วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การใช้ Excel : Goal Seek แก้ปัญหาปริมาตรทรงกลม

การใช้ Excel ในบทความนี้จะนำเสนอการใช้สูตร Goal Seek เพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรทรงกลม เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้เห็นตัวอย่างการใช้ Excel แก้ปัญหาทางวิศวกรรมมากขึ้น สัปดาห์ที่ผ่านมาได้รับโจทย์ข้อหนึ่งจากเพื่อนๆว่า หากมีถังทรงกลมและเติมน้ำลงไปคิดเป็น 85% ของปริมาตรทรงกลม น้ำในถังทรงกลมจะมีความลึกเท่าไหร่ หากถังทรงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายในเท่ากับ 12,410 มม. (ที่ต้องการทราบเพราะว่าความลึกของน้ำในถังที่คำนวณได้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการคำนวณหา Hydrostatic Pressure ที่กระทำกับถังและต่อไปถึงการออกแบบเสารองรับ เสาค้ำยัน และ Sloshing ต่อไปครับ) ในขั้นตอนนี้จะยังไม่เกี่ยวกับการใช้ Excel ครับ มาดูรูปร่างของปัญหากันก่อนครับ

Pic1-bเอาหล่ะครับเริ่มจากการใช้ Calculus ในการหาปริมาตรทรงกลม โดยใช้ Disk Method ดังภาพที่ 1 ครับ

Pic2-b

ภาพที่ 1 Disk Method หาปริมาตรทรงกลม

เมื่อแทนค่า r^2 ด้วย ค่า R^2 - X^2 และอินทิเกรตช่วง x ระหว่าง –R ถึง R จะได้ปริมาตรทรงกลม เท่ากับ (4/3)*PI*R^3 ในทำนองเดียวกันครับหากของไหลในถังบรรจุไม่เต็มสมมุติให้ลึกเท่ากับ h หากกำหนดให้ x เป็นขอบเขตบนของการอินทิเกรต ดังนั้น h = R+x ทำการอินทิเกรต ระหว่าง –R ถึง x จะได้ปริมาตรของไหลที่บรรจุในถังทรงกลมความลึก h เท่ากับ

vf = (PI/3 )*(3xR^2 - x^3 + 2R^3)

จากโจทย์ที่ได้มากำหนดค่า volume fraction (f) ดังนั้นสามารถเขียนได้เป็น

vf = f*(4/3)*PI*R^3

เราสามารถหาค่า x ได้ดังความสัมพันธ์

f*(4/3)*PI*R^3 = (PI/3 )*(3xR^3 - x^3 + 2R^3)

4fR^3 = 3xR^2 - x^3 + 2R^3

3xR^2 - x^3 = 2R^3(2f-1)

จัดเรียงจะได้สมการความสัมพันธ์ดังนี้

(3xR^2 - x^3)/2R^3 = 2f – 1 (1)

มาถึงตรงนี้หากเราแก้สมการหาค่า x ได้ ก็สามารถหาความลึกของของไหลได้ดังความสัมพันธ์ h = R + x

จะเห็นว่าการแก้สมการที่ 1 ทำได้โดยการใช้ Excel สูตร Goal Seek ดังที่เคยนำเสนอไปในบทความก่อนหน้านี้ครับ มาดูการใช้ Excel กันเลยครับ

เริ่มจากขั้นแรกกำหนดค่าตัวแปรต่างๆลงในเซลล์ดังแสดงในภาพที่ 2

การใช้ Excel

ภาพที่ 2 การกำหนดค่าตัวแปรในเซลล์

จากภาพที่ 2 อธิบายได้ดังนี้

f คือ volume fraction ในโจทย์นี้เท่ากับ 0.85 (85%)

x คือ คำตอบของสมการ ผมเดาค่าเริ่มต้นเท่ากับ 2000

h คือ ความลึกของระดับน้ำ มีค่าเท่ากับ B1+B3

LHS คือผลการคำนวณค่าด้านซ้ายของสมการ(3*B3*(B1^2) - B3^3)/(2*B1^3)

RHS คือผลการคำนวณค่าด้านขวาของสมการ (2*B2 – 1)

