วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การจัดหมวดหมู่รายการค่าใช้จ่าย

การบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายที่ได้นำเสนอไป ท่านผู้อ่านจะพบว่ารายการค่าใช้จ่ายจะต้องถูกบันทึกลงในบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทต่างๆ ทั้งบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทบัตรเครดิต บัญชีรายรับรายจ่ายประเภทสมุดเงินฝาก และบัญชีรายรับรายจ่ายประเภทเงินสด การที่เราจดบันทึกข้อมูลการใช้จ่ายนั้นหากเราอยากได้ประโยชน์จากการจดบันทึกบัญชีรายรับรายจ่ายให้มากขึ้นจนถึงขั้นเข้าใจในวิถีชีวิตของเราและสามารถบริหารจัดการการเงินได้อย่างเป็นระบบ เราจะต้องเรียนรู้การแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็นหมดหมู่ ซึ่งพอจะแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆได้ดังนี้

  1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มทั้งในบ้านนอกบ้าน
  2. ที่พักอาศัย เช่น ค่าเช่าห้องหรือเช่าบ้าน ค่าซ่อมแซม ค่าตกแต่ง และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบริเวณที่พักฮาศัย เป็นต้น
  3. ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์ เป็นต้น
  4. ค่าเดินทาง เช่น ค่าโดยสาร ค่าน้ำมัน ค่าผ่อนชำระ ค่าเช่าที่จอด ค่าซ่อมแซมหรือบำรุงรักษา เป็นต้น
  5. ค่าแต่งกาย เช่น ค่าเสื้อผ้า และค่าซักรีด เป็นต้น
  6. ค่าใช้จ่ายในบ้านและของใช้หมดไป เช่น สบู่ แปรงสีฟัน ยานวดผม อุปกรณ์ทำความสะอาด อุปกรณ์ทำครัว เป็นต้น
  7. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าตรวจร่างกาย ค่าทำฟัน เป็นต้น
  8. ค่าสันทนาการและสังคม เช่น ค่าเครื่องดื่ม ค่าเล่นกีฬา ค่าหนังสืออ่านเล่น ฟิตเนส เป็นต้น
  9. ค่าของขวัญและการกุศล
  10. ค่าใช้จ่ายทางการศึกษา (ของตัวเองนะครับ) เช่น ค่าหน่วยกิต ค่าหนังสือ ค่าอุปกรณ์การเรียน เป็นต้น
  11. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับธนาคาร เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ATM เป็นต้น
  12. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์
  13. ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด

ครับจากที่ยกตัวอย่างมาเวลาจดบันทึกลงในบัญชีรายรับรายจ่ายก็จะบันทึกแยกเป็นหมวดค่าใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องบันทึกรายละเอียดปลีกย่อย เพราะจะทำให้ยุ่งยากและเสียเวลาในการบันทึกลงบัญชีรายรับรายจ่าย

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดแบบลีน (Lean)

การผลิตแบบลีน(Lean) คือปรัชญาในการผลิตที่ถือว่าความสูญเปล่า (Wastes) เป็นตัวการที่ทำให้เวลาที่ใช้ในการผลิตยาวนานขึ้น ดังนั้น การผลิตแบบลีน (Lean) จึงเป็นการนำเทคนิคต่างๆมาใช้เพื่อกำจัดความสูญเปล่าออกไป ในบทความนี้เรามาดูส่วนที่ต้องกำจัดในการผลิตแบบลีน (Lean) กันก่อนนั่นคือ ความสูญเปล่า โดยกิจกรรมต่างๆในการผลิตแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. กิจกรรมเพิ่มคุณค่า(Value-Added Activities หรือ VA) คือกิจกรรมใดๆก็ตามที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุดิบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  2. กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า(Non-Value Added Activities หรือ NVA) คือกิจกรรมใดๆที่ใช้ทรัพยากร เช่น เครื่องจักร เวลา พนักงาน แต่ไม่ได้มีส่วนในการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ซึ่งบางครั้งจะเรียกกิจกรรมเหล่านี้ว่า “ความสูญเปล่า” เราสามารถแบ่งกิจกรรมที่สูญเปล่าได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
    1. กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า แต่จำเป็นต้องทำ กิจกรรมเหล่านี้ไม่สามารถกำจัดทิ้งได้ทันทีแต่ต้องลดให้เหลือเท่าที่จำเป็น
    2. กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าและไม่มีความจำเป็นต้องทำ เป็นกิจกรรมที่สามารถกำจัดทิ้งได้ทันที

มีการประมาณกันว่า 95% ของเวลาที่สินค้าอยู่ในโรงงานเป็นเวลาที่ใช้ๆปกับกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า

