วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Excel Tips : ตอนการลบข้อมูลที่ซ้ำกันออกจากรายการ

บทความการใช้ excel บทความสุดท้ายของปี 2555 นี้ผมจะขอนำเสนอ excel tips เรื่องการลบข้อมูลที่ซ้ำกันออกจากรายการ ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นปัญหาหนึ่งของผู้ใช้งาน excel ที่ต้องพบอยู่เป็นประจำครับ ยกตัวอย่างเช่น ในคอลัมน์ B แสดงรายชื่อลูกค้าของบริษัทหนึ่งดังแสดงในภาพที่ 1 โดยพบว่าในรายการชื่อลูกค้าดังกล่าวมีชื่อลูกค้าที่ซ้ำกันอยู่ หากต้องการลบชื่อลูกค้าที่ซ้ำกันออกไปเพื่อให้เหลือข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียวเราจะเริ่มดำเนินการดังนี้

ภาพที่ 1 รายการข้อมูล รายชื่อลูกค้า

1 ให้ท่านทำการเรียงข้อมูลในหลัก Bใหม่โดยเลือก CELL B2 - B16 และคลิกเมาส์ขวาเลือกคำสั่ง เรียงลำดับ เลือก เรียงลำดับจาก ก ถึง ฮ จะได้ผลดังแสดงในภาพที่ 2


ภาพที่ 2 ผลการจัดเรียงรายการข้อมูล

2. พิมพ์สูตร excel ใน cell C3 ดังนี้ =B2=B3 ดังแสดในภาพที่ 3 เพื่อตรวจสอบข้อมูลซ้ำกับข้อมูลถัดไป (ผลลัพธ์เป็น TRUE หรือ FALSE) โดยหากข้อมูลซ้ำกันจะแสดงผลเป็น TRUE 


ภาพที่ 3 สูตร excel สำหรับตรวจสอบการซ้ำกัน

3. สำเนาสูตร excel ลงไปใน cell C3 - C16 จะได้ผลดังแสดงในภาพที่ 4


ภาพที่ 4 ผลการคำนวณด้วยสูตร excel

4. ทำการกรองข้อมูลในรายการโดยพิจารณาข้อมูลในหลัก C โดยเลือกแสดงข้อมูลที่เป็น TRUE ดังนี้
      4.1 เลือกเซลล์ C1 เลือกเมนู ข้อมูล เลือกคำสั่ง ตัวกรอง...
      4.2 เลือกแสดงข้อมูลที่เป็น TRUE ดังแสดงในภาพที่ 5 
      4.3 คลิกปุ่มตกลง excel จะแสดงข้อมูลที่หลัก C มีค่าเป็น TRUE ดังแสดงในภาพที่ 6


ภาพที่ 5 การใช้ ตัวกรอง ใน excel


ภาพที่ 6 ผลการใช้ตัวกรอง ใน excel

5. ทำการลบข้อมูลในแถวที่แสดงดังกล่าว โดยใช้คำสั่ง Delete Row
6. ทำการยกเลิกคำสั่งตัวกรองและเคลียร์สูตร excel ในหลัก C จะได้รายการข้อมูลที่ไม่ซ้ำกันดังแสดงในภาพที่ 7


ภาพที่ 7 ผลการลบข้อมูลที่ซ้ำกันใน excel

ท่านผู้อ่านจะพบว่าการกำจัดข้อมูลที่ซ้ำกันในรายการข้อมูลมีการทำงานที่เป็นขั้นเป็นตอน ดังนั้นในการใช้งานจริงๆต่อให้ท่านมีจำนวนข้อมูลเป็นพันๆหมื่นๆหลายการเราก็สามารถใช้ excel กำจัดข้อมูลที่ซ้ำกันเหล่านั้นได้โดยง่ายครับ พบกันใหม่ปีหน้า สวัสดีปีใหม่ 2556 ซึ่ง blog เราจะมีอายุสามปีแล้วครับ ซึ่งเราจะปรับปรุงและนำบทความเกี่ยวกับการใช้งาน excel ที่มีประโยชน์ มานำเสนอท่านผู้อ่านเพื่อนำการใช้งาน excel ไปประยุกต์ใช้กับงานของทุกท่านครับ 




วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Excel tips ตอนการสร้างรายการข้อมูล (Drop down list) ที่มีรายการย่อย (Sub data)

Excel Tips ในบทความนี้จะนำเสนอวิธีการสร้างรายการข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน (รายการย่อย) ยกตัวอย่างการใช้งาน เช่น รายชื่ออำเภอ ที่ต้องสัมพันธ์กับจังหวัดที่เลือก การกำหนดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายเพื่อให้สะดวกในการเลือกรายการ การสร้างแบบฟอร์มใบแจ้งหนี้ และใบเสนอราคาซึ่งต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างหมวดหมู่สินค้า เป็นต้น การสร้างรายการข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เหล่านี้ทำได้ไม่ยากในการใช้ excel โดยเราจะอาศัยสูตรใน excel : Indirect ในการอ้างถึงรายการย่อย ส่วนการสร้างรายการข้อมูลใน excel ยังคงใช้ Data validation เช่นเดิม ขอยกตัวอย่างการสร้างรายการค่าใช้จ่ายสำหรับลงบัญชีรายรับรายจ่าย ดังแสดงในภาพที่ 1
ภาพที่ 1 ตัวอย่างข้อมูลใช้ใน excel
 
