การใช้งาน excel ในบทความนี้ขอยกตัวอย่างการคำนวณค่าคอมมิชชั่นในลักษณะแบบขั้นบันได ซึ่งหากมองดีๆแล้วก็จะคล้ายกับการคำนวณภาษีหรือการคิดค่าไฟฟ้านั่นเอง ขอยกตัวอย่างการคำนวณแบบขั้นบันไดให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจให้ง่ายขึ้นครับ สมมุติว่าฝ่ายการตลาดได้กำหนดการจ่ายค่าคอมมิชชั่นจากการขายดังนี้
- ยอดขายส่วน 0 – 5,000 บาทแรก จะคิดค่าคอมมิชชั่นให้ 1.5 %
- ยอดขายส่วน 5,000 – 10,000 บาท ต่อไปคิดค่าคอมมิชชั่นให้ 2.5 %
- ยอดขายส่วน 10,000 – 20,000 ต่อไปคิดค่าคอมมิชชั่นให้ 3.5 %
- ยอดขายส่วน 20,000 – 50,000 ต่อไปคิดค่าคอมมิชชั่นให้ 5.0 %
- ยอดขายส่วนที่ เกิน 50,000 คิดค่าคอมมิชชั่นให้ 7.5 %
ก่อนเริ่มใช้ excel ในการช่วยคำนวณ เรามาลองกำหนดแนวคิดกันก่อนดีกว่าครับ จากกำหนดการจ่ายค่าคอมมิชชั่นเราสามารถคำนวณค่าคอมมิชชั่นสูงสุดในแต่ละขั้นได้ตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ค่าคอมมิชชั่นสูงสุดในแต่ละขั้น
ช่วงของยอดขาย | คอมมิชชั่นสูงสุดในช่วง | เปอร์เซนต์คอมมิชชั่น |
0 – 5,000 | = 5000*0.015 | 1.5 % |
5,000 – 10,000 | = 5,000*0.025 | 2.5 % |
10,000 – 20,000 | =10,000*0.035 | 3.5 % |
20,000 – 50,000 | =30,000*0.050 | 5.0 % |
50,000 up | = ส่วนเกิน*0.075 | 7.5 % |
หลักในการคำนวณ หากยอดขายรวมของเราอยู่ในช่วงใด ค่าคอมมิชชั่นที่ได้จะเท่ากับ ผลรวมของค่าคอมมิชชั่นสูงสุดของชั้นที่ต่ำกว่าทั้งหมด บวกด้วยผลคูณระหว่างยอดขายที่เหลือในช่วงนี้กับเปอร์เซนต์คอมมิชชั่นในช่วงนี้ ดังนั้นสามรถใช้ excel สร้างตารางเก็บค่าผลรวมคอมมิชชั่นและค่าต่ำสุดของยอดขายในแต่ละช่วงดังแสดงในภาพที่ 1 โดยสูตรการคำนวณค่าผลรวมคอมมิชชั่นในหลัก c ได้ดังนี้ สมมุติคำนวณค่าใน B3 = B2 + (A3-A2)*C2
ภาพที่ 1 ตารางใน excel ซึ่งเก็บข้อมูลการตำนวณค่าคอมมิชชั่น
จากหลักการคำนวณค่าคอมมิชชั่นจะเห็นว่าเราสามารถนำสูตร Excel : VLOOKUP มาประยุกต์ได้โดยการกำหนด option การค้นหาเป็น true เพื่อหาตำแหน่งช่วงข้อมูลค่าที่น้อยกว่ายอดขายได้จริง ตัวอย่างเช่น นาย ก มียอดขายในเดือน มค เท่ากับ 8,800 บาท การคำนวณค่าคอมมิชชั่นจะเริ่มจากหาตำแหน่งของยอดขายที่ต่ำกว่า 8,800 บาทในตารางจะพบว่ามีค่าเท่ากับ 5,000 บาท และจะพบว่าค่าคอมมิชชั่นสะสมในชั้นนี้เท่ากับ 75 บาท เมื่อรวมกับผลต่างในช่วงนี้ซึ่งมีค่าเท่ากับ 3,800*3.5% = 95 บาท รวมเป็นค่าคอมมิชชั่นที่ได้เท่ากับ 75+95= 170 บาท จากวิธีการคำนวณ สมมุติเรามีข้อมูลยอดขายรวมของพนักงานดังแสดงในภาพที่ 2
ภาพที่ 2 ตัวอย่างยอดขายเพื่อคำนวณค่าคอมมิชชั่น
จากแนวคิดการคำนวณสามารถเขียนเป็นสูตร Excel ได้ดังนี้ (สมมุติคำนวณค่าคอมมิชชั่นของพนักงานในแถว A11 = VLOOKUP(B11,$A$2:$C$6,2,TRUE) + (B11 -VLOOKUP(B11,$A$2:$C$6,1,TRUE))*VLOOKUP(B11,$A$2:$C$6,3,TRUE)
ผลการคำนวณด้วย Excel แสดงได้ดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 ผลการคำนวณค่าคอมมิชชั่นตามสูตร Excel
จากตัวอย่างการคำนวณค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันไดนี้ ท่านผู้อ่านจะเห็นการประยุกต์ใช้สูตร excel : VLOOKUP อีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการคำนวณเงินภาษี ค่าไฟฟ้า และอื่นๆได้อีกมาก อย่าลืมหลุมพรางการใช้ VLOOKUP ที่ผมได้นำเสนอไปด้วยนะครับ สวัสดีครับ
ปล สนใจตัวอย่างการคำนวณค่าคอมมิชชั่นในรูปแบบอื่น ดู ที่นี่ ครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น