วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

หนี้สินจากบัตรเครดิตหลีกเลี่ยงอย่างไร (Credit Card loan)

บัตรเครดิต เป็นเสมือนกระเป๋าเงินอีกใบของมนุษย์เงินเดือน โดยเป็นช่องทางหนึ่งที่อำนวยความสะดวกในการใช้จ่ายของผู้บริโภคทั้งยามปกติและยามฉุกเฉิน แล้วเราต้องรู้อะไรเกี่ยวกับบัตรเครดิตที่จะใช้บ้างมาดูกันเลยครับ

1. อัตราค่าธรรมเนียมต่างๆของบัตรเครดิตมีอะไรบ้าง ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งในปัจจุบันเกือบทุกธนาคารจะยกเว้นในปีแรกสำหรับค่าธรรมเนียมรายปี ส่วนค่าธรรมเนียมแรกเข้าผมยังไม่เคยเจอเรียกเก็บเลย ส่วนค่าธรรมเนียมรายปีของปีถัดไป ส่วนใหญ่ขอยกเว้นได้หากเรามีการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต อย่าลืมโทรไปขอยกเว้นด้วยนะครับหากมีใบแจ้งหนี้มา (ที่ผมเคยเจอจะยกเว้นให้ทุกครั้งครับ หากไม่ขอแนะนำให้ยกเลิกการใช้บัตรเครดิตดังกล่าวซะ)

2. อัตราดอกเบี้ยหากผิดนัดชำระ วิธีการคิดการผิดนัดชำระดอกเบี้ย
หากผ่อนชำระคิดอัตราดอกเบี้ยอย่างไร รอบการตัดบัญชีของบัตรเครดิต(สำคัญมาก เพราะเราจะได้วางแผนการใช้และชำระได้เหมาะสม)

3. บริการเสริมอื่นๆของบัตรเครดิต เช่น มีประกันอุบัติเหตุหรือประกันชีวิตหรือไม่ มีส่วนลดในการซื้อหรือผ่อนสินค้าและบริการที่ไหนได้บ้าง คะแนนสะสมในการใช้บัตรเครดิตเป็นอย่างไร (ส่วนใหญ่จะเหมือนๆกัน)


คำถามหลังจากทราบข้อกำหนดต่างๆของบัตรเครดิตแล้ว เราจะทำอย่างไรให้สามารถหลีกเลี่ยงหนี้สินที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตได้

1. เมื่อกำลังจะใช้บัตรเครดิต ทุกครั้งให้จำไว้เสมอว่าเรากำลังจะเป็นหนี้แล้วและให้บันทึกไว้ในสมุดหรือจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายบัตรเครดิตในโปรแกรม excel เพื่อจะได้ทราบว่าหนี้ที่เราก่อขึ้นจะมีกำหนดชำระเมื่อไหร่และในแต่ละเดือนรูดบัตรเครดิตไปเท่าไหร่แล้วมีเงินพอจ่ายอีกหรือไม่หากจะรูดอีก การทำบัญชีรายรับรายจ่ายบัตรเครดิต จึงเป็นการช่วยเตือนตัวเราเองเมื่อจะใช้บัตรเครดิตทุกครั้ง
2. บางกรณีไม่จำเป็นต้องใช้บัตรเครดิตควรใช้เงินสดในการชำระบ้าง อย่าคิดว่าเก็บเงินสดไว้ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถรูดบัตรเครดิตได้เท่านั้น เพราะบางครั้งพอถึงเวลาชำระหนี้สินบัตรเครดิต เงินสดที่เรากันไว้สำหรับชำระหนี้สินบัตรเครดิตอาจจะหมดไปแล้ว ยอดหนี้บัตรเครดิตก็จะเพิ่มขึ้นอีก หากผิดนัดชำระต้องเสียดอกเบี้ยอีกด้วย
3. ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเงินสดและบัญชีรายรับรายจ่ายบัตรเครดิตไว้เพื่อจะได้กำหนดวงเงินในการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของแต่ละเดือน โดยที่เราสามารถชำระได้ตามกำหนดเวลาและต้องคำนึงถึงหนี้สินอื่นๆที่ต้องผ่อนชำระด้วยครับ
4. ไม่ควรใช้บัตรเครดิตเกิน 2 ใบ ในแต่ละเดือนเพราะจะช่วยให้เราบริหารจัดการเรื่องการชำระหนี้ได้ง่าย
5. อย่าลืมเก็บสลิปในการใช้บัตรเครดิตไว้ทุกๆครั้ง
6. ติดตามใบแจ้งหนี้บัตรเครดิตทุกเดือน หากไม่ได้ต้องรีบติดต่อธนาคาร เพื่อป้องกันการผิดชำระหนี้สิน(อย่าลืมอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตสูงมาก) โดยทั่วไปหากใบแจ้งไม่มาให้เราโทรตรวจสอบยอดกับธนาคารและอาจจะโหลดแบบฟอร์มการชำระหนี้จากธนาคารเพื่อชำระหนี้ครับ อย่านิ่งเฉย ดอกเบี้ยมันแพงขอย้ำ
7. กรณีที่มีปัญหาในการชำระหนี้บัตรเครดิต พยายามชำระให้ได้มากที่สุดในแต่ละงวดเพราะผมบอกแล้ว ดอกเบี้ยบัตรเครดิตสูงมากและคิดเป็นรายวันครับ ดังนั้นหากมีเงินก้อนเข้ามารีบชำระโดยด่วนครับ โดยใช้แบบฟอร์มการชำระหนี้ของธนาคารครับ อย่ารอใบแจ้งหนี้ครับ เพราะเค้าคิดดอกเบี้ยเป็นรายวันครับ รีบชำระให้เร็วที่สุด
8. การใช้บัตรเครดิตเบิกเงินสดล่วงหน้า ใช้ในกรณีจำเป็นจริงๆครับเพราะจะมีค่าธรรมเนียมของธนาคารอีกแล้วที่เราต้องจ่าย