DIFF คือผลต่างของ LHS และ RHS

การใช้ Excel ช่วยหาคำตอบจะเริ่มจากการเรียกใช้งานคำสั่ง Goal Seek ซึ่งจะปรากฎหน้าต่างดังแสดงในภาพที่ 3

การใช้ Excel-Goal seek ภาพที่ 3 การกำหนดค่าในหน้าต่าง Goal Seek

จากภาพที่ 3 สามารถอธิบายได้ว่า ต้องการตั้งค่าในเซลล์ B6 (ค่า DIFF) ให้เป็นค่า 0.0001 โดยการเปลี่ยนค่าในเซลล์ B3 (ค่า x) เมื่อกดปุ่ม ตกลง Excel จะทำการหาค่าเป้าหมายที่ใกล้เคียงที่สุดดังแสดงผลการค้นหาได้ดังภาพที่ 4

ผลการใช้ Excel

ภาพที่ 4 ผลการใช้ Excel : Goal seek

จากภาพที่ 4 Excel ได้ค้นหาค่า x ซึ่งเป็นคำตอบของสมการได้และเมื่อเราตรวจสอบผลต่างใน B6 แล้วจะพบว่ามีค่ามากจึงกล่าวได้ว่า เราได้ Solution ของปัญนี้แล้ว โดยระดับน้ำในถังทรงกลมซึ่งบรรจุน้ำ 85% โดยปริมาตรของถังมีค่าเท่ากับ 9,374.078 มม.

หวังว่าการนำเสนอ การใช้ Excel ในหัวข้อนี้คงจะเป็นประโยชน์กับท่านผู้อ่านนะครับ หากผมพบปัญหาที่น่าสนใจและมีการใช้ Excel เข้าช่วยแก้ปัญหาจะนำมาเสนอท่านผู้อ่านต่อไป สวัสดีครับ

ปล

ในทางกลับกัน สมการ vf = (PI/3 )*(3xR^2 - x^3 + 2R^3) สามารถใช้ในการคำนวณหาปริมาตรของของไหลน้ำในถังทรงกลมได้ หากทราบความลึกของระดับของของไหล h โดยที่ x = h – R ครับ

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

TQC and TPM

มีบริษัทจำนวนมากที่ได้ประยุกต์ใช้ทั้ง TQC และ TPM พร้อมๆกัน ซึ่งก็ได้รับผลดีเยี่ยม โดยบริษัทส่วนใหญ่ดำเนินการประยุกต์ภายในแนวคิดที่ว่า TPM คือส่วนหนึ่งของ TQC ในขณะที่ความเป็นจริงนั้น ทั้ง TQC และ TPM ล้วนแต่สร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทได้เหมือนกัน แต่หากพิจารณาในแง่ที่ว่า TPM คือการพัฒนาระบบที่สร้างคุณภาพให้อยู่ในเครื่องจักร อุปกรณ์ อันเป็นการประยุกต์หลักการข้อหนึ่งของ TQC ที่ว่า “คุณภาพต้องมาก่อน” ก็อาจกล่าวได้ว่า TPM คือมุมมองหนึ่งของ TQC

ในขณะที่ TQC ได้รับการประยุกต์ใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมญี่ปุ่น แต่ทว่า TPM กลับได้รับการยอมรับในระยะเวลาไม่นานนี่เอง ทั้งนี้เนื่องจากมีบริษัทจำนวนหนึ่งเกิดความลังเลใจต่อการประยุกต์ใช้ TPM เนื่องจากไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า TQC และ TPM มีความแตกต่างกันอย่างไร ตลอดจนไม่ทราบถึงวิธีการใช้ TQC ร่วมกับ TPM ได้อย่างไร ดังนั้นจะต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง TQC และ TPM ให้ถ่องแท้ดังจะนำเสนอในหัวข้อต่อๆไปครับ

TPM and TQC

ปล บทความนี้เห็นว่ามีประโยชน์กับท่านผู้อ่านจึงนำมาเสนอให้ท่านผู้อ่านครับ ขอขอบคุณ หนังสือ TQC AND TPM ของสำนักพิมพ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Excel tips: การแปลงเป็น pdf จากไฟล์หลายรูปแบบ

