การผลิตแบบลีน(Lean) คือปรัชญาในการผลิตที่ถือว่าความสูญเปล่า (Wastes) เป็นตัวการที่ทำให้เวลาที่ใช้ในการผลิตยาวนานขึ้น ดังนั้น การผลิตแบบลีน (Lean) จึงเป็นการนำเทคนิคต่างๆมาใช้เพื่อกำจัดความสูญเปล่าออกไป ในบทความนี้เรามาดูส่วนที่ต้องกำจัดในการผลิตแบบลีน (Lean) กันก่อนนั่นคือ ความสูญเปล่า โดยกิจกรรมต่างๆในการผลิตแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- กิจกรรมเพิ่มคุณค่า(Value-Added Activities หรือ VA) คือกิจกรรมใดๆก็ตามที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุดิบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
- กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า(Non-Value Added Activities หรือ NVA) คือกิจกรรมใดๆที่ใช้ทรัพยากร เช่น เครื่องจักร เวลา พนักงาน แต่ไม่ได้มีส่วนในการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ซึ่งบางครั้งจะเรียกกิจกรรมเหล่านี้ว่า “ความสูญเปล่า” เราสามารถแบ่งกิจกรรมที่สูญเปล่าได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
- กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า แต่จำเป็นต้องทำ กิจกรรมเหล่านี้ไม่สามารถกำจัดทิ้งได้ทันทีแต่ต้องลดให้เหลือเท่าที่จำเป็น
- กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่าและไม่มีความจำเป็นต้องทำ เป็นกิจกรรมที่สามารถกำจัดทิ้งได้ทันที
มีการประมาณกันว่า 95% ของเวลาที่สินค้าอยู่ในโรงงานเป็นเวลาที่ใช้ๆปกับกิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า
การผลิตแบบลีน (Lean) มีรากฐานของระบบการผลิมาจากระบบการผลิตแบบโตโยต้า โดยระบบการผลิตแบบโตโยต้าเกิดจากการทดลองปฏิบัติและลองผลิดลองถูก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนและเน้นการขจัดหน้าที่ที่ไม่จำเป็นออกไป ซึ่งมีแนวคิดพื้นฐานคือ การพยายามรักษาการไหลของสินค้าให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และใช้ระบบการผลิตแบบ Just in time ซึ่งหมายถึงว่า ให้ผลิตเฉพาะสิ่งที่จำเป็น ในปริมาณที่จำเป็นและในเวลาที่จำเป็น
ลักษณะของความสูญเปล่า
- การผลิตมากเกินไป คือเป็นการผลิตเกินความต้องการ ซึ่งจะทำให้ผู้ผลิตต้องแบกรับภาระต้นทุนเอาไว้
- กระบวนการมากเกินไป คือการทำงานที่มีขั้นตอนมากเกินความจำเป็น ซึ่งส่งผลให้จ้นทุนเพิ่มขึ้น รวมถึงพนักงานเกิดความเมื่อยล้ามากขึ้น
- การขนย้ายมากเกินไป มีผลทำให้สายการผลิตเกิดความวุ่นวาย และมีต้นทุนด้านการขนย้ายเพิ่มขึ้น
- สินค้าคงคลัง หมายถึงมีวัตถุดิบ WIP หรือสินค้าสำเร็จรูปมากเกินความต้องการ ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่ต้องแบกรับไว้
- การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น เช่นการเคลื่อนไหวของร่างกายที่มากเกนความจำเป็นสาเหตุจากการจัดลำดับงานหรือผังโรงงานไม่เหมาะสม ซึ่งทำให้พนักงานเมื่อยล้า
- การรอคอย ทำให้ใช้ประโยชน์จากแรงงานและเครื่องจักรได้ไม่เต็มที่
- การเกิคของเสียและการแก้ไขชิ้นงานเสีย ทำให้ต้องทำงานเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยสินค้าที่เสีย เป็นผลให้ต้นทุนสูงขึ้น
ในบทความต่อไปจะนำเสนอหลักการของ การผลิตแบบลีน (Lean) ซึ่งจะกล่าวถึงคำนิยามต่างๆที่พบเมื่อเราประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีน (Lean)
*ข้อมูลบางส่วนจาก 1-2-3 ก้าวสู่ลีน ของ สำนักพิมพ์ สสท
1 ความคิดเห็น:
สนใจอบรมระบบลีน เพิ่มความเข้าใจกันได้ที่
https://goo.gl/9d81BW
แสดงความคิดเห็น