วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

มารู้จักเสาเข็มไมโครไพล์ (Spun Micropile)

จากบทความข้อควรรู้สำหรับการต่อเติมบ้าน ซึ่งผมได้เน้นย้ำว่า ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงคือ การทรุดตัวของอาคารต่อเติม ซึ่งจะลุกลามไปถึงการร้าวของรอยต่อของอาคารเดิมและส่วนต่อเติม ส่งผลให้เกิดการรั่วของหลังคาส่วนต่อเติมกับอาคารเดิม การแก้ปัญหาต้องกลับไปแก้ไขที่ต้นเหตุ คือ การทรุดตัวของส่วนต่อเติม ส่วนใหญ่เกิดจากการไม่ใช้เสาเข็มหรือใช้เสาเข็มที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจจะเกิดจาก 
1. เจ้าของบ้านไม่ได้กันงบต่อเติมบ้านในส่วนของฐานราก ซึ่งค่อนข้างแพง
2. พื้นที่ต่อเติมค่อนข้างแคบทำให้ไม่สามารถนำเครื่องตอกเสาเข็มเข้าไปตอกได้
3. ความลึกในการตอกเสาเข็มน้อยเกินไป
4. เพื่อนบ้านไม่อนุญาตให้ตอกเสาเข็มเนื่องจากเกิดแรงสั่นสะเทิอนมากจนอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวบ้าน

ในบทความนี้จะขอแนะนำเสาเข็มแบบไมโครไพล์ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการต่อเติมบ้าน เนื่องจากเสาเข็มไมโครไพล์ตอบโจทย์ปัญหาที่ผมได้อธิบายมาข้างต้น โดยเสาเข็มไมโครไพล์เป็นเสาเข็มตอกขนาดเล็ก มีแรงสั่นสะเทิอนน้อยไม่ส่งผลต่ออาคารเดิมหรือบ้านข้างเคียง และมีเสียงต่ำขณะตอกเมื่อเทียบกับเสาเข็มชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานตอกในพื้นที่จำกัดได้ 
 
การใช้เสาเข็มไมโครไพล์ ควรปรึกษาผู้รับเหมาให้ละเอียด ในปัจจุบันมีผู้รับเหมาจำนวนมากรับตอกเสา่เข็มไมโครไพล์ โดยเริ่มต้นเราต้องปรึกษาการเลือกขนาดของเสาเข็มไมโครไพล์ที่เหมาะสมกับอาคารที่เราต้องการต่อเติม โดยเสาเข็มไมโครไพล์ในตลาดที่นิยมมีทั้งหมด 3 ขนาดคือ
1. I18 พท หน้าตัด 220 ตร ซม ขนาดหนัาตัด 18x18 cm ยาว 150 cm จะรับ นน ได้ 12-17 ตัน เหมาะสำหรับ งานพื้นทางเดิน ลานซักล้าง ห้องครัว อาคาร 1 ชั้น 
2. I22 พท หน้าตัด 340 ตร ซม ขนาดหนัาตัด 22x22 cm ยาว 150 cm จะรับ นน ได้ 25-30 ตัน เหมาะสำหรับ พื้นที่จอดรถ อาคาร 2 ชั้น พื้น รง 
3. I26 พท หน้าตัด 455 ตร ซม ขนาดหนัาตัด 26x26 cm ยาว 150 cm จะรับ นน ได้ 35-40 ตัน เหมาะสำหรับ  อาคาร 3-4 ชั้น

จากความยาวของเสาเข็มไมโครไพล์แต่ละต้นที่ไม่ยาวเกินไป ทำให้ใช้เครื่องตอกเสาเข็มที่มีขนาดไม่ใหญ่มากในการตอกจึงสามารถเข้าไปทำงานในพื้นที่ที่แคบๆได้และไม่ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนระหว่างการต่อก เรามาสรุปจุดเด่นของเสาเข็มไมโครไพล์กันครับ
1. สามารถตอกได้ลึก กว่า 20 เมตร (กทมและปริมณฑล ส่วนใหญ่จะตอกกันถึง 24 เมตร ทั้งนี้ตอกตรวจสอบอัตราการเคลื่อนตัวขณะตอกตามมาตรฐานการตอกเสาเข็มไมโครไพล์เพื่อหาความลึกที่เหมาะสม)
2. รับน้ำหนักได้มากกว่า 15 ตัน (ขึ้นอยู่กับขนาดของเสาเข็มไมโครไพล์) แนะนำให้ปรึกษาวิศวกร ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทผู้จำหน่ายเสาเข็มไมโครไพล์มักจะมีบริการให้ครับ ทั้งนี้ขนาดของเสาเข็มไมโครไพล์ที่เลือกใช้จะขึ้นอยู่กับ นน ของตัวอาคารที่ใช้งาน
3. ใช้พื้นที่ในการทำงานน้อยดังนั้นจึงไม่ต้องรื้อโครงสร้างเดิมออกได้ (กรณีเป็นงานปรับปรุง แก้ไขการทรุดตัว)
4. ลดปัญหาเสียงดังและแรงสั่นสะเทือนขณะทำงานซึ่งจะเกิดผลกระทบกับอาคารหรือบ้านเดิมและบ้านใกล้เคียง
5. ใช้เวลาในการตอกน้อยกว่าเสาแบบอื่นๆ

