วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ข้อควรรู้สำหรับการต่อเติมบ้าน (renovate your home)

สวัสดีครับ บทความวันนี้ จะนำเสนอสิ่งที่ต้องทราบก่อนตัดสินใจต่อเติมบ้าน บ้านเดี่ยวหรือทาวน์เฮ้าส์ ที่เราทุกคนตัดสินใจเลือกซื้อ ไม่ว่าจะเป็นบ้านใหม่จากโครงการบ้านจัดสรรหรือเป็นบ้านมือสอง ส่วนใหญ่เจ้าของใหม่มักต้องการต่อเติมบ้านกันทั้งสิ้น หนึ่งในเหตุผลของการต่อเติมบ้านคือ ต้องการมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น แม้ว่า พื้นที่ของตัวบ้านหรือทาวน์เฮ้าส์ ที่โครงการออกแบบมาโดยส่วนใหญ่ หากพิจารณาตามกฎหมายจะไม่สามารถต่อเติมบ้านได้แล้ว แต่โดยปกติเจ้าของบ้านทั้งหลายก็ยังมีความต้องการจะต่อเติมบ้านกันอยู่ บทความนี้เราจะแนะนำเทคนิคการต่อเติมบ้านในแง่ของกฎหมายและในเชิงวิศวกรรมหลักๆที่ ผมเคยประสพมานะครับ ผมขอแยก ออกเป็น 2 หลักที่ต้องพิจารณานะครับ
1. หลักกฎหมาย 
กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการกำกับ คือ พรบ ควบคุมอาคาร ที่จะกำหนดให้บ้านหรือสิ่งปลูกสร้างมีระยะห่างจากอาคารอื่นๆ เพื่อไม่ให้รบกวนบุคคลอื่นและสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าของบ้านเองครับ เนื้อหาของ พรบ จะกำหนดระยะห่างของอาคารไว้ ซึ่งร้อยทั้งร้อย โครงการบ้านจัดสรร ที่สร้างบ้านให้เรากำหนดระยะไว้คชตาม พรบ นี้ ครับ ดังนั้น การต่อเติมบ้านออกไป ไม่ว่าจะเป็น ห้องครัวหลังบ้าน ห้องซักล้าง พื้นที่ที่ต้อเติม ผิด พรบ แน่นอน ครับ แต่ส่วนใหญ่ เราจะใช้วิธีเจรจากับเจ้าของบ้าน พื้นที่ใกล้เคียงของเรา ซึ่งหาก เจ้าของบ้าน ื้นที่ใกล้เคียง มีแผนจะต่อเติมเช่นกัน การเจรจาขออนุญาตก็จะง่ายครับ ดังนั้น ในหลักกฎหมายข้อนี้ ผมแนะนำให้ไปดู พรบ ควบคุมอาคาร และ ขออนุญาตเจ้าของ พื้นที่ใกล้เคียงครับ  