จากภาพที่ 1 พบว่ารายการหลักคือ ประเภทค่าใช้จ่าย มี 4 รายการคือ ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าการศึกษา และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในขณะที่ในแต่ละรายการหลักมีรายการย่อย ตัวอย่างเช่น ค่าอาหาร มีรายการย่อยคือ MK เป็นต้น ในลำดับถัดไปเราจะทำการสร้างรายการข้อมูล โดยเมื่อผู้ใช้เลือกรายการหลักแล้ว ในรายการย่อยจะปรากฏรายการย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน ทำให้ลดความผิดพลาดของการเลือกและบันทึกข้อมูลได้
การสร้างรายการข้อมูลหลัก
สมมุติให้รายการข้อมูลหลักถูกกำหนดขึ้นในเซลล์ A10 เราจะดำเนินการดังภาพที่ 2 โดยในส่วนของ Source จะเขียนสูตร excel ได้เป็น =$B$2:$E$2
 
ภาพที่ 2 การสร้างรายการข้อมูลหลักใน excel
 
การสร้างรายการข้อมูลย่อย
เริ่มจากใช้ excel สร้างชื่อข้อมูลแบบคงที่ให้กับรายการข้อมูลย่อยแต่ละรายการ โดยกำหนดชื่อข้อมูลเป็นชื่อรายการหลัก ตัวอย่างเช่น สร้างชื่อข้อมูลแบบคงที่ของค่าเดินทาง การกำหนดชื่อข้อมูลใน excel แสดงได้ดังภาพที่ 3
 
 
ภาพที่ 3 การสร้างชื่อข้อมูลใน excel
ทำนองเดียวกัน
ค่าอาหาร ก็จะกำหนดชื่อข้อมูลเป็น ค่าอาหาร สูตร excel อ้างถึง $C$3
ค่าการศึกษา ก็จะกำหนดชื่อข้อมูลเป็น ค่าการศึกษา สูตร excel อ้างถึง $D$3:$D$4
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ก็จะกำหนดชื่อข้อมูลเป็น ค่าใช้จ่ายอื่นๆ สูตร excel อ้างถึง $E$3:$E$4
ใช้ excel กำหนดความถูกต้องของข้อมูลใน B10 เพื่อกำหนดรายการข้อมูลย่อย ดังแสดงในภาพที่ 4
โดยกำหนดสูตร excel ในแหล่งข้อมูลเป็น =Indirect($A$10) ซึ่งหมายถึงให้อ้างชื่อข้อมูลจากรายการหลักนั่นเอง
 
ภาพที่ 4 การสร้างรายการข้อมูลย่อยใน excel
ผลการรันสูตรใน excel เพื่อช่วยเลือกรายการข้อมูลแสดงได้ดังภาพที่ 5
 
ภาพที่ 5 ผลการรันสูตร excel เพื่อแสดงการเลือกรายการย่อย
มาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านก็สามารถสร้างรายการข้อมูลที่สัมพันธ์กันได้แล้ว โดยหากท่านต้องการเพิ่มข้อมูลย่อย ก็สามารถทำได้โดยการเพิ่มในแถวลำดับถัดไปจากข้อมูลตัวล่าสุด แต่ต้องจำไว้ว่าทุกครั้งที่มีการเพิ่มข้อมูลท่านผู้อ่านจะต้องทำการแก้ไขสูตร excel การอ้างถึง ในรายการย่อยที่ปรับปรุง ตัวอย่างเช่น เพิ่มรายการย่อยค่าอาหารอีก 2 รายการคือ ร้านข้าวต้ม และ โคขุน ใน C4 และ C5 ตามลำดับ ท่านจะต้องแก้ไขสูตร excel สำหรับการอ้างถึงในข้อมูลคงที่ชื่อค่าอาหารจาก $C$3 เป็น $C$3:$C$5 เป็นต้น  สำหรับการปรับปรุงสูตร excel เพื่อให้รายการข้อมูลย่อยมีการอัพเดตข้อมูลแบบไดนามิกส์จะนำเสนอในโอกาสต่อไปครับ สวัสดีครับ
 
 
 


 

 

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การใช้ excel ประมาณค่าในช่วงข้อมูลแบบเชิงเส้น (Linear Interpolation) -1

การใช้ excel ในบทความนี้จะนำเสนอการใช้ excel ช่วยประมาณค่าในช่วงข้อมูล โดยวิธีการประมาณค่าในช่วงแบบเชิงเส้น (Linear Interpolation) เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูง  ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เช่น การทดลองหาสมบัติทางเทอร์โมไดนามิกส์มักให้ผลลัพธ์ในลักษณะของสมบัติที่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดันของของไหลนั้น สมบัติทางเทอร์โมไดนามิกส์ซึ่งได้จากการทดลองเหล่านี้เป็นสมบัติของของไหลเพียงบางอุณหภูมิหรือบางความดันเท่านั้น มีบ่อยครั้งทีเดียวที่วิศวกรต้องการทราบสมบัติเหล่านี้ที่ตำแหน่งอุณหภูมิหรือความดันอื่นๆ ซึ่งต่างไปจากอุณหภูมิหรือความดันที่ทำการทดลองมา วิธีการประมาณค่าในช่วง(Interpolation) จึงได้ถูกนำไปใช้ในการคำนวณเพื่อหาสมบัติทางเทอร์โมไดนามิกส์ตามอุณหภูมิหรือความดันที่อยู่นอกเหนือจากที่วัดได้จากการทดลอง โดยแนวคิดของการประมาณค่าในช่วงแบบเชิงเส้น มีดังนี้
พิจารณาฟังก์ชัน f(x) สำหรับใช้ประมาณค่าในช่วงแบบเชิงเส้นสามารถสร้างขึ้นได้จากข้อมูล ข้อมูล ที่ตำแหน่ง x0 และ x1 สมมุติว่าต้องการหาค่า vg ที่ตำแหน่ง อุณหภูมิ ใดๆ ในช่วงระหว่าง 2 ตำแหน่งนี้ โดยทราบค่าของ vg ที่ 2 ตำแหน่งนี้ เช่น ที่ x0 = 30 องศา และที่ x1 = 35 องศา ค่าของ vg ที่สองตำแหน่งนี้เท่ากับ vg(30) = 32.89 mm^3/kg และ vg(35) = 25.22 mm^3/kg วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการลากเส้นตรงเชื่อมต่อจุดทั้งสองนี้เข้าด้วยกัน และจากสมการเส้นตรงนี้เองทำให้สามารถประมาณค่า vg ที่ อุณหภูมิ ใดๆในช่วงนี้ได้ ดังแสดงในภาพที่ 1 