การผลิตแบบลีน (Lean) มีรากฐานของระบบการผลิมาจากระบบการผลิตแบบโตโยต้า โดยระบบการผลิตแบบโตโยต้าเกิดจากการทดลองปฏิบัติและลองผลิดลองถูก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนและเน้นการขจัดหน้าที่ที่ไม่จำเป็นออกไป ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานคือ การพยายามรักษาการไหลของสินค้าให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และใช้ระบบการผลิตแบบ Just in time ซึ่งหมายถึงว่า ให้ผลิตเฉพาะสิ่งที่จำเป็น ในปริมาณที่จำเป็นและในเวลาที่จำเป็น

ลักษณะของความสูญเปล่า

  1. การผลิตมากเกินไป คือเป็นการผลิตเกินความต้องการ ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตต้องแบกรับภาระต้นทุนเอาไว้
  2. กระบวนการมากเกินไป คือการทำงานที่มีขั้นตอนมากเกินความจำเป็น ซึ่งส่งผลให้จ้นทุนเพิ่มขึ้น รวมถึงพนักงานเกิดความเมื่อยล้ามากขึ้น
  3. การขนย้ายมากเกินไป มีผลทำให้สายการผลิตเกิดความวุ่นวาย และมีต้นทุนด้านการขนย้ายเพิ่มขึ้น
  4. สินค้าคงคลัง หมายถึงมีวัตถุดิบ WIP หรือสินค้าสำเร็จรูปมากเกินความต้องการ ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่ต้องแบกรับไว้
  5. การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น เช่นการเคลื่อนไหวของร่างกายที่มากเกนความจำเป็นสาเหตุจากการจัดลำดับงานหรือผังโรงงานไม่เหมาะสม ซึ่งทำให้พนักงานเมื่อยล้า
  6. การรอคอย ทำให้ใช้ประโยชน์จากแรงงานและเครื่องจักรได้ไม่เต็มที่
  7. การเกิคของเสียและการแก้ไขชิ้นงานเสีย ทำให้ต้องทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยสินค้าที่เสีย เป็นผลให้ต้นทุนสูงขึ้น

ในบทความต่อไปจะนำเสนอหลักการของ การผลิตแบบลีน (Lean) ซึ่งจะกล่าวถึงคำนิยามต่างๆที่พบเมื่อเราประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีน (Lean)

*ข้อมูลบางส่วนจาก 1-2-3 ก้าวสู่ลีน ของ สำนักพิมพ์ สสท

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Lean และ Six Sigma แตกต่างกันอย่างไร

Lean และ Six Sigma มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการให้ดียิ่งขึ้น โดยเครื่องมือของ Lean จะถูกมุ่งเน้นไปที่การกำจัดความสูญเปล่าในการทำงานหรือกระบวนการ เพื่อให้การไหลของงานและข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างสะดวก ในขณะที่เครื่องมือของ Six Sigma จะมุ่งเน้นไปที่การกำจัดความผันแปรของการทำงานหรือกระบวนการ ความแตกต่างหลักๆระหว่าง Six Sigma และ Lean สรุปได้ดังตาราง

ตารางแสดงความแตกต่างระหว่าง Six Sigma และ Lean

มุมมอง

Six Sigma

Lean

มุมมองในเรื่องความสูญเปล่า ความผันแปรคือความสูญเปล่า สิ่งที่ไม่เพิ่มคุณค่าคือความสูญเปล่า
หลักการ 1. Define
2. Measure
3. Analyze
4. Improve
5. Control
1. ระบุคุณค่า
2. สร้างสายธารคุณค่า
3. ทำให้งานไหลลื่น
4. ใช้หลักการดึงงาน
5. สร้างความสมบูรณ์แบบโดยปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เครื่องมือ