จากที่ได้อธิบายมานะครับ ผมยังขอยืนยันกับเจ้าของบ้านที่มีความประสงค์จะต่อเติมหรือเจ้าของบ้านที่พบปัญหาส่วนต่อเติมทรุดตัวลงว่าการเลือกใช้เสาเข็มไมโครไพล์จะแก้ปัญหาของท่านหรือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตได้นะครับ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องปรึกษาวิศวกรที่ออกแบบเพื่อเลือกขนาดของเสาเข็มไมโครไพล์ให้เหมาะสมที่สุดนะครับ แม้ว่าการตอกเสาเข็มจะเพิ่มงบประมาณในการต่อเติมแม้ว่าสิ่งต่อเติมของท่านอาจจะมีขนาดไม่ใหญ่มาก สวัสดีครับ 

 

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ข้อควรรู้สำหรับการต่อเติมบ้าน (renovate your home)

สวัสดีครับ บทความวันนี้ จะนำเสนอสิ่งที่ต้องทราบก่อนตัดสินใจต่อเติมบ้าน บ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮ้าส์ ที่เราทุกคนตัดสินใจเลือกซื้อ ไม่ว่าจะเป็นบ้านใหม่จากโครงการบ้านจัดสรรหรือเป็นบ้านมือสอง ส่วนใหญ่เจ้าของใหม่มักต้องการต่อเติมบ้านกันทั้งสิ้น หนึ่งในเหตุผลของการต่อเติมบ้านคือ ต้องการมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น แม้ว่า พื้นที่ของตัวบ้านหรือทาวน์เฮ้าส์ ที่โครงการออกแบบมาโดยส่วนใหญ่ หากพิจารณาตามกฎหมายจะไม่สามารถต่อเติมบ้านได้แล้ว แต่โดยปกติเจ้าของบ้านทั้งหลายก็ยังมีความต้องการจะต่อเติมบ้านกันอยู่ บทความนี้เราจะแนะนำเทคนิคการต่อเติมบ้านในแง่ของกฎหมายและในเชิงวิศวกรรมหลักๆที่ ผมเคยประสพมานะครับ ผมขอแยก ออกเป็น 2 หลักที่ต้องพิจารณานะครับ
1. หลักกฎหมาย 
กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการกำกับ คือ พรบ ควบคุมอาคาร ที่จะกำหนดให้บ้านหรือสิ่งปลูกสร้างมีระยะห่างจากอาคารอื่นๆ เพื่อไม่ให้รบกวนบุคคลอื่นและสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าของบ้านเองครับ เนื้อหาของ พรบ จะกำหนดระยะห่างของอาคารไว้ ซึ่งร้อยทั้งร้อย โครงการบ้านจัดสรร ที่สร้างบ้านให้เรากำหนดระยะไว้คชตาม พรบ นี้ ครับ ดังนั้น การต่อเติมบ้านออกไป ไม่ว่าจะเป็น ห้องครัวหลังบ้าน ห้องซักล้าง พื้นที่ที่ต้อเติม ผิด พรบ แน่นอน ครับ แต่ส่วนใหญ่ เราจะใช้วิธีเจรจากับเจ้าของบ้าน พื้นที่ใกล้เคียงของเรา ซึ่งหาก เจ้าของบ้าน ื้นที่ใกล้เคียง มีแผนจะต่อเติมเช่นกัน การเจรจาขออนุญาตก็จะง่ายครับ ดังนั้น ในหลักกฎหมายข้อนี้ ผมแนะนำให้ไปดู พรบ ควบคุมอาคาร และ ขออนุญาตเจ้าของ พื้นที่ใกล้เคียงครับ  