ภาพที่ 1 แนวคิดการประมาณค่าในช่วงแบบเชิงเส้น

จากแนวคิดการประมาณค่าในช่วงแบบเชิงเส้น เราสามารถประยุกต์ใช้กับ excel ได้ โดยจะแบ่งการใช้สูตรใน excel ออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
การหาค่าภายในช่วง
เราจะใช้สูตรใน excel : TREND ซึ่งได้นำเสนอวิธีการใช้งานไปแล้วในเรือง การใช้ excel สร้างกราฟเส้นตรง  โดยสูตร excel : TREND นั้นจะคืนค่า Y กลับ เมื่อเรากำหนดข้อมูล x , และ y ที่ทราบ และกำหนดค่า x ในตำแหน่งที่ต้องการทราบ โดยข้อมูล  x , และ y ที่ทราบต้องมีไม่ต่ำกว่า 2 จุด ในการประยุกต์กับการ ประมาณค่าในช่วงแบบเชิงเส้น (Linear Interpolation) จะใช้ข้อมูล x และ y เพียง 2 จุด ซึ่งอยู่ระหว่าง ค่า x ที่ต้องการทราบค่า y  (ค่า x0,y0 และ x1,y1 ตามภาพที่ 1) เท่านั้น ขอให้ท่านนึกถึงความเป็นจริง หากเรามีชุดข้อมูล x และ y เป็นจำนวนมากเรียงกันเป็นตาราง เมื่อผู้ใช้กำหนดค่า x ที่ต้องการหาค่า y ขึ้นมาคำถามคือแล้ว ค่า  x0,y0 และ x1,y1 ที่เป็นขอบเขตบนและล่าง จะคำนวณหาได้อย่างไร คำตอบอยู่ในส่วนที่ 2 ครับ
เราจะใช้สูตรใน excel : INDEX และ MATCH ช่วยในการหาค่า  x0,y0 และ x1,y1 เมื่อผู้ใช้กำหนดค่า x ขึ้นมา 
ผมขอยกตัวอย่างตารางข้อมูลเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นครับ ตามภาพที่ 2


ภาพที่ 2 ตารางข้อมูล (ค่าแกน x ต้องเรียงจากน้อยไปหามาก)

สมมุติเราต้องการทราบค่า Sat. Pressure ที่อุณหภูมิ 33 องศา (ซึ่งเราทราบได้ทันทีจากตารางว่าต้องใช้ x0 = 30 และ  x1 = 35 ) เราจะมาใช้สูตรใน excel เพื่อช่วยหาค่า x0 และ x1 
โดยเราจะใช้สูตร excel : MATCH ในการหาตำแหน่ง  x0 และ x1 และใช้สูตร excel : INDEX แสดงค่า x0,y0 และ x1,y1 

สมมุติให้กำหนดค่า x ที่ต้องการทราบค่า y ใน A17 ค่า x0,y0 แสดงใน A14,B14 และ ค่า  x1,y1 แสดงใน A15,B15 ตามลำดับเราจะเขียนสูตร excel ได้ดังนี้
สูตร excel ใน A14 =INDEX($A$4:$A$10,MATCH($A$17,$A$4:$A$10,1))
สูตร excel ใน B14 =INDEX($B$4:$B$10,MATCH($A$17,$A$4:$A$10,1))
สูตร excel ใน A15 =INDEX($A$4:$A$10,MATCH($A$17,$A$4:$A$10,1)+1)
สูตร excel ใน B15 =INDEX($B$4:$B$10,MATCH($A$17,$A$4:$A$10,1)+1)

สุดท้ายใช้สูตร excel : TREND คำนวณหาค่า y ตามค่า x ที่กำหนดไว้ สมมุติให้แสดงค่า y ที่ B17
สูตร excel ใน B17 =TREND($B$14:$B$15,$A$14:$A$15,A12) 
ในกรณีที่ต้องการประมาณค่า vf vg เพิ่มเติมก็สามารถทำได้โดยง่าย โดยเพิ่มสูตร excel ในหลัก C และ D ดังนี้
สูตร excel ใน C14 =INDEX($C$4:$C$10,MATCH($A$17,$A$4:$A$10,1))

สูตร excel ใน D14 =INDEX($D$4:$D$10,MATCH($A$17,$A$4:$A$10,1))
สูตร excel ใน C15 =INDEX($C$4:$C$10,MATCH($A$17,$A$4:$A$10,1)+1)

สูตร excel ใน D15 =INDEX($D$4:$D$10,MATCH($A$17,$A$4:$A$10,1)+1)


และใช้สูตรใน excel : TREND คำนวณหาค่า y ตามค่า x ที่กำหนดไว้
สูตร excel ใน C17 =TREND($C$14:$C$15,$A$14:$A$15,A17) 
สูตร excel ใน D17 =TREND($D$14:$D$15,$A$14:$A$15,A17) 