Excel tips บทความนี้ขอนำเสนอ การแปลงไฟล์เป็น pdf อีกบทหนึ่งครับ จากบทความที่ผ่านมา จะเห็นว่าผมได้นำเสนอวิธีการแปลงข้อมูลในไฟล์ excel เป็น pdf ไปแล้วซึ่งหากพิจารณากันแล้วจะพบว่าเป็นการแปลงเป็น pdf จากแหล่งข้อมูลเดียว หากในการใช้งานการแปลงข้อมูลเป็น pdf จริงอาจมีแหล่งข้อมูลหลากหลาย เช่น ในรายงานฉบับหนึ่งในแต่ละหน้าอาจมีแหล่งข้อมูลจากไฟล์หลากหลายรูปแบบเช่น เนื้อหารายงานจากไฟล์ word ตารางผลการวิเคราะห์จาก excel รูปภาพประกอบเป็นไฟล์รูปแบบ jpg เป็นต้น ทีนี้หากเราจะรวมแปลงข้อมูลเหล่านี้เป็น pdf หนึ่งไฟล์จะทำอย่างไร นี่จึงเป็นจุดประสงค์ของการนำเสนอบทความนี้ครับ และก็เช่นเดิมครับ เราจะใช้โปรแกรม pdf creator เป็นโปรแกรมที่ช่วยรวบรวมและจัดเรียงข้อมูล สุดท้ายจะแปลงเป็น pdf ให้กับเรากันครับ มาดูกันเลย เริ่มต้นให้ท่านผู้อ่านสร้างไฟล์ word ขึ้นมา 1 ไฟล์ ตั้งชื่อไฟล์เป็น Document.doc ให้มีข้อมูลซัก 1 หน้า แล้วก็สร้างไฟล์ excel ตั้งชื่อไฟล์เป็น table.xls ทำตารางคำนวณใน worksheet 1 แผ่นแ เอาหล่ะครับเราจะเริ่มรวมข้อมูลและแปลงเป็น pdf กันเลย ตามขั้นตอนดังนี้

  1. หากเราติดตั้ง pdf creator ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วให้เปิดโปรแกรม pdf creator ดังแสดงในภาพที่ 1

pdf creator-openภาพที่ 1 เปิดโปรแกรม pdf creator

2. โปรแกรม pdf creator จะปรากฏดังภาพที่ 2 ให้ท่านผู้อ่านตรวจสอบสถานะการแปลงไฟล์ก่อนครับ โดยไปที่ เมนู Printer และเลือก Printer Stop ให้มีเครื่องหมายถูกหน้าเมนู เพื่อหยุดการพิมพ์ก่อน หรืออาจกดปุ่ม F2 เพื่อสลับสถานะการแปลงไฟล์ และให้ท่านสังเกตทูลบาร์ตัวแรกรูปเครื่องพิมพ์ครับ หากอยู่ในสถานะหยุดพิมพ์จะมีจุดสีแดงหากอยู่ในสถานะพร้อมพิมพ์จะมีจุดสีเขียวปรากฎ ขั้นตอนนี้ให้กำหนดสถานะการพิมพ์เป็น หยุดพิมพ์ครับ

pdf creator Program

ภาพที่ 2 โปรแกรม pdf creator แสดงสถานะการพิมพ์เป็นหยุดพิมพ์

3. การนำเข้าข้อมูลจากไฟล์ที่ต้องการแปลงป็น pdf ทำได้โดยไปที่ เมนู Document เลือกคำสั่ง Add จะปรากฎหน้าต่าง Open ในหน้าต่างนี้ให้เลือกชนิดไฟล์เป็น All Files(*.*) เลือกไฟล์ชื่อ Document.doc คลิกปุ่ม Open pdf creator จะประมวลผลให้รอซักครู่ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วจะแสดงสถานะโปรแกรม pdf creator ดังภาพที่ 3

pdf creator-2

ภาพที่ 3 pdf creator แสดงไฟล์ข้อมูลที่ถูกนำเข้า 1 ไฟล์

4. ดำเนินการตามข้อ 3 เพื่อนำเข้าไฟล์ table.xls สุดท้ายจะได้ดังภาพที่ 4

pdf creator-3

ภาพที่ 4 pdf creator แสดงไฟล์ข้อมูลที่ถูกนำเข้า 2 ไฟล์

5. ในขั้นตอนนี้หากต้องการสลับตำแหน่งข้อมูลก็สามารถทำได้โดยการคลิกทูลบาร์ปุ่มลูกศรเพื่อสลับตำแหน่งของหน้าข้อมูล หรือไปที่เมนู Document และเลือกคำสั่งได้ตามต้องการ

