วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การใช้ excel คิดค่าไฟฟ้า

การใช้ excel คิดค่าไฟฟ้าในบทความนี้จะต่อจากเนื้อหาบทความ การใช้ excel คิดค่าไฟฟ้าเพื่อประหยัดไฟฟ้า ซึ่งเนื้อหาในบทความดังกล่าวจะกล่าวถึงการคำนวณการใช้พลังงานไฟฟ้าจากกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าในที่อยู่อาศัยและเวลาที่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น โดยสุดท้ายเราจะได้พลังงานไฟฟ้ารวมที่เราใช้ไปในหนึ่งเดือนโดยประมาณ ในบทความนี้จะมาต่อกันด้วยการนำพลังงานไฟฟ้าที่คิดได้มาคิดค่าไฟฟ้าออกมาเป็นจำนวนเงินที่เราจะต้องจ่าย ซึ่งจะทำให้เห็นภาพชัดเจนกับรายจ่ายของเราครับ ก่อนอื่นผมขออธิบายค่าไฟฟ้าซึ่งการไฟฟ้าคิดจากเราก่อนนะครับ ซึ่งจะประกอบด้วยรายการดังนี้ครับ

  1. ค่าไฟฟ้าฐาน ก็คิดตามจำนวนพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้กันตามจริงครับ
  2. ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า ft) อันนี้ก็ตามชื่อครับผันแปรตามการไฟฟ้าครับในแต่ละเดือนไม่เท่ากัน บ้านไหนใช้พลังงานไฟฟ้าเยอะก็จะถูกเก็บส่วนนี้เยอะครับ เพราะเป็นส่วนต้นทุนพลังงานที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าครับ
  3. ค่าบริการ ตัวนี้จะขึ้นอยู่กับประเภทของการใช้ไฟและจำนวนพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้กันตามจริงในแต่ละเดือนครับ
  4. ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อันนี้ก็เป็นภาระของเราครับ End user

จากโครงสร้างค่าไฟฟ้าดังกล่าวเรามาออกแบบ excel เพื่อคิดค่าไฟฟ้ากันก่อนเลยครับ ดังแสดงในภาพที่ 1

คิดค่าไฟฟ้า

ภาพที่ 1 รูปแบบ worksheet ใน excel เพื่อคำนวณค่าไฟฟ้า

หลักการทำงานของ worksheet นี้ สมมุติเราเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 บ้านที่อยุ่อาศัย

  1. ผู้ใช้ป้อนจำนวนพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในแต่ละเดือนลงในช่อง C2 และป้อนค่า ft ต่อหน่วยในช่อง C2
  2. สูตร excel ที่เราป้อนในช่อง D2 และ D4 จะคำนวณค่าไฟฟ้าฐานและค่าบริการให้
  3. สูตร excel ที่เราป้อนในช่อง D3 จะคำนวณค่า ft ให้
  4. สูตร excel ที่เราป้อนในช่อง D5 จะคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มให้
  5. กำหนดประเภทของผู้ใช้ไฟฟ้า 1.1 หรือ 1.2 ในช่อง C7

เอาหล่ะครับเรามาดูการใช้สูตร excel ในแต่ละช่องกันเลยครับ

การใช้สูตร excel ช่อง D3 เนื่องจากค่า ft จะเท่ากับ ค่า ft ต่อหน่วยคูณกับจำนวนพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจะเขียนสูตร excel ได้ดังนี้

= C3*C2

ใช้สูตร excel if เพื่อตรวจสอบว่าช่อง C3 และ C2 ว่างหรือไม่เพื่อความถูกต้องจะเขียนสูตร excel ได้เป็น

= IF(C2<>"", IF(C3<>"", C3*C2,""),"")

การใช้สูตร excel ในช่อง D4 จะตรวจสอบเงื่อนไขประเภทของผู้ใช้ไฟฟ้า โดยหากเป็นประเภท 1.1 การใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย ต่อเดือนจะคิดค่าบริการ 8.19 บาท และประเภท 1.2 การใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือนจะคิดค่าบริการ 40.90 โดยประเภทของผู้ใช้ไฟฟ้าจะถูกกำหนดในช่อง C7 ใช้สูตร excel ได้ดังนี้ (ประเภทของผู้ใช้ต้องเป็น 1.1 หรือ 1.2 เท่านั้น)

= IF(C7=1.1,8.19,IF(C7=1.2,40.9,""))

หากต้องการตรวจสอบว่าช่อง C7 ว่างหรือไม่เพื่อความถูกต้องจะต้องใช้สูตร excel if มาช่วยอีกครั้งได้เป็น

=IF(C7<>"",IF(C7=1.1,8.19,IF(C7=1.2,40.9,"")),"")