ผลการประมาณค่าภายในช่วงแบบเชิงเส้น แสดงได้ดังภาพที่ 3


ภาพที่ 3 ผลการใช้สูตร excel ประมาณค่าในช่วงแบบเชิงเส้น

ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าจากรูปแบบการคำนวณที่เรากำหนดขึ้น เราสามารถใช้ความรู้เรื่องการสร้างข้อมูลแบบไดนามิกส์มาช่วยในการอัพเดตข้อมูลในตารางของเราในกรณีมีผลการทดลองเพิ่มขึ้นอีกเพื่อให้การใช้งานมีความยืดหยุ่นแต่ต้องระวังเรื่องการจัดเรียงข้อมูลที่ต้องเรียงจากน้อยไปหามาก  นอกจากนี้หากมีหัวข้อเพิ่มขึ้นเราก็ยังใช้หลักการเดิมช่วยประมาณการได้อีก และค่าที่ได้จากการประมาณการเหล่านี้ก็สามารถนำไปใช้งานได้อีกครับ จากตัวอย่างที่ได้นำเสนอในหัวข้อนี้เป็นการประมาณการภายในแบบ 1 มิติ ซึ่งเป็นฟังก์ชันของ 1 ตัวแปร แต่หากค่าสมบัติที่ต้องการเป็นแบบ 2 มิติเราจะใช้ excel ช่วยคำนวณอย่างไร เรามาดูกันในบทความต่อไปครับ สวัสดีครับ










วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การใช้ excel คำนวณหาตนุลัคน์และตำแหน่งดวงดาวเจ้าของเรือนชะตา

การใช้ excel ช่วยคำนวณทางโหราศาสตร์หรือการช่วยผูกดวงชะตาในบทความนี้จะเป็นเรื่องต่อจาก การใช้ excel หาตำแหน่งเรือนชะตา ซึ่งได้กล่าวทิ้งท้ายถึงเรื่องตนุลัคน์หรือตัววาสนาของเจ้าดวงชะตา และดาวเจ้าของของเรือนชะตาต่างๆ  เหมือนที่กล่าวมาแล้วว่า โหราศาสตร์เป็นศาสตร์ของการใช้สถิติของดวงดาว ดังนั้นในบทความนี้จะขอกล่าวถึงการหาดาวเจ้าของเรือนชะตาและเมือทราบดาวเจ้าของเรือนชะตาแล้ว เราจะถือว่าดาวเจ้าของเรือนตนุ คือ ตนุลัคน์ของเจ้าดวงชะตานั้น ดวงดาวในทางโหราศาสตร์มี 10 ดวงหลักๆ โหราศาสตร์สมัยใหม่อาจจะมีมากกว่านั้นเนื่องจากเพิ่งมีการค้นพบภายหลัง แต่เนื่องจากเป็นการค้นภพที่ไม่นานมาก การเก็บสถิติเพื่อนำมาเป็นหลักในการทำนายดวงชะตาจึงอาจมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง ดังนั้นในบทความนี้จะกล่าวถึงดวงดาว 10 ดวงดังนี้
อาทิตย์ ๑ จันทร์ ๒ อังคาร ๓ พุธ ๔ พฤหัสบดี ๕ ศุกร์ ๖ เสาร์ ๗ ราหู ๘ เกตุ ๙ มฤตยู ๑o โดยความหมายของดาวทั้ง 10 สามารถดูได้ เพิ่มเติมที่นี่  ตำแหน่งของดาวเจ้าของเรือนชะตาจะอ้างอิงจากตำแหน่งของดาวเกษตร ดาวเกษตร หมายถึง ความมั่นคง,ความยั่งยืน,ความเป็นปึกแผ่นตำ แหน่งดาวเกษตรไม่ได้ขึ้นอยู่กับ วันเดือนปีเกิดหรือเวลาเกิดของเจ้าชะตา แต่เป็นกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน โดยจะอ้างอิงกับราศีต่างๆดังแสดงในภาพที่ 1 

ภาพที่ 1 ตำแแหน่งของดาวเกษตร
ดังนั้นเมื่อทาบจักราศีซึ่งวางตำแหน่งเรือนชะตาไว้แล้ว ลงไปเราก็จะทราบดาวเจ้าของเรือนชะตาโดยอัตโนมัติ และเมือมองไปที่เรือน ตนุ ก็จะทราบตนุลัคน์ ของเจ้าดวงชะตาทันที ดังนั้นจาก ดวงชะตาที่เรายกตัวอย่างในบทความที่ผ่านมา เราพบว่า เรือนตนุอยู่ราศี ธนู ดังนั้น ตนุลัคน์ก็คือ ดาวพฤหัสบดี ๕ นั่นเอง จากหลักการดังกล่าว เราสามารถใช้ excel คำนวณหาดวงดาวเจ้าของเรือนได้เช่นกัน โดยก่อนอื่นเราต้องเพิ่มข้อมูล ตำแหน่งดาวเกษตรลงในตารางราศีก่อนดังภาพที่ 2


ภาพที่ 2 ตารางข้อมูลราศีใน excel

เราสามารถใช้สูตรใน excel : VLOOKUP ช่วยคำนวณตำแหน่งดาวเจ้าเรือนชะตาได้ ทันที ดังนี้
สมมุติสูตร excel ในเรือน ตนุ (C10)
=VLOOKUP(B10,$J$2:$M$13,3,FALSE)
เมื่อ copy สูตร excel ดังกล่าวลงในเรือนอื่นๆ (C11 - C21) จะได้ตำแหน่งของดาวเจ้าเรือนชะตาและตนุลัคน์ ดังภาพที่ 3 และเมื่อเขียนลงในจักราศีจะได้ดังภาพที 4


