วันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การใช้ excel : นำเสนอข้อมูลด้วยกราฟ Log ตอนที่ 2 (How to present data by logarithm graph by excel-2)

จากบทความการใช้ excel นำเสนอข้อมูลแบบ log scale ตอนที่ 1 ซึ่งได้นำเสนอหลักการของ linear scale และตัวอย่างการใช้ linear scale ในกราฟของ MS excel  สำหรับการสร้างงานนำเสนอข้อมูล และท้ายที่สุดได้ทิ้งท้ายปัญหาการนำเสนอช่วงข้อมูลที่มีค่าแตกต่างกันมากๆ ซึ่งพบว่าข้อมูลที่มีค่าน้อยๆไม่มีความโดดเด่นเลยใน linear scale ซึ่งผิดหลักของการนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภาพ ที่ต้องมีความชัดเจน ดังนั้น ในบทความนี้จึงขอนำเสนอ การนำเสนอข้อมูลใน  logarithm scale กัน
 ก่อนอื่นขอเริ่มที่ นิยามของ Logarithm ก่อน logarithm เป็นระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์ที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนให้อยู่ภายใต้การดำเนินการทางคณิตศาสตร์แบบง่ายๆ เช่น เปลี่ยนจากการคูณเป็นการบวก การหารเป็นการลบ การยกกำลังเป็นการคูณเป็นต้น  โดยจะขอยกนิยามของ Logarithm  ให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้
Logarithm  เป็นฟังก์ชันที่ผกผันกับฟังก์ชันเลขยกกำลัง โดยจะพบว่าการเขียนตัวเลขให้อยู่ในรูปยกกำลังจะสามารถเขียนได้ดังนี้
 

 
หลังจากรู้จักนิยามและสมบัติของ  logarithm มาแล้ว เราจะเริ่มเข้าสู่การประยุกต์ใช้ logarithm scale กัน โดยในบทความนี้ขอกล่าวถึง logarithm ฐาน 10 เท่านั้น โดยทั่วไป logarithm ฐานสิบจะนิยมละ เลขฐาน ไว้ และเมื่อกล่าวถึง logarithm ฐาน 10 ก็ต้องนึกถึงเลขยกกำลังฐานสิบคู่กันไปด้วย
สมมุติเลขจำนวนจริงชุดหนึ่งสามารถเขียนความสัมพันธ์ในรูปเลขยกกำลังฐาน 10 ได้ดังสมการ 1
จะพบว่าสมการที่ 2 มีลักษณะเป็นสมการเชิงเส้นที่มีความชันเท่ากับ 1 (กล่าวได้ว่าสมการยกกำลังสามารถเปลี่ยนเป็นสมการเชิงเส้นได้เมื่ออยู่ใน logarithm scale ) เราจะเขียนช่วงของตัวเลขในรูปของเลขยกกำลังฐานสิบที่มีเลขยกกำลังต่างๆกันในสมการที่ 1 และคำนวณค่า  logarithm  ของจำนวนดังกล่าวตามสมการที่ 2 ได้ดังตารางที่ 1 
 