อย่างไรก็ตามหากท่านผู้อ่านระมัดระวังการใช้จ่าย อย่าใช้เงินเกินตัว ให้เหมาะสมกับฐานะการเงินและทำบัญชีรายรับรายจ่ายตามที่เคยนำเสนอไปแล้ว การเป็น
หนี้บัตรเครดิตของเราก็จะเป็นหนี้แบบรายเดือนแบบดอกเบี้ย 0 % นะครับ สวัสดีครับ

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

TPM: 8 เสาหลัก IC , EA (จบ)

ขอนำเสนอ 2 เสาหลักต่อไปของ TPM ครับ มาดูกันเลย

1. เสา Initial Control Pillar(IC) เป็นเสาด้านการออกแบบและควบคุมกระบวนการผลิตและสินค้า

KPI ของการทำ TPM เสา CI มีดังนี้

  1. พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ดีขึ้น
  2. ออกแบบอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือให้ใช้งานได้เร็วขึ้น
  3. ผลิตภัณฑ์ใหม่และเครื่องจักรใหม่ต้องบำรุงรักษาได้ง่าย

ผู้รับผิดชอบการทำ TPM เสานี้ คือ

  1. ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา
  2. วิศวกรการผลิต
  3. วิศวกรซ่อมบำรุง

บทบาทและหน้าที่ของเสา SE

  1. ตั้งเป้าหมายการออกแบบและพัฒนา
  2. ออกแบบโดยการคำนึงถึงเครื่องจักรที่ต้องมีลักษณะ
    1. ทำการผลิตได้ง่าย
    2. คุณภาพคงที่
    3. ใช้ง่าย
    4. บำรุงรักษาได้ง่าย
    5. มีความน่าเชื่อถือ
  3. ศึกษาค่าใช้จ่ายตลอดอายุการใช้งานของเครื่อง
  4. ทบทวนแบบของผลิตภัณฑ์และเครื่องจักรอยู่เสมอ

2. เสา Effective Administration Pillar(EA) เป็นเสาบริหารจัดการด้านข่าวสารข้อมูลและความเปผ็นระเบียบในสถานที่ทำงาน

KPI ของการทำ TPM เสา EA มีดังนี้

  1. ความสูญเสียที่เกิดจากการประสานงานระหว่างฝ่าย
  2. ประสิทธิภาพการบริการด้านธุรการ

ผู้รับผิดชอบการทำ TPM เสานี้คือ

  1. ผู้จัดการและพนักงานในฝ่ายขายและฝ่ายบริหาร

บทบาทและหน้าที่ของเสา QM

  1. ทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน
  2. พัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
  3. จัดทำเป็นมาตรฐาน
  4. ปรับทัศนคติว่า “ต้องทำทุกอย่างที่ฝ่ายผลิตต้องการ”
  5. ปรับปรุงเฉพาะเรื่อง
    1. ลดเวลางานด้านบัญชี
    2. ปรับปรุงระบบการจัดส่ง
    3. ปรับปรุงระบบการจัดซื้อและจัดจ้าง

แปดเสาหลักอื่นๆ

  1. Education & Training Pillar (ET)
  2. Autonomous Maintenance Pillar (AM)
  3. Planned Maintenace Pillar(PM)
  4. Specific Improvement (SI)
  5. Safety and Enveronment Pillar (SE)
  6. Quality Maintanance Pillar(QM)