ภาพที่ 3 การคำนวณด้วยสูตร excel แสดงตำแหน่งดาวเจ้าของเรือนชะตาต่างๆ


ภาพที่ 4 จักราศีแสดงตำแหน่งเรือนชะตาและดาวเจ้าเรือน

ถึงตอนนี้เราก็พอจะทำนายดวงชะตาได้แล้ว โดยมุ่งไปที่ตุนลัคน์ของเจ้าชะตาครับ แต่ตอนนี้ยังขาดตำแหน่งดวงดาวอีก 9 ดวง ของเจ้าชะตาที่เราจะต้องวางลงในจักราศี ซึ่งจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการผูกดวงก่อนจะทำนายดวงเดิมของเจ้าชะตาครับ โดยตำแหน่งของดวงดาวเหล่านั้นจะขึ้นอยู่กับ วันเดือน ปีเกิดของเจ้าชะตา ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรขอยกไปที่บทความต่อไปครับ ส่วนการใช้ excel จะใช้สูตรใน excel : VLOOKUP เพียงตัวเดียวก็เพียงพอ เพียงแต่ต้องเพิ่มดาวเกษตรลงในตารางข้อมูลราศีเท่านั้น


บทความที่เกี่ยวข้อง





การใช้ excel ช่วยคำนวณตำแหน่งเรือนชะตา(ภพ)ในจักราศี

การใช้ excel ในบทความนี้จะขอเสนอต่อเนื่องจาก บทความ การใช้ excel ช่วยคำนวณหาตำแหน่งลัคนา ซึ่งเราจะได้ตำแหน่งราศีที่ลัคนาสถิตไปครับ ในลำดับถัดไปเราจะวางตำแหน่งเรือน(ภพ)ในดวงชะตาในราศีต่างๆเพื่อใช้ในการทำนายดวงชะตาต่อไปครับ ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าเรือนหรือภพในโหราศาสตร์ไทยมีทั้งหมด 12 เรือนดังนี้

1 ตนุ   
2 กดุมภะ
3 สหัสชะ
4 พันธุ
5 ปุตตะ
6 อริ
7 ปัตนิ
8 มรณะ
9 ศุภะ
10 กัมมะ
11 ลาภะ
12 วินาสน์

โดยความหมายของแต่ละเรือนสามารถดูได้ที่นี่ครับ ซึ่งในทางโหราศาสตร์จะใช้ดูเหตการณ์ที่จะเกิดขึ้นหรือวาสนาของเจ้าดวงชะตา เช่น หากต้องการดูเรื่องการเงินก็ต้องเริ่มดูจากเรือน กดุมภะ เป็นต้น
การวางตำแหน่งเรือนชะตาสามารถทำได้ทันทีเมื่อทราบลัคนากำเนิด โดยจะเริ่มวางภพแรก(ตนุ) ตรงราศีที่ลัคนาเกิดสถิตอยู่ ภพตนุ เป็นเรื่อง ตัวตนของเจ้าดวงชะตา จากนั้นก็วางภาพที่ 2 3 จนถึง 12 ไปตามจักราศีในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เราก็จะทราบตำแหน่งของเรือนชะตาได้ทั้งหมด จากหลักการดังกล่าว หากเราใช้สูตรใน excel ช่วยก็สามารถทำได้โดยง่าย โดยตำแหน่งของเรือนชะตาต่างๆ สามารถหาได้จาก บวกลำดับประจำเรือนชะตากับลำดับของราศีที่ลัคนาสถิตอยู่และหารเอาเศษเศษที่ได้จะเป็นลำดับของราศีซึ่งเรือนชะตาสถิตอยู่ จากรูปแบบของไฟล์ excel ที่ได้นำเสนอมา เราจะเพิ่มเติมในส่วนของรูปแบบแสดงตำแหน่งของเรือนชะตา ดังแสดงในภาพที่ 1



ภาพที่ 1 รูปแบบการแสดงข้อมูลใน excel

การหาตำแหน่งของราศีจะใช้สูตรใน excel : MATCH ค้นหาจากข้อมูลราศีที่ลัคนาสถิต(B7) โดยสามารถเขียนเป็นสูตร excel ได้ดังนี้ 

MATCH($B$7,$J$2:$J$13,0)-1 โดย $J$2:$J$13 คือรายการชื่อราศี

ตำแหน่งแถวของเรือนตนุ เราสามารถหาได้จากสูตรใน excel : row โดยสามารถเขียนสูตร excel ได้ดังนี้
ROW(A10)-9   ซึ่งจะคืนค่าลำดับที่ 1 กลับมา
ดังนั้นเราสามารถเขียนสูตร excel หาราศีที่เรือนชะตาต่างๆสถิตอยู่ได้ดังนี้ (สมมุติเป็นเรือน ตนุ)

MOD(IFERROR(MATCH($B$7,$J$2:$J$13,0),"")+ROW(A10)-10,12) ซึ่งจะคืนค่าลำดับที่ 8 กลับมา 

เราสามารถแสดงรายชื่อราศีได้โดยใช้สูตรใน excel : INDEX ดังนี้

INDEX($J$2:$J$13,MOD(IFERROR(MATCH($B$7,$J$2:$J$13,0),"")+ROW(A10)-10,12)) 
ซึ่งจะคืนค่า ธนู กลับมา

เราสามารถ copy สูตร excel ลงไปใน cell B11 - B21 เพื่อหาตำแหน่งเรือนชะตาทั้งหมด ผลการคำนวณด้วยสูตร excel แสดงได้ดังภาพที่ 2 ข้อสังเกต จะพบว่าลำดับราศีจะเรียงกันไปตามทิศทางทวนเข็มนาฬิกา ตำแหน่งของเรือนชะตาที่สถิตอยู่ตามราศีต่างๆสามารถแสดงในจักราศีได้ดังภาพที่ 3 (ชื่อเรือนชะตาอาจแตกต่างกันบ้างเนื่องจากอ้างอิงกันหลายตำรา)


