วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

มารู้จักเสาเข็มไมโครไพล์ (Spun Micropile)

จากบทความข้อควรรู้สำหรับการต่อเติมบ้าน ซึ่งผมได้เน้นย้ำว่า ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงคือ การทรุดตัวของอาคารต่อเติม ซึ่งจะลุกลามไปถึงการร้าวของรอยต่อของอาคารเดิมและส่วนต่อเติม ส่งผลให้เกิดการรั่วของหลังคาส่วนต่อเติมกับอาคารเดิม การแก้ปัญหาต้องกลับไปแก้ไขที่ต้นเหตุ คือ การทรุดตัวของส่วนต่อเติม ส่วนใหญ่เกิดจากการไม่ใช้เสาเข็มหรือใช้เสาเข็มที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจจะเกิดจาก 
1. เจ้าของบ้านไม่ได้กันงบต่อเติมบ้านในส่วนของฐานราก ซึ่งค่อนข้างแพง
2. พื้นที่ต่อเติมค่อนข้างแคบทำให้ไม่สามารถนำเครื่องตอกเสาเข็มเข้าไปตอกได้
3. ความลึกในการตอกเสาเข็มน้อยเกินไป
4. เพื่อนบ้านไม่อนุญาตให้ตอกเสาเข็มเนื่องจากเกิดแรงสั่นสะเทิอนมากจนอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวบ้าน

ในบทความนี้จะขอแนะนำเสาเข็มแบบไมโครไพล์ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการต่อเติมบ้าน เนื่องจากเสาเข็มไมโครไพล์ตอบโจทย์ปัญหาที่ผมได้อธิบายมาข้างต้น โดยเสาเข็มไมโครไพล์เป็นเสาเข็มตอกขนาดเล็ก มีแรงสั่นสะเทิอนน้อยไม่ส่งผลต่ออาคารเดิมหรือบ้านข้างเคียง และมีเสียงต่ำขณะตอกเมื่อเทียบกับเสาเข็มชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานตอกในพื้นที่จำกัดได้ 
 
การใช้เสาเข็มไมโครไพล์ ควรปรึกษาผู้รับเหมาให้ละเอียด ในปัจจุบันมีผู้รับเหมาจำนวนมากรับตอกเสา่เข็มไมโครไพล์ โดยเริ่มต้นเราต้องปรึกษาการเลือกขนาดของเสาเข็มไมโครไพล์ที่เหมาะสมกับอาคารที่เราต้องการต่อเติม โดยเสาเข็มไมโครไพล์ในตลาดที่นิยมมีทั้งหมด 3 ขนาดคือ
1. I18 พท หน้าตัด 220 ตร ซม ขนาดหนัาตัด 18x18 cm ยาว 150 cm จะรับ นน ได้ 12-17 ตัน เหมาะสำหรับ งานพื้นทางเดิน ลานซักล้าง ห้องครัว อาคาร 1 ชั้น 
2. I22 พท หน้าตัด 340 ตร ซม ขนาดหนัาตัด 22x22 cm ยาว 150 cm จะรับ นน ได้ 25-30 ตัน เหมาะสำหรับ พื้นที่จอดรถ อาคาร 2 ชั้น พื้น รง 
3. I26 พท หน้าตัด 455 ตร ซม ขนาดหนัาตัด 26x26 cm ยาว 150 cm จะรับ นน ได้ 35-40 ตัน เหมาะสำหรับ  อาคาร 3-4 ชั้น

จากความยาวของเสาเข็มไมโครไพล์แต่ละต้นที่ไม่ยาวเกินไป ทำให้ใช้เครื่องตอกเสาเข็มที่มีขนาดไม่ใหญ่มากในการตอกจึงสามารถเข้าไปทำงานในพื้นที่ที่แคบๆได้และไม่ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนระหว่างการต่อก เรามาสรุปจุดเด่นของเสาเข็มไมโครไพล์กันครับ
1. สามารถตอกได้ลึก กว่า 20 เมตร (กทมและปริมณฑล ส่วนใหญ่จะตอกกันถึง 24 เมตร ทั้งนี้ตอกตรวจสอบอัตราการเคลื่อนตัวขณะตอกตามมาตรฐานการตอกเสาเข็มไมโครไพล์เพื่อหาความลึกที่เหมาะสม)
2. รับน้ำหนักได้มากกว่า 15 ตัน (ขึ้นอยู่กับขนาดของเสาเข็มไมโครไพล์) แนะนำให้ปรึกษาวิศวกร ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทผู้จำหน่ายเสาเข็มไมโครไพล์มักจะมีบริการให้ครับ ทั้งนี้ขนาดของเสาเข็มไมโครไพล์ที่เลือกใช้จะขึ้นอยู่กับ นน ของตัวอาคารที่ใช้งาน
3. ใช้พื้นที่ในการทำงานน้อยดังนั้นจึงไม่ต้องรื้อโครงสร้างเดิมออกได้ (กรณีเป็นงานปรับปรุง แก้ไขการทรุดตัว)
4. ลดปัญหาเสียงดังและแรงสั่นสะเทือนขณะทำงานซึ่งจะเกิดผลกระทบกับอาคารหรือบ้านเดิมและบ้านใกล้เคียง
5. ใช้เวลาในการตอกน้อยกว่าเสาแบบอื่นๆ

จากที่ได้อธิบายมานะครับ ผมยังขอยืนยันกับเจ้าของบ้านที่มีความประสงค์จะต่อเติมหรือเจ้าของบ้านที่พบปัญหาส่วนต่อเติมทรุดตัวลงว่าการเลือกใช้เสาเข็มไมโครไพล์จะแก้ปัญหาของท่านหรือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตได้นะครับ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องปรึกษาวิศวกรที่ออกแบบเพื่อเลือกขนาดของเสาเข็มไมโครไพล์ให้เหมาะสมที่สุดนะครับ แม้ว่าการตอกเสาเข็มจะเพิ่มงบประมาณในการต่อเติมแม้ว่าสิ่งต่อเติมของท่านอาจจะมีขนาดไม่ใหญ่มาก สวัสดีครับ 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Yahoo bot last visit powered by  Ybotvisit.com