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

TPM : 8 เสาหลัก –QM , SE

ขอนำเสนอ 2 เสาหลักต่อไปของ TPM ครับ มาดูกันเลย

1. เสา Safety and Enveronment Pillar (SE) เป็นเสาด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม เป้าหมาย

KPI ของการทำ TPM เสา SE มีดังนี้

  1. อุบัติเหตุเป็นศูนย์
  2. พัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานและความปลอดภัยในโรงงาน

ผู้รับผิดชอบการทำ TPM เสานี้ คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและคณะกรรมการมาตรฐานแรงงาน

บทบาทและหน้าที่ของเสา SE

  1. เก็บข้อมูลและจัดทำสถิติอุบัติเหตุ
  2. วิเคราะห์การปฏิบัติงานเพื่อหาขั้นตอนที่อาจเกดอันตราย
  3. ขจัดมลภาวะในสถานที่ทำงาน
  4. วัดอัตราอนุรักษ์พลังงาน
  5. ส่งเสริมพนักงานให้มีสุขภาพดีด้วยกิจกรรมต่างๆ
  6. สร้างบรรยากาศที่น่าทำงาน

2. เสา Quality Maintanance Pillar(QM) เป็นเสาควบคุมด้านคุณภาพของการผลิตสินค้า

KPI ของการทำ TPM เสา QM มีดังนี้

  1. เครื่องจักรต้องไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดของเสียหรือการผลิตของเสียเป็นศูนย์

ผู้รับผิดชอบการทำ TPM เสานี้คือ ผู้จัดการฝ่ายประกันคุณภาพ วิศวกรฝ่ายผลิต และหัวหน้าสายการผลิต

บทบาทและหน้าที่ของเสา QM

  1. ทบทวนมาตรฐานคุณภาพและข้อกำหนดทางเทคนิคที่ทำไว้กับลูกค้า
  2. ประกันคุณภาพทุกขั้นตอนในกระบวนการผลิต
  3. หาสาเหตุที่ทำให้คุณภาพเกิดความผิดปกติ
  4. จัดทำมาตรฐานการตรวจสอบในจุดต่างๆของเครื่องที่มีผลต่อคุณภาพ

แปดเสาหลักอื่นๆ

  1. Education & Training Pillar (ET)
  2. Autonomous Maintenance Pillar (AM)
  3. Planned Maintenace Pillar(PM)
  4. Specific Improvement (SI)
  5. Effective Administration Pillar(EA)
  6. Initial Control Pillar(IC)

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ TPM Total Productive Maintenance โดย ธานี อ่วมอ้อ ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

การใช้ excel สรุปความพึงพอใจในแบบสอบถาม

การใช้ Excel ในบทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับ การสรุปความพึงพอใจ ในด้านต่างๆที่หลายท่านเคยให้คะแนนในแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจกันครับ สิ้นปีการความพึงพอใจของลูกค้าหรือการบริการเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำกันเป็นประจำ โดยส่วนใหญ่การประเมินความพึงพอใจจะอยู่ในรูปแบบสอบถามและแบบสอบถามดังกล่าวจะถูกส่งไปให้ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของเราเพื่อประเมินความพึงพอใจ การสร้างแบบสอบถามด้วยการใช้ excel และส่งแบบสอบถามดังกล่าวให้กับกลุ่มเป้าผ่านทางอีเมล์เป็นสิ่งที่สะดวกและรวดเร็วมากและยังประหยัดกระดาษรวมถึงหมึกปริ้น หลังจากกลุ่มเป้าหมายได้ทำการประเมินความพึงพอใจเสร็จสิ้นและส่งแบบสอบถามกลับมายังบริษัทในรูปแบบไฟล์ excel เช่นกัน ท่านผู้อ่านลองนึกภาพหากกลุ่มเป้าหมายมีเป็นจำนวนมาก ตอนนี้เราคงมีแบบสอบถามในรูปแบบไฟล์ excel กลับมาเยอะมาก เรามาดูกันครับว่า เราจะทำการสรุปผลความพึงพอใจที่ได้จากแบบสอบถามกันอย่างไร มาดูกันเลยครับ
สมมุติแบบสอบถามของเรามีรูปแบบดังแสดงในภาพที่ 1
แบบสอบถาม
ภาพที่ 1 รูปแบบของแบบสอบถามใน excel
เราจะใช้ vba excel ช่วยในการอ่านข้อมูลจากไฟล์ excel กันครับ
มาดูกันเลยครับ
  1. ให้ท่านสร้าง excel ไฟล์ ขี้นมาใหม่ 1 ไฟล์ครับ
  2. ให้สร้างปุ่มเพื่อใช้กดสั่งให้มาโครที่เราเขียนทำงาน
  3. ให้เขียนโค้ดโปรแกรมดังแสดง
Sub Button1_Click()
Dim iCount As Integer
Dim iCountRowValue As Integer
Dim iPoint(1 To 5) As Integer
' set point to zero
For iCountRowValue = 1 To 5
iPoint(iCountRowValue) = 0
Next iCountRowValue
With Application.FileDialog(msoFileDialogOpen)
.Title = "Select data files"
.AllowMultiSelect = True
.Show
For iCount = 1 To .SelectedItems.Count
Workbooks.Open(.SelectedItems (iCount))
Workbooks(2).Activate
For iCountRowValue = 1 To 5
iPoint(iCountRowValue) = iPoint(iCountRowValue) + Workbooks(2).Worksheets(1).Range("B" & iCountRowValue + 6).Value
Next iCountRowValue
If iCount = .SelectedItems.Count Then
Workbooks(2).Worksheets(1).Copy before:=Workbooks(1).Worksheets(1)
End If
Workbooks(2).Close
Next iCount
End With
With Workbooks(1).Worksheets(1)
For iCountRowValue = 1 To 5
.Cell(iCountRowValue + 6, 2).Value = iPoint(iCountRowValue) / iCount
Next iCountRowValue
End With