ภาพที่ 2 ตำแหน่งเรือนชะตาในราศีที่ได้จากการคำนวณด้วย excel


ภาพที่ 3 ตำแหน่งเรือนชะตาในจักราศี

จากที่ได้นำเสนอไป ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า การคำนวณตำแหน่งของเรือนชะตาจะเกี่ยวข้องกับการใช้สูตรใน excel หาตำแหน่งหรือค้นหาประเภท INDEX ,MATCH และ ROW เราสามารถนำสูตรใน excel เหล่านี้ไปประยุกต์กับงานด้านอื่นๆได้ครับ  ในส่วนของโหราศาสตร์ ราศีที่เรือนชะตาต่างๆเข้าสถิตมีความสำคัญและมีผลต่อการพยากรณ์แต่อย่างไรก็ตามตำแหน่งดวงดาวที่ประจำราศีก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากดวงดาวที่ประจำในแต่ละราศีในแต่เรือนชะตาจะถูกนำไปประกอบเป็นคำทำนายจากเหตุไปหาผลที่จะเกิดขึ้น โดยจะยึดเอาตำแหน่งของดวงดาวเป็นสำคัญ ในบทความต่อไปผมจะนำเสนอ การบอกตำแหน่งดวงดาวเจ้าเรือนชะตาและจะพาท่านผู้อ่านไปรู้จัก ตนุลัคน์ ซึ่งเป็นดาวเจ้าเรือนที่ลัคนาสถิตอยู่ เป็นตำแหน่งที่ใช้บอก ชีวิตของเจ้าชะตาและอนาคตที่เป็นไป อาจจะเรียกว่า ตนุลัคน์คือ ตัววาสนา ก็ย่อมได้  สวัสดีครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การใช้ excel ช่วยคำนวณทางโหราศาสตร์ ตอน หาตำแหน่งลัคนาเกิด

สวัสดีครับวันนี้ขอเสนอบทความ การใช้ excel คำนวณโหราศาสตร์กันต่อครับ โดยยังอยู่ในหัวข้อการผูกดวงครับ จากบทความก่อนหน้านี้ เราใช้ excel คำนวณหาตำแหน่งดวงอาทิตย์ไปแล้ว ในตอนนี้เราจะใช้ excel ช่วยหาตำแหน่งลัคนาเกิด (อยู่ในราศีใด) โดยหลังจากทราบตำแหน่งดวงอาทิตย์ที่สถิตราศีแล้ว เราจะใช้ตำแหน่งดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์เพื่อหาตำแหน่งลัคนาเกิดต่อ โดยตำราโหราศาสตร์ได้กล่าวว่า มีวิธีหา 2 วิธี
1. การคำนวณตำแหน่งของดวงอาทิตย์ (องศา ลิปดา) ณ เวลาที่เจ้าดวงชะตากำเนิด
2. วิธีการนับเวลา (ซึ่งจะขอนำเสนอวิธีนี้)

ผมจะยกคำกล่าวตามหลักโหราศาสตร์ซึ่งกว่าวไว้ดังนี้ "ตามหลักโหราศาสตร์นั้นถือว่า เวลา 06.00น. คือ เวลาเริ่มต้นของวันใหม่ และถือว่า เวลา 18.00น. คือ เวลาเริ่มต้นของกลางคืน (ถ้าเป็นเวลาสากลจะถือว่า เวลา 00.01น. คือ เวลาเริ่มต้นของวันใหม่) เช่น. เวลา 05.59น.ของวันพุธตามเวลาสากล ตามหลักโหราศาสตร์ถือว่า เวลา 05.59น.นั้น คือเวลาตี5 59นาทีของวันอังคาร ยังเป็นกลางคืนของวันอังคารอยู่ยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นวันพุธ เป็นต้น.

 วิธีการนับเวลาเพื่อหาตำแน่งของลัคนากำเนิดนั้น จะเริ่มต้นนับที่ เวลา 06.00น. และเริ่มต้นนับที่ตำแหน่งราศีที่ดวงอาทิตย์สถิตอยู่เป็นจุดตั้งต้น นับทวนเข็มนาฬิกา ผ่านราศีไปเรื่อยๆราศีละ 2 ชั่วโมง นับไปจนถึงช่วงเวลาที่ท่านเกิด แล้วจึงหยุดนับ หยุดนับอยู่ ณ.ราศีใด ก็ให้ท่านวางลัคนากำเนิดลงไปในราศรีนั้น"


จากหลักการดังกล่าวเราสามารถเขียนเป็นตารางได้ดังภาพที่ 1 (โดยเรียงลำดับตามค่าต่ำสุดของ Time) ในขณะที่ตัวเลขในลำดับเป็น ลำดับเวลาที่เริ่มนับตั้งแต่เวลา 06.00 น


ภาพที่ 1 ตารางการนับเวลาหาลัคนาเกิด

จากภาพที่ 1 ผมได้ทดลองใช้สูตรใน excel C3 เพื่อหาลำดับเวลา โดยกำหนดเวลาเกิดขึ้นใน B3 (สมมุติให้ตารางข้อมูลอยู่ใน Sheet ชื่อ Lakana)
สูตร excel : VLOOKUP(B3,$F$2:$G$13,2,TRUE)  

จากการทดลองสูตรใน excel เพื่อหาลำดับเวลา พบว่ามีความถูกต้อง ในลำดับถัดไปผมจะยกตัวอย่างจากบทความ การใช้ excel คำนวณหาตำแหน่งดวงอาทิตย์ ซึ่งมีข้อมูลวันเดือนปีเกิดของเจ้าชะตาไว้แล้ว ดังแสดงในภาพที่ 2