6. เมื่อจัดตำแหน่งข้อมูลที่ต้องการแปลงเป็น pdf ได้ตามต้องการแล้ว ให้ไปที่เมนู Document เลือกคำสั่ง Combine All (หรือกด Ctrl + A) pdf creator จะรวมข้อมูลเป็นไฟล์เดียวดังแสดงในภาพที่ 5

pdf creator-4ภาพที่ 5 pdf creator แสดงไฟล์ข้อมูลที่ถูกรวม

7. ทำการแปลงเป็น pdf โดยการเปลี่ยนสถานะการพิมพ์ (กดปุ่ม F2) จะปรากฎ หน้าต่าง pdfcreator ให้คลิกปุ่ม Save จะปรากฎหน้าต่าง Save as เลือกชนิดไฟล์เป็น .pdf ตั้งชื่อไฟล์ เป็น Combine กดปุ่ม Save pdf creator จะแปลงข้อมูลเป็น pdf ให้

8. มาถึงขั้นตอนนี้เราก็จะได้ไฟล์ pdf ที่ได้จากการแปลงข้อมูลเป็น pdf เรียบร้อยแล้วครับ

ที่นำเสนอมาทั้งหมดขอให้ท่านผู้อ่านทดลองใช้ดูนะครับ ลองทดสอบใช้งานคำสั่งต่างในเมนูของ pdf creator ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการแปลงเป็น pdf ได้อีกเยอะ หากมีข้อสงสัยถามมาได้นะครับ สวัสดีครับ

excel tips

  1. pdf creator สำหรับแปลงเป็น pdf
  2. การสลับแถวสลับหลักของข้อมูล
  3. การทำซ้ำด้านบน (Repeat Row)

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Excel tips: pdf creator สำหรับแปลงเป็น pdf

pdf creator เป็น free program ที่ใช้สำหรับแปลงไฟล์ต่างๆให้เป็น pdf ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไป download pdf creator ได้ที่นี่ บางครั้งเราก็จำเป็นต้องส่งข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการด้วยสูตร excel ต่างๆ เช่น การดำเนินการด้วยสูตรexcel : vlookup การใช้ pivottable ช่วยทำรายงานกับข้อมูลต่างๆใน excel ในรูปแบบไฟล์ pdf เพื่อป้องกันความผิดพลากจากการอ้างอิงสูตร excel หรือป้องกันการถูกแก้ไขสูตร excel วิธีการแปลงเป็น pdf ก็ไม่ยากครับ หากท่าน download pdf creator เสร็จแล้ว ให้ท่านทำการติดตั้ง pdf creator ตามปกติครับ จากนั้นหากต้องการแปลงข้อมูลใน excel เราก็สามารถทำได้โดยไปที่ File->print… จะปรากฎหน้าต่าง พิมพ์ โดยในหน้างต่างพิมพ์ ในช่องชื่อเครื่องพิมพ์ ให้เราเลือก PDFCreator ดังแสดงในภาพ นอกจากนี้เราสามารถปรับแต่งรูปแบบการพิมพ์ได้เหมือนการพิมพ์ออกเครื่องพิมพ์ครับ เพียงแต่การพิมพ์ด้วย pdf creator เป็นการแปลงออกเป็นไฟล์ pdf ดังแสดงในภาพที่ 1

pdf creator ภาพที่ 1 หน้าต่างกำหนดการพิมพ์ (pdf creator)

เมื่อกำหนดรูปแบบการพิมพ์เสร็จสมบูรณ์แล้วก็ให้กดปุ่มตกลงเพื่อให้ pdf creator แปลงข้อมูลที่เราเลือกออกเป็นไฟล์ pdf โดยจะแสดงหน้าต่างดังภาพที่ 2 ให้เรากดปุ่ม Save จะปรากฎหน้าต่าง Save As ให้เรากำหนดชื่อไฟล์ผลลัพธ์การแปลง ตำแหน่งที่เก็บไฟล์ผลลัพธ์ และชนิดของไฟล์ที่ต้องแปลง ดังแสดงในภาพที่ 3

pdf creator dialogภาพที่ 2 หน้าต่างการกำหนดค่าของ pdf creator

pdf creator save

ภาพที่ 3 หน้าต่าง pdf creator Save As

กดปุ่ม Save เสร็จแล้ว pdf creator จะดำเนินการแปลงข้อมูลใน excel ที่เรากำหนดให้เป็นรูปแบบไฟล์ pdf ที่เรากำหนดครับ