การใช้สูตร excel ในช่อง D5 จะเป็นค่าการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของค่าไฟฟ้าทั้งหมด จะเขียนสูตร excel ได้ดังนี้

= IF(C5<>"",C5*SUM(D2:D4)/100,"")

เอาหล่ะครับมาถึงการคำนวณที่สำคัญนั่นคือ ค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งการคิดค่าไฟฟ้าฐานจะคิดแบบขั้นบันได ท่านผู้อ่านสามารถย้อนกลับไปศึกษาการคิดแบบขั้นบันไดได้จากบทความเรื่อง การใช้งาน Excel ประยุกต์ VLOOKUP คำนวณค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันได โดยจากตารางการคิดค่าไฟฟ้าประเภทที่อาศัยของการไฟฟ้านครหลวงมีเงื่อนไขดังนี้ครับ

ประเภท1.1 การใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน

  • 5 หน่วย (หน่วยที่ 1-5) เป็นเงิน 0.00 บาท
  • 10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 6-15) หน่วยละ 1.3576 บาท
  • 10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่16-25) หน่วยละ 1.5445 บาท
  • 10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26-35) หน่วยละ 1.7968 บาท
  • 65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36-100) หน่วยละ 2.1800 บาท
  • 50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101-150) หน่วยละ 2.2734 บาท
  • 250 หน่วยต่อไป(หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 2.7781 บาท
  • เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) หน่วยละ 2.9780 บาท

ประเภท 1.2 การใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน

  • 150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-150) หน่วยละ 1.8047 บาท
  • 250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151-400) หน่วยละ 2.7781 บาท
  • เกินกว่า 400 หน่วย (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป) หน่วยละ 2.9780 บาท

จากเงื่อนไขค่าไฟฟ้าประเภท 1.1 ดังกล่าวสามารถเขียนเป็นตารางค่าไฟฟ้าสะสมที่ระดับหน่วยการใช้ไฟฟ้าต่างๆได้ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ข้อมูลการคิดค่าไฟฟ้าประเภท 1.1

จำนวนหน่วยขั้นต่ำ

ค่าไฟฟ้าสะสม

ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย

0

0

0

5

0

1.3576

15

= 10*1.3576 = 13.576

1.5445

25

= 10*1.5445 +13.576 = 29.021

1.7968

35

= 10*1.7968 + 29.021 = 46.989

2.18

100

=65*2.18+46.989 = 188.689

2.2734

150

= 50*2.2734 + 188.689 = 302.359

2.7781

400

= 250*2.7781 + 302.359 = 996.884

2.978

จากเงื่อนไขค่าไฟฟ้าประเภท 1.2 ดังกล่าวสามารถเขียนเป็นตารางค่าไฟฟ้าสะสมที่ระดับหน่วยการใช้ไฟฟ้าต่างๆได้ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ข้อมูลการคิดค่าไฟฟ้าประเภท 1.2

จำนวนหน่วยขั้นต่ำ

ค่าไฟฟ้าสะสม

ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย

0

0

1.8047

150

=150*1.8047=270.705

2.7781

400

=250*2.7781=694.525

2.978

จากบทความการคิดค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันได เราจะใช้สูตร excel : vlookup และ excel if มาช่วยคิดค่าไฟฟ้ากันครับ เริ่มจากตรวจสอบว่าช่อง C2 ว่างหรือไม่หากว่างจะไม่คำนวณอะไร หากไม่ว่างจะคิดค่าไฟฟ้าต่อไป สามารถใช้สูตร excel ดังนี้ครับ

= IF (C2<> “”,คิดค่าไฟฟ้า,””) สูตร excel 1

ขั้นตอนต่อมาการคิดค่าไฟฟ้าต้องกำหนดประเภทของผู้ใช้ไฟฟ้า โดยในที่นี้เราจะกำหนดไว้ที่ช่อง C7 โดยค่าเริ่มต้นจะเป็นประเภท 1.1

ให้ท่านบันทึกข้อมูลการคิดค่าไฟฟ้าในตารางที่ 1 และ 2 ลงใน worksheet เดียวกับแผ่น sheet การคิดค่าไฟฟ้าดังแสดงในภาพที่ 2

การคิดค่าไฟฟ้าสะสมภาพที่ 2 ข้อมูลการคิดค่าไฟฟ้าใน excel

ในส่วนของการคิดค่าไฟฟ้าจะเริ่มจากตรวจสอบประเภทของผู้ใช้ในช่อง C7 ใช้สูตร excel ดังนี้

IF(C7 = 1.1 , คิดค่าไฟฟ้าประเภทที่ 1.1 , ตรวจสอบช่อง C7 อีกครั้ง)