จากตารางที่ 1 เมื่อพิจารณาระยะห่างใน linear scale เมื่อ  N = 1 และ N = 100,000 จะพบว่ามีระยะห่างกันมากถึง 100,000 ช่อง แต่เมื่อพิจารณาในlogarithm  scale พบว่ามีระยะห่างกันเพียง 5ช่อง ซึ่งทำให้สามารถแสดงข้อมูลทั้งสองได้อย่างชัดเจน
พึงสังเกตว่าระยะห่าง 5 ช่องใน logarithm scale (ฐานสิบ) จะมีค่าต่างกันถึง 105 ใน linear scale
เราสามารถสรุปได้ว่า หากข้อมูลตัวเลขที่เรามีอยู่มีความแตกต่างกันอย่างมากแล้ว แต่หากปรับให้อยู่ใน logarithm scale แล้ว ตัวเลขจะถูกบีบอัดให้มีความแตกต่างกันลดลงทำให้ข้อมูลที่มีอยู่มีค่าใกล้เคียงกันจนสามารถวิเคราะห์หรือนำเสนอข้อมูลนั้นได้อย่างละเอียดและชัดเจน
เอาหล่ะครับในขณะนี้ผมจะขอนำเสนอวิธีการอ่านข้อมูลใน log scale และแสดงให้เห็นถึงการบีบอัดข้อมูลกันครับ ดังแสดงในภาพ
เปรียบเทียบ Linear & logarithm scale
คราวนี้เราจะนำปัญหาของการนำเสนอยอดขายของคุณสมชายจากบทความตอนที่ 1 มาวิเคราะห์กันอีกครั้งหนึ่งครับ โดยคราวนี้เราจะปรับสเกลแกนตั้งซึ่งแสดงยอดขายให้เป็น log scale ฐาน 10 โดยสามารถทำได้ดังนี้
1.                ให้นำเมาส์ไปคลิก เลือกเส้นสเกลในแนวดิ่งของกราฟยอดขาย
2.                คลิกเมาส์ขวา และเลือกเมนู จัดรูปแบบแกน... excel จะแสดงไดอะล็อก จัดรูปแบบแกน ดังแสดงในภาพ
3.                ใน list ด้านซ้ายให้เลือก ตัวเลือกแกน
4.                ในตัวเลือกด้านขวาให้คลิกเลือก มาตราส่วนลอการิทึม โดยกำหนด ฐาน เป็น 10 ดังแสดงในภาพ
5.                ในหัวข้อ แกนนอนตัดที่ ให้เลือก ค่าแกน และป้อนค่า  0.01 ( ต้องป้อนค่าที่มากกว่า 0 เนื่องจาก log 0 ไม่นิยาม)
6.                คลิกตกลง จะได้กราฟแสดงยอดขายใน scale log
 
 
ขั้นตอนที่ 2
 
 
ขั้นตอนที่ 4
 
 
เปรียบเทียบกราฟ Linear & Logarithm Scale จาก Excel
 
ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าหลังจากปรับสเกลของมูลค่ายอดขายสินค้าให้อยู่ใน สเกล Logarithm แล้ว พบว่ากราฟแสดงยอดขายของสินค้าตาม item สามารถแสดงข้อมูลของสินค้าทุกๆ item ได้อย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับกราฟ excel ในสเกล Linear  ก็หวังว่าเทคนิคการปรับสเกลของข้อมูลเป็น Logarithm Scale จะเป็นประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่านที่กำลังประสบปัญหาได้นะครับ อย่าลืมหากข้อมูลการนำเสนอของท่านมีค่าแตกต่างกันมากๆแต่ท่านมีความจำเป็นต้องนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกันในกราฟเดียวกัน กราฟ แบบ Logarithm scale สามารถช่วยท่านได้ครับ และท่านยังสามารถปรับสเกลในแกนนอนให้เป็นแบบ Logarithm ได้เช่นกันนะครับในกรณีที่มีความแตกต่างของข้อมูลเช่นกัน ท้ายที่สุดจากที่ได้กล่าวถึงขนาดของแผ่นดินไหวตามมาตราริกเตอร์ ซึ่งเป็นการนำเสนอในสเกล Logarithm เช่นกันดังนั้นแม้ว่าความแตกต่างของขนาดแผ่นดินไหวจะห่างกันเพียง 1 ตามมาตราริกเตอร์ แต่ในความเป็นจริงแล้วขนาดของแผ่นดินไหวมีความต่างกันถึง 10 เท่าทีเดียว
 
บทความที่เกี่ยวข้อง
 

 
 
 
 
 
 

วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การใช้ excel : นำเสนอข้อมูลด้วยกราฟ Log ตอนที่ 1 (How to present data by logarithm scale by excel-1)