เสร็จแล้วครับขั้นตอนการใช้งาน pdf creator จะเห็นว่าสามารถแปลงเป็น pdf ได้ง่ายมากที่สำคัญเป็นของฟรีด้วยครับ แถมท้ายมาดูกันว่านอกจากการแปลงเป็น pdf แล้ว pdf creator สามารถแปลงข้อมูลเป็นไฟล์ชนิดไหนได้อีก ไปดูกันเลยครับ

  1. ไฟล์ภาพ .png ,.jpg, .bmp , .pcx , .tif ,
  2. postscrip file .ps , .eps
  3. text file .txt
  4. Adobe Photoshop .psd

excel tips

  1. การแปลงเป็น pdf จากไฟล์หลายรูปแบบ

วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553

TPM : 8 เสาหลัก – PM,SI

มาดูเสาหลักของการทำ TPM อีก 2 เสาต่อไปเลยครับ

  1. เสา Planned Maintenace Pillar(PM) เป็นเสาการบำรุงรักษาตามแผน
    1. เป้าหมายการทำ TPM : เพิ่มประสิทธิภาพงานซ่อมบำรุงเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียในการผลิต
    2. ผู้รับผิดชอบการทำ TPM : ผู้จัดการและหัวหน้างานในฝ่ายซ่อมบำรุง
    3. บทบาทและหน้าที่ของเสา PM
      1. จัดทำแผนการบำรุงรักษาประจำวัน
      2. จัดทำแผนบำรุงรักษาตามระยะเวลา
      3. จัดทำแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
      4. ยืดอายุการใช้งานเครื่องจักร
      5. ควบคุมการเปลี่ยนชิ้นส่วนตามคาบเวลาที่กำหนด
      6. วิเคราะห์ความเสียหายและหาทางป้องกัน
  2. เสา Specific Improvement (SI) เป็นเสาการปรับปรุงเฉพาะเรื่อง เป็นเสาที่ช่วยในการหาการสูญเสียที่เกิดขึ้นในการผลิตและหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกโดยใช้เครื่องมือต่างๆเช่น PDCA ,Fish Bone , Pareto Matrix,Why-Why Analysis, PM-Analysis เป็นต้น
    1. เป้าหมายการทำ TPM :
      1. เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้อยู่ระดับสูงสุดเสมอ
      2. เครื่องจักรเสียและของเสียเป็นศูนย์
    2. ผู้รับผิดชอบการทำ TPM : ผู้จัดการและหัวหน้างานในสยาการผลิต
    3. บทบาทและหน้าที่ของเสา SI
      1. กำจัดความสูญเสีย
      2. คำนวณค่า OEE ของแต่ละสายการผลิตหรือของแต่ละ Product พร้อมทั้งทำการตั้งเป้าหมาย
      3. วิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่ทำให้ OEE ต่ำ
      4. ทำการวิเคราะห์ด้วยหลัก P-M เพื่อกำจัดความเสียหายแบบเรื้อรัง
      5. เฝ้าติดตามในแต่ละช่วงเวลาว่าเครื่องจักรควรได้รับการปรับปรุงอย่างไร

แปดเสาหลักอื่นๆ

  1. Education & Training Pillar (ET)
  2. Autonomous Maintenance Pillar (AM)
  3. Safety and Enveronment Pillar (SE)
  4. Quality Maintanance Pillar(QM)

ตัวอย่าง kpi : Breakdown Rate (TPM kpi)

