วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การใช้แผนภูมิพาเรโตวิเคราะห์ด้านการเงิน (finance)

ผมได้นำเสนอการใช้ excel สร้างแผนภูมิพาเรโตไปแล้วในบทความที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่จะพบการใช้แผนภูมิพาเรโตในงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก แต่เมื่อพิจารณาแนวคิดของแผนภูมิพาเรโตจะพบว่าเป็นแผนภูมิที่ใช้วิเคราะห์ปัญหาได้ทั่วๆไป ที่ผ่านมาผมได้เคยนำเสนอการบันทึกรายจ่ายประจำวัน และการบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายประจำวันให้ท่านผู้อ่านได้ทราบไปแล้ว ซึ่งจะพบว่าการบันทึกข้อมูลดังกล่าวสามารถทำได้ง่ายเพียงใช้สูตร excel แต่ปัญหาหลักคือการควบคุมการใช้จ่ายเพื่อให้มีการใช้จ่ายต่ำที่สุดหรือการกำจัดรายจ่ายส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป การใช้แผนภูมิพาเรโตจะช่วยท่านวิเคราะห์หาเหตุที่ทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นได้ครับ ลองนำไปประยุกต์กันครับ
ในขณะเดียวกันหากใช้แผนภูมิพาเรโตช่วยวิเคราะห์สาเหตุเราจะมีหลักเกณฑ์ใดที่ช่วยในการเลือกปัญหาที่วิกฤตมาแก้ไขก่อน ปัญหาวิกฤตไม่จำเป็นต้องเป็นหัวข้อที่มีความถี่สูงที่สุดเพียงข้อเดียว หลักของการหาจุดวิกฤตดังกล่าวคือให้พิจารณาจุดที่ความชันของเปอร์เซนต์สะสมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากความชันมากไปยังความชันน้อย โดยหัวข้อของปัญหาที่อยุ่ด้านซ้ายของจุดดังกล่าวจะเป็นหัวข้อปัญหาที่ต้องรีบหาวิธีการแก้ไขโดยด่วนครับ ดังแสดงในภาพที่ 1
ภาพที่ 1 จุดวิกฤตของแผนภูมิพาเรโต

ในด้านการเงินมีประเด็นที่น่าสนใจที่อยากจะนำเสนอท่านผู้อ่าน นั่นคือการใช้แผนภูมิพาเรโตช่วยจัดลำดับความสำคัญของการชำระหนี้สิน จากที่เคยนำเสนอมาแล้วว่า หนี้สินแบ่งออกได้หลายประเภทเช่นหนี้บัตรเครดิต หนี้สินเชื่อ หนี้นอกระบบ หนี้จากญาติพี่น้อง เป็นต้น บางครั้งการพิจารณาเฉพาะเงินต้นเพียงอย่างเดียวด้วยแผนภูมิพาเรโตอาจจะไม่สามารถจัดลำดับความสำคัญของการชำระหนี้สินได้  การแจกแจงเป็นดอกเบี้ยต่อปีหรือต่อเดือนที่ต้องชำระและใช้แผนภูมิพาเรโตช่วยวิเคราะห์จะเห็นความชัดเจนของหนี้สินที่เราต้องจัดการชำระก่อนเป็นลำดับต้นๆครับ ดังนั้นจุดสำคัญของการใช้แผนภูมิพาเรโตคือการกำหนดหัวข้อของปัญหาหรือปริมาณที่จะวัดให้ถูกต้องสามารถสะท้อนถึงปัญหาที่ต้องการแก้ครับ 
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Yahoo bot last visit powered by  Ybotvisit.com