สิ่งที่มุ่งเน้น
คณิตศาสตร์-สถิติ

เน้นปัญหาที่พบ
Visualization

เน้นที่การไหลของกระบวนการ

** ที่มา Lean in Action สำนักพิมพ์ สสท.

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

VBA Excel : การแก้ปัญหาการคำนวณค่า Log ใน vba

VBA Excel ในบทความนี้ขอนำเสนอการแก้ปัญหาการคำนวณค่า Log ใน vba excel กันครับ Logarithm เป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่เรารู้จักกันดีและถูกนำมาช่วยวิเคราะห์ปัญหาในหลายๆด้าน เช่น วิศวกรรมศาสตร์ สถิตศาสตร์ ทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ การเงิน เป็นต้น ใน vba excel มีฟังก์ชัน Logarithm ฐานธรรมชาติ (Logarithm ฐาน e) ให้เราใช้เพียงฟังก์ชันเดียว ต่างกับการใช้ Excel ซึ่งเตรียมฟังก์ชัน Logarithm ให้ใช้ถึงสามรูปแบบคือ ฟังก์ชัน Logarithm ฐาน e จะใช้ ln(number) ฟังก์ชัน Logarithm ฐาน 10 จะใช้ Log(number) ส่วน Logarithm ฐานอื่นๆจะใช้ Log(number,[base]) ทีนี้มาถึงปัญหาหล่ะครับ หากต้องการคำนวณค่า Logarithm ฐานอื่นๆที่ไม่ใช่ ฐาน e ใน vba จะทำอย่างไร เรามีสองวิธีการครับ คือ ให้ vba เรียกใช้ฟังก์ชันจาก excel หรือ คำนวณจากฟังก์ชัน Logarithm ฐาน e ที่มีอยู่ใน vba ในบทความนี้ผมขอนำเสนอทางอย่างหลังครับ ก่อนอื่นมาดูความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ของฟังก์ชัน Logarithm ก่อนครับ โดยเราจะอาศัยคุณสมบัติการเปลี่ยนฐานของ Logarithm ดังแสดงในสมการช่วยในการแก้ปัญหา \log_b(x) = \frac{\log_k(x)}{\log_k(b)}.\,

จากคุณสมบัติการเปลี่ยนฐานของ Logarithm และเราทราบว่าใน vba มีฟังก์ชันคำนวณค่า Logarithm ฐาน e ดังนั้นหากเราต้องการคำนวณ Logarithm ของค่า x ฐาน b เราสามารถเขียนได้ดังนี้ให้อยู่ในรูปแบบของการคำนวณได้ดังนี้

Log

สามารถเขียนเป็นโค้ดใน vba ดังแสดงในตัวอย่างได้ดังนี้

1 dim b as integer

2 dim x as integer

3 dim a as integer

4 x = 10

5 b = 2

6 a = log(x)/log(b)

แสดงถึงการคำนวณหาค่า Logarithm ของค่า 10 ในฐาน 2 (ค่า a)

clip_image002[7]

จากตัวอย่างที่ผมนำเสนอจะเห็นว่าโค้ดการคำนวณ Logarithm ที่ฐานใดๆสามารถเขียนได้ง่ายและสะดวกมาก (บรรทัดที่ 6) สวัสดีครับ

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ควรดำเนินการอะไรก่อนระหว่าง TPM หรือ TQC

TPM หรือ TQC คำถามที่พบและมีความสำคัญมากคือ ระหว่าง TPM หรือ TQC ควรดำเนินการอะไรก่อน ซึ่งพบว่าไม่มีคำตอบที่ถูกต้องสำหรับคำถามนี้ ทั้งนี้เนื่องจากจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏ จุดประสงค์ ระบบ ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆของแต่ละบริษัท แม้ว่าทั้ง TPM และ TQC จะเป็นกิจกรรมที่อาศัยการดำเนินการก็ตาม แต่ TQC มักจะอาศัยแผนกต่างๆขององค์กรเข้าร่วมมากกว่าเมื่อเทียบกับการประยุกต์ TPM ซึ่งอาจหมายถึงว่า หากเริ่มต้นที่ TPM ก่อนในช่วงแรกอาจจะง่ายและได้ผลเร็วกว่าเมื่อเทียบกับการทำ TQC

การเริ่มต้นที่ TPM ซึ่งจะง่ายต่อการเริ่มต้น ไม่ได้หมายถึงว่า ดีกว่า หรือมีความสำคัญกว่า ทั้งนี้เพราะว่าภายใต้ปัญหาต่างๆที่ประสบอยู่ เช่น พัฒนาสินค้าใหม่ การประกันคุณภาพ และการบริหารนโยบาย นั้นการทำ TQC จะทำให้เกิดการร่วมมือทั้งองค์กร ไม่เฉพาะแต่ฝ่ายผลิตเท่านั้น แต่ในอีกมุมมองหนึ่ง TQC ก็เป็นวิธีที่ทำให้มีการก้าวกระโดดมาก แต่มีความยากลำบากในการประยุกต์ใช้ทำให้เกิดการยุติการดำเนินงานกลางคัน

กรณีที่องค์กรใดมีความสัมพันธ์กับองค์กรที่มีการใช้ TQC อย่างสมบูรณ์แล้ว จะมีผลให้การดำเนินการ TQC ของบริษัทมีความง่ายมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากองค์กรสามารถอาศัยประสบการณ์จากองค์กรพันธมิตรที่ประสบความสำเร็จในการใช้ TQC มาช่วยในการเริ่มต้นและดำเนินการได้ สำหรับองค์กรที่ไม่มีพันธมิตรกับองค์กรใดๆที่ใช้ TQC อย่างสมบูรณ์ ก็ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกต่อไป

Yahoo bot last visit powered by  Ybotvisit.com