กรณีเป็นการวัด kpi รายสัปดาห์) มีค่าเท่ากับ 7*24*60 = 10,080 นาที ต่อสัปดาห์/เครื่อง
  2. Available Time = Total Time – Unavailable Time เมื่อ Unavailable Time คือวันหยุดประจำสัปดาห์หรือวันหยุดประจำปีที่ตรงกับสัปดาห์นั้นๆ หน่วยเป็น นาที
  3. Used Time = Available Time - Available Unsed Time เมื่อ Available Unsed Time คือเวลาที่เครื่องพร้อมผลิตแต่ไม่สามารถผลิตได้เนื่องจากไม่มีแผนผลิตหรือการสั่งซื้อ
  4. Operation Time = Used Time - Planned Halt Time เมื่อ Planned Halt Time คือ เวลาที่จงใจวางแผนไม่ผลิตสินค้าเช่น เวลาในการวางแผนซ่อมบำรุงเครื่องจักร เวลาในการประชุมประจำวันก่อนเริ่มงานเป็นต้น
  5. Production Time = Operation Time - Routine Operation Time เมื่อ Routine Operation Time คือเวลาที่ต้องหยุดเครื่องจักรเป็นประจำ เช่น Cleaning , Start up, Adjustment , Shut down,Change over
  6. Effective Time = Production Time – Unexpect Stoppage เมื่อ Unexpect Stoppage คือเวลาที่หยุดโดยไม่คาดคิด เช่น เครื่องจักรเสีย วัตถุดิบหมดกระทันหัน ไฟดับ นำไม่ไหล คนงานมีจำนวนไม่พอ เป็นต้น

จากนิยามของเวลาในการผลิตจะพบว่า หากเราสามารถลด Unexpect Stoppage หรือ Down Time และ Planned Halt Time ลงได้ จะทำให้เครื่องจักรมีความพร้อมที่จะผลิตสินค้าได้เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงได้ในรูปของ Availability Rate สิ่งที่ควรระวังในการคำนวณ Availability Rate คือการนิยาม Down Time และ Planned Halt Time ให้ชัดเจนเพื่อความถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีการคำนวณหา Availability Rate อีกรูปแบบหนึ่งซึ่งใช้ค่า MTTR และ MTBF ช่วยคำนวณ

เอาหล่ะครับ บทความนี้ผมก็ได้นำเสนอ ตัวอย่าง kpi ด้านการผลิตที่บ่งชี้ด้านสุขภาพของเครื่องจักรในการผลิตของเราไปแล้วนะครับ ในบทความต่อๆไปผมจะได้นำเสนอ kpi template ในรูปแบบของ excel เพื่อใช้วัด Availability Rate และให้ท่านผู้อ่านนำไปใช้ในการวัด kpi กันได้ต่อไปครับ ดูตัวอย่าง kpi ที่ผมนำเสนอได้ตามหัวข้อด้านล่างเลยครับ

ตัวอย่าง kpi ที่เกี่ยวข้อง

  1. OEE
  2. Quality Rate
  3. Performance Rate

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Yahoo bot last visit powered by  Ybotvisit.com