ตัวอย่าง kpi ที่จะนำเสนอในบทความนี้จะเกี่ยวข้องกับการทำ TPM ซึ่งสิ่งที่ชี้วัดผลได้อย่างชัดเจนและรวดเร็วที่สุดในดำเนินการทำ TPM น่าจะเป็น การลดลงของเวลาหยุดโดยไม่คาดคิดของเครื่องจักร หรือเรียกว่า Breakdown Time kpi ที่ใช้วัดผลและสามารถเชื่อมโยงไปยังค่า oee ได้คือ นั่นคือ ค่า Breakdown Rate (BR)

วัตถุประสงค์ในการใช้ KPI

เพื่อใช้วัดเวลาการสูญเสียที่ไม่สามารถผลิตสินค้าอันเนื่องมาจากเครื่องจักรเสียเทียบกับเวลาที่ใช้เดินเครื่องเพื่อผลิตสินค้า

ข้อมูลดิบ

  1. Breakdown Time หน่วยเป็นนาที
  2. Operation Time = Used Time – Planned Halt Time (สามารถดูได้จากบทความเรื่อง Effective Time)

สูตรการคำนวณ kpi

Breakdown Rate = 100*Breakdown Time/Operation Time

หน่วยวัด kpi : %

ความถี่ในการวัดผล kpi

ควรรายงานเป็นสัปดาห์เพื่อให้หัวหน้างานใช้ติดตามสำหรับแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วโดยอาจแยกเป็นแผนกหรือเป็นแต่ละโรงงาน และน่าจะนำเสนอสรุปเป็นค่าเฉลี่ยเป็นรายเดือนหรือไตรมาสเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงทราบ

ตัวอย่าง kpi ที่เกี่ยวข้อง

  1. oee
  2. Availibility Rate
  3. MTBF
  4. MTTR

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่าง kpi : Effective Time ในการผลิต

Chart Time

ภาพที่ 1 แผนภูมิเวลา

สวัสดีครับ บทความนี้ขอแสดงด้วยภาพเลยนะครับ ว่าจริงๆแล้ว Production Time ที่ใช้ผลิตสินค้า (Effective Time) ถูกรบกวนด้วยเหตุการณ์ใดบ้าง ตัวอย่าง kpi ด้านการผลิตส่วนใหญ่ก็จะเกี่ยวกับเวลา Effective Time เหล่านี้ครับ

Effective Time สามารถเพิ่มได้หากเราดำเนินการลด Down Time มาดูกันครับว่า Down Time เหล่านี้มีอะไรบ้าง

Holiday คือวันหยุดการผลิตตามโรงงาน

Unused Time คือ เวลาที่เครื่องพร้อมผลิตแต่ไม่ได้ผลิตอันเกิดจากไม่มีแผนผลิตหรือการสั่งซื้อ

Planned Halt Time คือเวลาที่จงใจไม่ผลิตสินค้าเพื่อซ่อมบำรุงเครื่องจักร (pm)

Routine Production Stoopage คือเวลาที่ต้องหยุดเครื่องเป็นประจำทุกครั้งก่อนผลิตสินค้า เช่น setup time startup Adjustment Change over เป็นต้น

Unexpect stoppage คือเวลาที่หยุดโดยไม่คาดคิด (Breakdown time) เช่นเครื่องเสีย ไฟฟ้าดับ เป็นต้น

ก็คงไม่ต้องอธิบายมากครับ ฟ้องด้วยภาพหล่ะกันครับ เพราะท่านผู้อ่านคงจะพบกับ down time เหล่านี้ในตัวอย่าง kpi ต่อๆไป สวัสดีครับ

อ้อ การลด breakdown ต่างๆที่เสนอไว้ เราจะใช้การทำ TPM เข้าช่วยนะครับ

TPM : 8 เสาหลัก (1)

บทความนี้จะนำเสนอกิจกรรมหลัก 8 กิจกรรมที่เราเรียกกันว่า 8 เสาหลักในการทำ TPM และจะนำเสนอตัวอย่าง kpi ที่ใช้วัดความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ บทความนี้จะขอนำเสนอ 2 เสาแรกก่อนครับ ไปดูกันเลย