ภาพที่ 2 รูปแบบการวางดวงชะตา

การหาตำแหน่งลัคนาจะเริ่มจากการนับเวลาโดยเริ่มต้นจากตำแหน่งของดวงอาทิตย์ ดังนั้นก่อนอื่นเราต้องคำนวณหาลำดับของราศีที่ดวงอาทิตย์สถิตก่อน ซึ่งในบทความ การใช้ excel คำนวณหาตำแหน่งดวงอาทิตย์ มีการจัดลำดับของราศีไว้แล้ว โดยเราจะใช้สูตรใน excel : MATCH ครับ เพื่อคืนตำแหน่งของราศีที่ดวงอาทิตย์สถิต (เนื่องจากในตารางข้อมูลราศีเราได้เรียงลำดับของราศีไว้แล้ว) โดยสามารถเขียนสูตร excel ได้ดังนี้ MATCH(B6,$H$2:$H$13)-1
ขณะเดียวกันการหาลำดับเวลา เราก็สามารถใช้สูตร excel ในทำนองเดียวกับที่ได้นำเสนอข้างต้น โดยเขียนสูตร excel ได้ดังนี้ VLOOKUP(B3,Lakana!$F$2:$G$13,2,TRUE) 

หลักการนับต่อเป็นการนำลำดับราศีที่ดวงอาทิตย์สถิตบวกกับลำดับของลำดับเวลาเกิด แต่เนื่องจากราศีมีทั้งหมด 12 ราศี ดังนั้นจึงเป็นการนับแบบวนรอบ เราสามารถใช้สูตรใน excel : MOD ซึ่งเป็นการหารเอาเศษมาช่วยในการหาตำแหน่งลัคนา โดยจะหารด้วย 12 ดังนั้นเราสามารถเขียนสูตร excel เพื่อหาตำแหน่งลัคนาเกิดได้ดังนี้

'=IFERROR(INDEX($H$2:$H$13,IFERROR(MOD(VLOOKUP(B3,Lakana!$F$2:$G$13,2,TRUE)
+MATCH(B6,$H$2:$H$13),12),"")),"")


ข้อสังเกต เราใช้สูตรใน excel : Index เพื่อคืนค่าชื่อราศีที่ลัคนาสถิต 
ผลการใช้ excel หาตำแหน่งลัคนาแสดงได้ดังภาพที่ 3 


ภาพที่ 3 ผลการใช้ excel หาตำแหน่งลัคนา

เราจะแทนตำแหน่งของลัคนาด้วยตัวอักษร ล หรือ ลั ก็ได้ ดังแสดงในภาพที่ 4


ภาพที่ 4 ตำแหน่งลัคนาเกิดและดวงอาทิตย์ในจักราศี (1)

จากภาพที่ 4 เราจะกล่าวว่า ลัคนาของเจ้าดวงชะตาอยู่ราศี ธนู ครับ 

ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า จากบทความทั้ง 2 บทที่ได้นำเสนอมาเราได้ประยุกต์สูตรใน excel มาช่วยคำนวณทางโหราศาสตร์ได้ไม่ยากเลย ท่านผู้อ่านสามารถนำการประยุกต์สูตรใน excel ไปใช้ในงานด้านอื่นๆได้อีกด้วยครับ ในบทความตอนที่ 3 จะนำเสนอ วิธีวางตำแหน่งเรือนชะตา โดยเริ่มต้นจากตำแหน่งลัคนาเกิดซึ่งได้แสดงไว้ในบทความนี้เรียบร้อยครับ สูตรใน excel ที่ใช้ก็ MOD , INDEX , MATCH ครับ

ข้อมูลอ้างอิง

บทความที่เกี่ยวข้อง







วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Excel Tips : การประยุกต์ใช้ List เข้ากับ VLOOKUP

สวัสดีครับ Excel tips บทนี้จะนำเสนอสั้นๆนะครับเป็นการนำความรู้จาก บทความเรื่อง การสร้างตารางข้อมูลแบบไดนามิกส์สำหรับใช้ในสูตร excel : VLOOKUP ซึ่งในบทความดังกล่าวได้กล่าวถึงการสร้างตารางข้อมูลที่มีความสามารถอัพเดตข้อมูลแบบอัตโนมัติรวมถึงยังป้องกันไม่ให้รายการหลักหรือคีย์หลักมีการซ้ำกันเกิดขึ้นได้ ในบทความนี้ผมจะขอนำความรู้จากบทความเรื่อง Excel tips การสร้างรายการข้อมูลด้วย Data validation เข้ามาร่วมด้วย โดยจะกำหนดให้ CELL B2 มีสมบัติเป็น List รายการ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกรายการหรือคีย์หลักที่ต้องการได้โดยง่าย โดยสามารถกำหนดได้ดังนี้
1. เลือก CELL B2
2. ไปที่เมนู ข้อมูล เลือก การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล... จะปรากฎหน้าต่าง การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
3. เลือกแท๊บ การตั้งค่า ในหัวข้อ อนุญาตให้ เลือก รายการ
4. พิมพ์สูตร Excel เพื่อสร้างรายการแบบไดนามิกส์ ในหัวข้อ แหล่งข้อมูล ดังนี้

สูตร Excel : OFFSET($B$2,0,0,COUNTA($B$2:$B$100),1)

5. กดปุ่ม ตกลง เพื่อปิดหน้าต่าง 


ภาพที่ 1 การกำหนดข้อมูลแบบไดนามิกส์ใน excel

ผลการประยุกต์ใช้  List เข้ากับสูตร excel : VLOOKUP แสดงได้ดังภาพที่ 2


ภาพที่ 2 ผลการประยุกต์ใช้  List เข้ากับสูตร excel : VLOOKUP

บทสรุปของบทความนี้ ท่านผู้อ่านสามารถนำประยุกต์ใช้ใน excel ได้หลากหลาย เช่น ระบบการค้นหา ช่วยลดเวลาในการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม เช่นใบสั่งซื้อ ใบ PO แบบสอบถาม ใบสมัคร และ KPI เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ลดความผิดพลาดจากการบันทึกข้อมูลได้เป็นอย่างดี สวัสดีครับ