2. เทคนิคเชิงวิศวกรรม
อันดับแรกขอให้เข้าใจก่อนว่า ทุกสิ่งปลูกสร้างมีการทรุดตัวอยุ่ตลอดเวลา แม้ว่าจะตอกเสาเข็มหรือไม่ก็ตาม ขึ้นอยู่กับว่าจะมากหรือน้อย แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ (ในพื้นที่ กทม และปริมณฑล จะมีการทรุดตัวงค่อนข้างสูง) ดังนั้นการต่อเติมบ้านเข้าไปกับบ้านเดิม ย่อมเกิดการแยกออกจากกันระหว่างอาคารได้เสมอ เนื่องจากบ้านเดิมตั้งอยู่บนเสาเข็มที่ตอกไปแล้วซึ่งอาจมีการทรุดบ้างแต่น้อย แต่ส่วนต่อเติมบ้าน เช่นครัวหลังบ้าน หากไม่ได้ตอกเสาเข็ม อาจจะทรุดตัวลงปีละ 3 ซม ซึ่งจะก่อให้เกิดรอยแตกร้าวอย่างแน่นอน ดังนั้นในทางวิศวกรรมที่พอจะทำได้คือ การป้องกันไม่ให้รอยร้าวนั้นก่อให้เกิดปัญหา โดยจุดของการต่อเติมบ้านที่มักจะเกิดปัญหาทรุดตัว แยกตัว แตกร้าวได้แก่ รอยผนังแยกตัวออกจากบ้านเดิม รอยรั่วจากรอยต่อหลังคา และรอยร้าวตรงมุมประตู หน้าต่าง เป็นต้น
    การป้องกันรอยแตกร้าวที่เป็นผลจากการต่อเติมบ้าน คือ ต้องตอกเสาเข็มในสวนต่อเติมบ้านเพื่อให้อาคารต่อเติมทรุดตัวไม่มากเกินไปหรือให้ใกล้เคียงกับตัวบ้านเดิม ซึ่งจะให้รอยแตกร้าวเกิดขึ้นช้าลงหรือรอยแตกร้าวมีขนาดไม่ใหญ่เกินไปจนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ เช่น หลังคารั่ว เป็นต้น โดยใน กทม ผมแนะนำให้ตอกลึก 18 - 24 เมตร ซึ่งแน่นอนว่าการตอกเสาเข็มจะทำให้งบการต่อเติมของท่านสูงขึ้น แต่ในระยะยาวผมถือว่าคุ้มค่าไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาบ้านรั่ว ฝ้าเสียหายในอนาคต ในปัจจุบันในการต่อเติมบ้านนิยมใช้เข็มเจาะแบบไมโครไพล์  (Micropile)เป็นส่วนใหญ่ขนาดหน้าตัดของเสาเข็ม อาจต้องให้วิศวกรของบริษัทผู้จำหน่ายไมโครไพล์ช่วยคำนวณรวมถึงความลึกของการตอก 
    จากประสพการณ์ของผมที่ต่อเติมบ้านมา 2 ครั้ง คือครัวหลังบ้าน และออฟฟิศข้างบ้าน โดยครัวหลังบ้านไม่ได้ตอกเสาเข็ม หลังต่อเติมได้เพียง 1 เดือน รอยต่อหลังคาครัวหลังบ้าน ที่ต่อเติมเกิดรั่ว น้ำไหลลงอยากหนัก ซึ่งสาเหตุเกิดจากส่วนต่อเติมห้องครัวเกิดการทรุดตัวอย่างมาก ต่อมา อีก 6 เดือน ประตูบานเลื่อนก็เริ่มปิดไม่ได้เนื่องจากพื้นทรุดจนประตูและกรอบไม่ได้ระนาบ
    ปัญหาหลังคาส่วนต่อเติมรั่วบริเวณรอยต่อระหว่างบ้านเดิมและหลังคาส่วนต่อเติมเป็นปัญหาคลาสิค พบเจอกันทุกบ้านที่ต่อเติม การป้องกันรอยรั่วตรงรอยต่อระหว่างบ้านเก่าและหลังคาส่วนต่อเติม โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ Flashing เป็นตัวเชื่อม โดยให้ดำเนินการดังนี้

1. กรีดช่องผนังฉาบ (อาคารเดิม) ให้เป็นร่องตลอดแนวหลังคา
2. ติดตั้งแผ่น Flashing ขั้นตอนนี้สำคัญมากครับ ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ชอบประหยัดต้นทุนส่วนนี้ โดยใช้แผ่น Flashing ที่มีความกว้างน้อยเกินไป ซึ่งหากเจอฝนสาดแรวๆ น้ำฝนจะไหลย้อนไปที่รอยต่อได้อีกทาง ดังนั้นขนาดความกว้างของแผ่น Flashing จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องตรวจให้ละเอียดก่อนรับงาน
3. อุดร่องผนังและร่องระหว่างหลังคาด้วย โพลียูรีเทน โดยเมื่อส่วนต่อเติมบ้านเกิดการทรุด จะทำให้เกิดช่องว่างที่จะทำให้น้ำฝนสาดเข้าตัวอาคารที่ต่อเติมได้

เอาละครับจากบทความนี้นะครับ ผมขอสรุปสั้นๆ ไว้ 2 ประเด็น คือ 
1. ก่อนต่อเติมบ้าน ขออนุญาตเพื่อนบ้านก่อนเสมอ และแจ้งนิติบุคคลของหมู่บ้านด้วยนะครับ
2. ส่วนต่อเติมต้องตอกเสาเข็มเพื่อให้อาคารที่ต่อเติมทรุดตัวน้อยที่ทรุด ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการแตกร้าวและปัญหาคลาสิค น้ำรั่วรอยต่ออาคาร และผมแนะนำเสาเข็มแบบไมโครไพล์ ครับ


             


Yahoo bot last visit powered by  Ybotvisit.com