End Sub
ทดสอบมาโครโดยการกดปุ่มจะปรากฎไดอะล็อกให้เลือกไฟล์ข้อมูลแบบสอบถามที่ต้องการประเมินความพึงพอใจ
แบบสอบถามDialog
ภาพที่ 2 ไดอะล็อกให้เลือกไฟล์ข้อมูลแบบสอบถาม
จากมาโครที่เราเขียนจะพบว่าการสรุปความพึงพอใจในตัวอย่างแบบสอบถามนี้คือการหาค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจที่ได้จากแบบสอบถามแต่ละไฟล์ ดังนั้นเมื่อเราเลือกไฟล์แบบสอบถามทั้งหมดและกดปุ่มเปิดในภาพที่ 2 excel จะเปิดไฟล์แบบสอบถามที่ละไฟล์เพื่อเข้าไปอ่านค่า ระดับความพึงพอใจที่ได้จากการประเมินแต่ละข้อและนำมาเก็บสะสมไว้ในตัวแปรอาเรย์ iPoint จากนั้นจะทำการปิดไฟล์แบบสอบถามนั้น (Workbooks(2).Close) แต่หากเป็นไฟล์แบบสอบถามสุดท้ายก่อนจะปิดไฟล์แบบสอบถาม excel จะทำการสำเนา Worksheets ที่เก็บรูปแบบของแบบสอบมาเก็บไว้ที่ Workbooks ที่เรียกใช้งานมาโคร จากนั้นจึงทำการคำนวณหาค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจในแต่ละข้อก่อนกำหนดค่าลงใน WorkSheets ที่ได้สำเนามา สุดท้ายจะได้ผลการสรุปความพึงพอใจดังแสดงในภาพที่ 3

ผลความพึงพอใจ
ภาพที่ 3 ผลประเมินความพึงพอใจจากไฟล์แบบสอบถาม
ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าการใช้ Excel ร่วมกับการเขียนมาโครช่วยให้เราลดเวลาการสรุปผลที่ได้จากแบบสอบถามจำนวนมากๆได้ หวังว่าท่านผู้อ่านจะประยุกต์การใช้ excel ในหัวข้อนี้กับงานที่เกี่ยวข้องได้นะครับ สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการทราบถึงการอ้างอิง Workbooks Worksheets ต่างๆ สามารถดูได้ที่นี่ครับ
จากบทความนี้เราได้แสดงวิธีการใช้ excel สรุปการประเมินความพึงพอใจไปแล้ว ท่านสามารถนำเสนอผลการประเมินความพึงพอใจด้วยกราฟหรือแผนภูมิแบบเรดาห์ โดยใช้ excel ครับ
ในความเป็นจริงยังมีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามอีกหลากหลายรูปแบบโดยข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามจะถูกนำไปคำนวณทางสถิติเพื่อสรุปเป็นข้อมูลทางสถิติ ซึ่งการวิเคราะห์ทางสถิติขั้นสูงจะนิยมใช้โปรแกรม SPSS แต่ก่อนที่จะนำข้อมูลจากแบบสอบถามเข้าไปยัง SPSS เราต้องจัดเตรียมและรวบรวมข้อมูลเหล่านั้นให้อยู่ในรูปแบบที่ SPSS เข้าใจ เดี่ยวเราไปดูกันในบทความหัวข้อ การใช้ excel จัดเตรียมข้อมูลแบบสอบถามก่อนเข้าวิเคราะห์ทางสถิติด้วย SPSS
Yahoo bot last visit powered by  Ybotvisit.com