ในบทความนี้ขอนำเสนอเทคนิคการนำเสนอข้อมูลด้วย Excel  โดยใช้เทคนิคของ logarithm graph ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้แก้ปัญหาข้อมูลที่นำเสนอมีค่าที่แตกต่างกันอย่างมาก เช่น มีค่าตั้งแต่ 100 – 1,000,000 ในกราฟเดียวกัน หรือยอดขายของเซลล์แต่ละคน ยอดขายสินค้า by item ในแต่ละเดือนเป็นต้น  ก่อนอื่นขอเริ่มต้นให้ท่านผู้อ่านรู้จัก scaling ก่อนครับ Scaling เป็นการเพิ่มหรือลดขนาดของตัวเลขในกลุ่มข้อมูลด้วยค่าคงที่ค่าหนึ่งๆ โดยส่วนใหญ่เราจะรู้จัก scaling แบบ linear (linear scale) ซึ่งสามารถเขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้
y = ax  
เมื่อ y คือค่าหลังทำการ scale
x คือค่าก่อนการ scale
a คือค่าคงที่ในการ scale  มีค่ามากกว่า 0
จากสมการจะพบว่าความสัมพันธ์ระหว่าง x และ y เป็นแบบ linear  โดยหาก a มีค่ามากกว่า 1 จะเป็นการขยายค่า หรือ scale up และหาก x น้อยกว่า 1 จะเป็นการ scale down ตัวอย่างการทำ linear scale มีมากมายที่จะประยุกต์ใช้ ยกตัวอย่างเช่น คุณสมชายมีข้อมูลยอดขายสินค้า 5 item ซึ่งมีข้อมูลดังนี้

จากข้อมูลหากนำเสนอเป็นตัวเลขดังกล่าวคงสร้างความลำบากในการอ่านหรือนำเสนอเป็นอย่างมาก และในความเป็นจริงผู้บริหารอาจต้องการทราบตัวเลขโดยประมาณก็เป็นได้ ดังนั้น เราจะทำการปรับ scale จากมูลค่า บาท เป็นมูลค่า ล้านบาท ซึ่งทำได้โดยการหารยอดขายด้วยค่า 1,000,000 ดังนั้นจากสมการ  linear scale เราสามารถเขียนได้ดังนี้
Y = (1/1,000,000)*x
ซึ่ง y เป็นยอดขายหลังทำการ scale แล้ว หน่วยเป็น ล้านบาท
x เป็นยอดขายที่แท้จริง หน่วยเป็นล้านบาท
a = 1/1,000,000
จากสมการ linear scale  ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า a น้อยกว่า 1 ดังนั้นจึงเป็นการ scale down โดยหลังการ scaling แล้วจะได้ ยอดขายใหม่ในหน่วย ล้านบาท และเมื่อใช้สูตร excel ปรับรูปแบบตัวเลขเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง ข้อมูลการนำเสนอยอดขายจะแสดงได้ดังตาราง


จากตารางเราจะพบว่าข้อมูลที่ได้หลังการทำ scaling ดูง่ายและสะดวกในการนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟแท่งหรือกราฟเส้นตรงจาก excel แสดงในภาพที่ 1 มาถึงจุดนี้หวังว่าท่านผู้อ่านจะนำเทคนิคการทำ linear scale ไปประยุกต์ใช้ในการนำเสนอข้อมูลของท่านเพื่อให้เป็นการนำเสนอที่มีความสมบูรณ์แบบและชัดเจน

เอาหล่ะครับมาถึงขณะนี้สมมุติว่า คุณสมชายมีสินค้าใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก 1 item ยอดขาย 80,000 บาท และต้องการนำเสนอผู้บริหารด้วยเนื่องจากเป็นสินค้าที่กำลังมาแรงหรือมี potential ในตลาดขณะนี้  เรามาดูกราฟหลังการเพิ่มสินค้า item นี้กันครับ