หากไม่ใช่ประเภท 1.1 จะตรวจสอบช่อง C7 อีกครั้งว่าเป็น ประเภท 1.2 หากใช่ก็คิดค่าไฟฟ้าประเภท 1.2 หากไม่ใช่จะไม่คำนวณอะไรเลย ใช้สูตร excel ดังนี้

IF(C7 = 1.2 , คิดค่าไฟฟ้าประเภทที่ 1.2 , “”)

ดังนั้นจะได้สูตร excel ที่ตรวจสอบประเภทของผู้ใช้ได้ดังนี้

IF(C7 = 1.1 , คิดค่าไฟฟ้าประเภทที่ 1.1 , IF(C7 = 1.2 , คิดค่าไฟฟ้าประเภทที่ 1.2 , “”))

การคิดค่าไฟฟ้าประเภท 1.1 สามารถใช้สูตร excel ได้ดังนี้

ค่าไฟฟ้าสะสมของชั้นนี้ + ค่าไฟฟ้าเฉพาะชั้นนี้

VLOOKUP(C2,G2:I9,2,TRUE) + (C2- VLOOKUP(C2,G2:I9,1,TRUE))*VLOOKUP(C2,G2:I9,3,TRUE)

การคิดค่าไฟฟ้าประเภท 1.2 สามารถใช้สูตร excel ได้ดังนี้ ตารางข้อมูลเปลี่ยนเป็น G11:I13

VLOOKUP(C2,G11:I13,2,TRUE) + (C2- VLOOKUP(C2,G11:I13,1,TRUE))*VLOOKUP(C2,G11:I13,3,TRUE)

แทนสูตร excel ในแต่ละประเภทผู้ใช้แทนลงในสูตร excel ที่ใช้ในการตรวจสอบเงื่อนไขจะได้สูตร excel คิดค่าไฟฟ้าฐานเป็น

IF(C7 = 1.1 , VLOOKUP(C2,G2:I9,2,TRUE) + (C2- VLOOKUP(C2,G2:I9,1,TRUE))*VLOOKUP(C2,G2:I9,3,TRUE) , IF(C7 = 1.2 , VLOOKUP(C2,G11:I13,2,TRUE) + (C2- VLOOKUP(C2,G11:I13,1,TRUE))*VLOOKUP(C2,G11:I13,3,TRUE), “”))

นำสูตร excel คิดค่าไฟฟ้า ที่ได้เข้าไปแทนที่สูตร excel 1 ซึ่งตรวจสอบช่อง C2 จะได้สูตร excel สำหรับคิดค่าไฟฟ้าฐานในช่อง D2 ได้ดังนี้

= IF (C2<> “”,IF(C7 = 1.1 , VLOOKUP(C2,G2:I9,2,TRUE) + (C2- VLOOKUP(C2,G2:I9,1,TRUE))*VLOOKUP(C2,G2:I9,3,TRUE) , IF(C7 = 1.2 , VLOOKUP(C2,G11:I13,2,TRUE) + (C2- VLOOKUP(C2,G11:I13,1,TRUE))*VLOOKUP(C2,G11:I13,3,TRUE), “”)),””)

ผลรวมค่าไฟฟ้าทั้งหมดในช่อง D9 จะใช้สูตร excel ได้ดังนี้

= SUM(D2:D5)

ทดลองสูตร excel กันครับ

สมมุติให้ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวน 160 หน่วย

ค่า ft = 0.2444 บาทต่อหน่วย

ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2

เมื่อป้อนข้อมูลลงในช่อง C2 ,C3, C4, C5 และ C7 จะได้ผลการคิดค่าไฟฟ้าดังแสดงในภาพที่ 3

ผลการคิดค่าไฟฟ้า

ภาพที่ 3 ผลการคิดค่าไฟฟ้า

สูตร excel ใน worksheet นี้ท่านผู้อ่านสามารถใช้นำไปคิดค่าไฟฟ้าได้เลยครับ ซึ่งอาจจะเพิ่มเติมในส่วนของการปัดเศษสตางค์อีกนิดหน่อยก็สมบูรณแล้ว ก็จะทำให้ท่านผู้อ่านพอทราบค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้าของครอบครัวของท่านได้ ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆก็สามารถนำไปใช้งานได้นะครับ สวัสดีครับ

2 ความคิดเห็น:

Carbonman กล่าวว่า...

ผมสนใจเรื่องการคำนวณการใช้พลังงานจากอุปกรณ์และเครื่องจักรในอุตสาหกรรมว่า มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเท่าไหร่ แล้วเราจะสามารถวัดอัตราการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อชั่วโมง ได้อย่างไร โดยใช้ Excel คำนวณครับ

คู่มือซ่อมรถ กล่าวว่า...

ขอไฟล์มาเป็นตัวอย่างได้ไหมครับ

แสดงความคิดเห็น

Yahoo bot last visit powered by  Ybotvisit.com