2. เทคนิคเชิงวิศวกรรม
อันดับแรกขอให้เข้าใจก่อนว่า ทุกสิ่งปลูกสร้างมีการทรุดตัวอยุ่ตลอดเวลา แม้ว่าจะตอกเสาเข็มหรือไม่ก็ตาม ขึ้นอยู่กับว่าจะมากหรือน้อย แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ (ในพื้นที่ กทม และปริมณฑล จะมีการทรุดตัวงค่อนข้างสูง) ดังนั้นการต่อเติมบ้านเข้าไปกับบ้านเดิม ย่อมเกิดการแยกออกจากกันระหว่างอาคารได้เสมอ เนื่องจากบ้านเดิมตั้งอยู่บนเสาเข็มที่ตอกไปแล้วซึ่งอาจมีการทรุดบ้างแต่น้อย แต่ส่วนต่อเติมบ้าน เช่นครัวหลังบ้าน หากไม่ได้ตอกเสาเข็ม อาจจะทรุดตัวลงปีละ 3 ซม ซึ่งจะก่อให้เกิดรอยแตกร้าวอย่างแน่นอน ดังนั้นในทางวิศวกรรมที่พอจะทำได้คือ การป้องกันไม่ให้รอยร้าวนั้นก่อให้เกิดปัญหา โดยจุดของการต่อเติมบ้านที่มักจะเกิดปัญหาทรุดตัว แยกตัว แตกร้าวได้แก่ รอยผนังแยกตัวออกจากบ้านเดิม รอยรั่วจากรอยต่อหลังคา และรอยร้าวตรงมุมประตู หน้าต่าง เป็นต้น
    การป้องกันรอยแตกร้าวที่เป็นผลจากการต่อเติมบ้าน คือ ต้องตอกเสาเข็มในสวนต่อเติมบ้านเพื่อให้อาคารต่อเติมทรุดตัวไม่มากเกินไปหรือให้ใกล้เคียงกับตัวบ้านเดิม ซึ่งจะให้รอยแตกร้าวเกิดขึ้นช้าลงหรือรอยแตกร้าวมีขนาดไม่ใหญ่เกินไปจนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ เช่น หลังคารั่ว เป็นต้น โดยใน กทม ผมแนะนำให้ตอกลึก 18 - 24 เมตร ซึ่งแน่นอนว่าการตอกเสาเข็มจะทำให้งบการต่อเติมของท่านสูงขึ้น แต่ในระยะยาวผมถือว่าคุ้มค่าไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาบ้านรั่ว ฝ้าเสียหายในอนาคต ในปัจจุบันในการต่อเติมบ้านนิยมใช้เข็มเจาะแบบไมโครไพล์  (Micropile)เป็นส่วนใหญ่ขนาดหน้าตัดของเสาเข็ม อาจต้องให้วิศวกรของบริษัทผู้จำหน่ายไมโครไพล์ช่วยคำนวณรวมถึงความลึกของการตอก 
    จากประสพการณ์ของผมที่ต่อเติมบ้านมา 2 ครั้ง คือครัวหลังบ้าน และออฟฟิศข้างบ้าน โดยครัวหลังบ้านไม่ได้ตอกเสาเข็ม หลังต่อเติมได้เพียง 1 เดือน รอยต่อหลังคาครัวหลังบ้าน ที่ต่อเติมเกิดรั่ว น้ำไหลลงอยากหนัก ซึ่งสาเหตุเกิดจากส่วนต่อเติมห้องครัวเกิดการทรุดตัวอย่างมาก ต่อมา อีก 6 เดือน ประตูบานเลื่อนก็เริ่มปิดไม่ได้เนื่องจากพื้นทรุดจนประตูและกรอบไม่ได้ระนาบ
    ปัญหาหลังคาส่วนต่อเติมรั่วบริเวณรอยต่อระหว่างบ้านเดิมและหลังคาส่วนต่อเติมเป็นปัญหาคลาสิค พบเจอกันทุกบ้านที่ต่อเติม การป้องกันรอยรั่วตรงรอยต่อระหว่างบ้านเก่าและหลังคาส่วนต่อเติม โดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ Flashing เป็นตัวเชื่อม โดยให้ดำเนินการดังนี้

1. กรีดช่องผนังฉาบ (อาคารเดิม) ให้เป็นร่องตลอดแนวหลังคา
2. ติดตั้งแผ่น Flashing ขั้นตอนนี้สำคัญมากครับ ผู้รับเหมาส่วนใหญ่ชอบประหยัดต้นทุนส่วนนี้ โดยใช้แผ่น Flashing ที่มีความกว้างน้อยเกินไป ซึ่งหากเจอฝนสาดแรวๆ น้ำฝนจะไหลย้อนไปที่รอยต่อได้อีกทาง ดังนั้นขนาดความกว้างของแผ่น Flashing จึงเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องตรวจให้ละเอียดก่อนรับงาน
3. อุดร่องผนังและร่องระหว่างหลังคาด้วย โพลียูรีเทน โดยเมื่อส่วนต่อเติมบ้านเกิดการทรุด จะทำให้เกิดช่องว่างที่จะทำให้น้ำฝนสาดเข้าตัวอาคารที่ต่อเติมได้

เอาละครับจากบทความนี้นะครับ ผมขอสรุปสั้นๆ ไว้ 2 ประเด็น คือ 
1. ก่อนต่อเติมบ้าน ขออนุญาตเพื่อนบ้านก่อนเสมอ และแจ้งนิติบุคคลของหมู่บ้านด้วยนะครับ
2. ส่วนต่อเติมต้องตอกเสาเข็มเพื่อให้อาคารที่ต่อเติมทรุดตัวน้อยที่ทรุด ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการแตกร้าวและปัญหาคลาสิค น้ำรั่วรอยต่ออาคาร และผมแนะนำเสาเข็มแบบไมโครไพล์ ครับ


             


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Yahoo bot last visit powered by  Ybotvisit.com