จากกราฟเป็นยังบ้างครับ ข้อมูล item 6 ไม่มีความโดดเด่นและไม่น่าสนใจเลย ซึ่งขัดแย้งกับเทคนิคการนำเสนอที่ต้องมีความน่าสนใจและชัดเจน ครับ เราจะแก้ปัญหานี้ได้ โดยการใช้ scaling แบบ logarithm ติดตามกันในบทความถัดไปครับ ว่า scaling แบบ logarithm คืออะไร
ก่อนจบอยากจะบอกว่าแรงบันดาลใจในการนำเสนอการ scaling แบบ logarithm เนื่องจากเมื่อเดือนที่แล้ว หลานสาวซึ่งกำลังเรียนอยู่ชั้น ม 5 นำการบ้านคณิตศาสตร์เรื่อง logarithm มาให้ช่วยสอน พร้อมกับคำถามว่า logarithm เอามาใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง และล่าสุดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย ที่จังหวัดเชียงราย หลายท่านคงทราบว่ามีขนาด 6.3 ตามมาตราริกเตอร์ มีคำถามมากมายในเหตุการณ์ดังกล่าว รวมถึงขนาดของแผ่นดินไหวที่วัดได้ก็ถูกอธิบายใน logarithm scale ซึ่งระดับความรุนแรงจะแตกต่างกันมากแม้ว่าขนาดจะต่างกันเพียงเล็กน้อยใน logarithm scale


วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การใช้ excel : มาใช้ pivot table ช่วยเก็บข้อมูลการลาของพนักงานกัน

บทความการใช้ excel บทนี้ อยากจะนำเสนอการประยุกต์ใช้ excel มาช่วยเก็บข้อมูลการขาด การลา ของพนักงานกันครับ เหมาะสำหรับ บริษัทที่พนักงานไม่มากนัก หรือจะจำนวนมาก ตัวผมเองก็มองว่าไม่เป้นปัญหาในการเก็บข้อมูลครับ ที่สำคัญก็คือราคาไม่แพง อันดับแรกมาดูวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูลการลาของพนักงานกันก่อนครับ ขอยกตัวอย่างเลยหล่ะกันครับ การเก็บข้อมูลการขาด การลา ก็เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้วิเคราะห์สถิติของพนักงาน ก่อนอื่นเราจะแบ่งประเภทการลาของพนักงานในบริษัทก่อน ในตัวอย่างนี้จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้ครับ
1. ลากิจ
2. ลาป่วย
3. ลาพักร้อน
4. ขาดงาน

เรามาออกแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลการลาของพนักงานก่อนครับ ในแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูล ฐานข้อมูลจะแบ่งออกเป็นฟิลด์ต่างๆดังนี้ครับ
1. วันเดือนปีที่ลา column B
2. รายชื่อพนักงาน column C
3. ประเภทการลา column D
4. เวลาในการลา ในที่นี้จะกำหนดให้เป็น 1 วันหรือ 0.5 วัน เท่านั้น column E

ฐานข้อมูลพนักงานเราจะเก็บไว้ใน worksheet ชื่อ emp ใน column B โดยกำหนดข้อมูลเป็น Dynamic Data ชื่อ empy ดังแสดงในภาพที่ 1 การกำหนดข้อมูลเป็นแบบ Dynamic Data ทำให้หากมีพนักงานเพิ่มข้อมูลพนักงานก็จะอัพเดตอัตโนมัติ 


ในขณะเดียวกันเราจะสร้างข้อมูลประเภทการลาทั้ง 4 ไว้ใน worksheet ชื่อ type 
โดยกำหนดชื่อข้อมูลเป็น typ

ในแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลการลา เราจะกำหนดข้อมูลใน cell B3 และ C3 เป็นแบบรายการโดยกำหนดให้เท่ากับ empy และ typ ดังแสดงในภาพที่ 2


ทำการ copy รูปแบบข้อมูลใน B3 และ C3 ลงไปในแถวด้านล่างตามที่ต้องการ เท่านี้เราก็สามารถใช้งานฟอร์มบันทึกการลาได้แล้ว โดยสามารถเลือกรายชื่อพนักงาน และประเภทการลาได้ ดังแสดงในภาพ


ในการแสดงรายงานเพื่อสรุปการลาของพนักงานเราจะใช้ความสามารถของ PivotTable ช่วยในการออกแบบ Report โดย เราจะกำหนดขอบเขตของฐานข้อมูลในแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลการลาเป็นแบบ Dynamic Data โดยกำหนดชื่อเป็น tb_data และใช้เป็นช่วงข้อมูลใน PivotTable เพื่อให้เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลในแบบฟอร์มการลาแล้ว เมื่อคลิกปุ่ม Refresh จะทำให้ PivotTable มีการอัพเดตข้อมูลแบบอัตโนมัติ