  1. Education & Training Pillar (ET) เป็นเสาการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะการทำงานและการบำรุงรักษา เป็นเสาที่ควรจะดำเนินการเป็นอันดับแรก เพื่อให้คนในองค์กรทราบว่า TPM คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร และจะกระตุ้นให้พนักงานอยากทำ TPM ได้อย่างไร เสานี้จะต้องพยายามหาหลักสูตรการอบรมให้ความรู้แก่พนักงานเป็นหลัก เช่น วิชาช่างพื้นฐาน วิชาช่างชั้นสูง ฟิสิกส์ การวิเคราะห์ปัญหา ด้วยระบบต่างๆเช่น PDCA P-M Analysis เป็นต้น สุดท้ายแล้วเป้าของกิจกรรมเสานี้คือ การยกระดับความสามารถในทางเทคนิคของผู้ใช้เครื่องและช่างซ่อมบำรุง ตัวอย่าง kpi อาจจะใช้จำนวนหลักสูตรอบรมโดยเฉลี่ย หรือ % ของผู้เข้าอบรมที่ทำคะแนนในการเกินกว่าที่กำหนดเป็นต้น
  2. Autonomous Maintenance Pillar (AM) เป็นเสาการบำรุงรักษาด้วยตัวเอง เสานี้เปรียบได้กับเสาหลักของกิจกรรม TPM ตังชี้วัดหลังจากดำเนินกิจกรรมในเสานี้ พนักงาน(ผู้ใช้เครื่องและหัวหน้างานในสายการผลิต)จะต้อง
    1. สามารถการทำความสะอาดแบบตรวจสอบได้
    2. สามารถกำจัดจุดยากลำบากและแหล่งกำเนิดปัญหา
    3. มีการเตรียมมาตรฐานการบำรุงรักษาด้วยตัวเอง
    4. มีการตรวจสอบโดยรวม
    5. มีการตรวจสอบด้วยตัวเอง
    6. มีการจัดทำเป็นมาตรฐาน
    7. มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
8 เสาหลัก TPM อื่นๆ
  1. Safety and Enveronment Pillar (SE)
  2. Quality Maintanance Pillar(QM)
  3. Planned Maintenace Pillar(PM)
  4. Specific Improvement (SI)

TPM คืออะไร

Total Productive Maintenance หรือ TPM คืออะไร

ในภาคส่วนการผลิต

TPM คือระบบการบำรุงรักษาที่จะทำให้เครื่องจักรอุปกรณ์เกิดประโยชน์สูงสุด

TPM คือ การประยุกต์ใช้ PM เพื่อให้สามารถใช้เครื่องจักรได้ตลอดอายุการใช้งาน

TPM คือ ระบบการบำรุงรักษาของทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเครื่องจักรอุปกรณ์ ได้แก่ผู้วางแผนการผลิต ผู้ใช้เครื่อง และฝ่ายซ่อมบำรุง

TPM คือ ระบบการบำรุงรักษาที่อยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงผู้ใช้เครื่อง

TPM คือการทำให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำ PM ในลักษณะเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม

TPM แท้จริงแล้วมิใช่เครื่องมือในการบำรุงรักษา แต่ TPM เป็นปรัชญาในการบริหารการผลิตที่เน้นเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องในแนวคิดปละความสำคัญที่แท้จริงของ TPM เพื่อไปสู่ความสำเร็จในการทำ TPM

หากท่านผู้อ่านเคยเรียนรู้ TQM จะพบว่า การทำ TPM เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทำ TQM โดยกิจกรรมต่างๆในการทำ TPM จะดำเนินการผ่านกิจกรรมทั้งหมด 8 ส่วน ซึ่งจะนิยมเรียกกันว่า 8 เสาหลักของ TPM จะมีอะไรบ้าง มีลำดับในการทำก่อนหลังหรือไม่ KPIs ที่นิยมใช้วัดความสำเร็จของกิจกรรมทั้ง 8 เสาหลักนอกจากค่า OEE MTBF MTTR แล้วมีอะไรอีกบ้าง บทความต่อไปผมจะรวบรวม ตัวอย่าง kpi มาเสนอท่านผู้อ่านครับ

ปล. ข้อมูลบางส่วนของบทความนี้นำมาจาก หนังสือ TPM Total Productive Maintenance เขียนโดย ธานี อ่วมอ้อ สำนักพิมพ์ ซีเอ็ด ก็ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

หัวข้อ TPM ที่เกี่ยวข้อง

แนวคิด TPM ในสำนักงาน

Yahoo bot last visit powered by  Ybotvisit.com