Excel Tips : การสร้างตารางข้อมูลแบบไดนามิกส์สำหรับใช้ใน สูตร excel VLOOKUP

Excel Tips บทความนี้ขอนำเสนอการสร้างตารางข้อมูลแบบไดนามิกส์ครับ โดยสมมุติว่าท่านผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสูตร excel : VLOOKUP มาอย่างดีแล้ว เรามาดูที่มาของ Tips ที่ผมจะนำเสนอกันก่อนครับ การใช้สูตร excel :VLOOKUP สิ่งที่สำคัญคือ table_array ซึ่งเป็นตารางข้อมูลสำหรับใช้ค้นหาและเก็บข้อมูลไว้สำหรับค้นหาครับ รูปแบบของตารางข้อมูลก็จะเรียงกันเป็นแถวแต่ละแถวจะเรียกว่า record ซึ่งในการใช้งานจริงข้อมูลในตารางสามารถเพิ่มหรือลดได้ ดังนั้นหากเรากำหนดให้ table_array ของเราเป็นข้อมูลแบบสถิต จะทำให้เราต้องเสียเวลากำหนดช่วงข้อมูลใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตารางข้อมูล ดังนั้นเราจึงทำการสร้างตารางข้อมูลแบบไดนามิกส์สำหรับใช้ในสูตร excel :VLOOKUP โดยมีข้อกำหนดดังนี้
1.รายการข้อมูลในคีย์หลักจะต้องไม่ซ้ำกัน ซึ่งเราสามารถกำหนดได้ รายละเอียดดูได้ใน excel การป้องกันรายการข้อมูลซ้ำกัน
2. สร้างตารางข้อมูลแบบไดนามิกส์โดยใช้สูตร excel : OFFSET ผ่านวิธีการกำหนดข้อมูลแบบพลวัตร

มาดูตัวอย่างกันเลยครับ
สมมุติรูปแบบของ table_array เป็นดังภาพที่ 1


ภาพที่ 1 รูปแบบของ table_array ใน excel

จากรูปแบบของ table_array จะกล่าวได้ว่า table_array มี 5 ฟิลด์ และกำหนดให้จำนวน record สูงสุดเท่ากับ 1,000 แถว
ดังนั้นเราสามารถกำหนด Data validation แบบ Custom เพื่อป้องกันรายการข้อมูลซ้ำกันใน B4 ได้ดังนี้
สูตร excel : COUNTIF($B$4:$B$1004,B4)=1
Copy สูตรดังกล่าวและวางลงใน B5 – B1003

สร้าง table_array แบบไดนามิกส์ โดยไปที่เมนู สูตร เลือก กำหนดชื่อ จะปรากฏหน้าต่าง ชื่อใหม่ ให้กำหนดชื่อข้อมูลเป็น tb_cutomer ขอบเขตเป็น สมุดงาน และกำหนดสูตร excel ใน หัวข้ออ้างอิงไปยัง โดยใช้ สูตร excel ดังนี้
OFFSET(Sheet1!$B$4,0,0,COUNTA(Sheet1!$B$4:Sheet1!$B$1003),5)

 

ภาพที่ 2 การกำหนดข้อมูลแบบไดนามิกส์ใน excel
ทดลองสร้างสูตร excel: VLOOKUP เพื่อแสดงผลการค้นหาข้อมูลตามรหัสพนักงาน โดยกำหนดให้ผลการค้นหาแสดงในแถวที่ 2 โดยกำหนดให้ผู้ใช้ พิมพ์รหัสลูกค้าใน B2 และแสดงรายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และ ผู้ติดต่อ ใน C2, D2, E2 และ F2 ตามลำดับ โดยใช้สูตร excel ดังนี้


C2 : IFERROR(VLOOKUP(B2,tb_customer,2,False),”Data does not found”)

D2 : IFERROR(VLOOKUP(B2,tb_customer,3,False),”Data does not found”)

E2 : IFERROR(VLOOKUP(B2,tb_customer,4,False),”Data does not found”)

F2 : IFERROR(VLOOKUP(B2,tb_customer,5,False),”Data does not found”)

ทดลองพิมพ์รหัสลูกค้า A003 ใน B2 Excel จะแจ้งผลการค้นหาว่า Data does not found ดังแสดงในภาพที่ 3


ภาพที่ 3 ผลการค้นหาในกรณีที่ไม่พบข้อมูล

ทดลองเพิ่มข้อมูล A003 ในแถวที่ 6 และเมื่อทดสอบพิมพ์รหัสลูกค้า A003 ลงใน B2 จะได้ผลลัพธ์ดังแสดงในภาพที่ 4

ภาพที่ 4 ผลการค้นหาในกรณีที่ข้อมูล


สรุปในบทความนี้ เราสามารถสร้างตารางข้อมูลแบบไดนามิกส์สำหรับใช้งานในสูตร excel  VLOOKUP ได้ โดยตารางข้อมูลดังกล่าวมีประสิทธิภาพสูง ในบทความต่อไปเราจะประยุกต์ วิธีการนำรายการข้อมูลจาก Data validation มาใช้ร่วมกับสูตร excel : VLOOKUP ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาข้อมูลด้วย excel ให้มากขึ้น สวัสดีครับ


Yahoo bot last visit powered by  Ybotvisit.com