เราจะสร้าง Pivot Table สำหรับสรุปข้อมูลการลา 2 รูปแบบดังนี้
สรุปข้อมูลการลาแบ่งตามพนักงาน โดยแยกประเภทการลาและหาผลรวม

ท่านสามารถ download ไฟล์ excel เพื่อนำไปใช้งานได้ที่นี่ครับ 
ในการประยุกต์เพิ่มเติมฟิลด์ข้อมูลในการเก็บหรือสรุปรายงานจาก Pivot Table ท่านสามารถทดลองปรับดูได้ในไฟล์ดังกล่าว










วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การใช้ excel : สูตรการปัดเศษตัวเลขใน excel (round number in excel)

เรามักจะพบขั้นตอนการปัดเศษตัวเลขในหลายๆปัญหา ตั้งแต่จำนวนเงิน การปัดเศษตัวเลขสำหรับตั้งราคาขาย การชั่งน้ำหนักสิ่งของซึ่งจะขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องชั่งเป็นต้น ดังนั้นการใช้สูตร excel มาช่วยในการปัดเศษตัวเลขจึงมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งาน excel สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ในบทความย้อนหลังผมเคยนำเสนอเรื่องการปัดเศษในการตั้งราคาขายให้ท่านผู้อ่านไปใช้งานแล้ว หากสนใจลองย้อนกลับไปอ่านได้ครับ แต่ในบทความนี้ ผมตั้งใจจะเพิ่มมิติการนำเสนอการประยุกต์ใช้สูตร excel ในการปัดเศษตัวเลขในด้านอื่นๆเพิ่มเติม โดยจะนำตัวอย่างการปัดเศษมาอัพเดตให้ท่านผู้อ่านในบทความนี้อย่างต่อเนื่องครับ ก่อนอื่นมาดูสูตร excel ที่ใช้ในการปัดเศษกันก่อนครับ
1. Round เป็นสูตรที่ใช้ในการปัดเศษตัวเลขให้เป็นจำนวนทศนิยมที่ต้องการตามปกติ หรือเป็นจำนวนเต็มที่หารด้วย 10 เช่น 150 1500 เป็นต้น
กรณีปัดเศษทศนิยม
รูปแบบสูตร excel  : ROUND(ตัวเลขที่ต้องการปัดเศษ,จำนวนจุดทศนิยม)
เช่น Round(1.2578,2) = 1.26 
       Round(1.2548,2) = 1.25
กรณีปัดเป็นเลขจำนวนเต็มที่หารด้วยสิบลงตัว
รูปแบบสูตร excel : ROUND(ตัวเลขที่ต้องการปัดเศษ,-จำนวนหลักด้านซ้ายของจุดทศนิยม)
เช่น Round(124.78,-1) = 120 
       Round(12548,-1) = 130
       Round(124.78,-2) = 100  //ปัดเศษหลักร้อย
       Round(151.25,-2) = 200
มาดูการปัดตัวเลขให้เข้าใกล้จำนวนเต็ม สูตร Excel : Round(ตัวเลขที่ต้องการปัดเศษ,0) ตรงนี้ท่านผู้อ่านก็นำไปใช้งานได้ในกรณีต้องการปัดเป็นจำนวนเต็มเพื่อคิดคำนวณง่ายๆเป็นต้น
เช่น Round(124.78,0) = 125
       Round(124.38,0) = 124

หากเรามีตัวเลขค่าเกินกว่าหลักล้านและต้องการปัดตัวเลขในหน่วยล้าน เช้น ล้านบาท ล้านคน ในทศนิยม 2 ตำแหน่ง เราจะประยุกต์ใช้สูตร Excel ดังนี้
เช่น มีเงิน 123,545,234.25 บาท ต้องการปัดตัวเงินเป็นหลักล้านบาทและทศนิยม 2 ตำแหน่งเป็น 123.55 ล้านบาท เราจะใช้สูตร excel ดังนี้
Round(123545234.25/1e6,2) = 123.55 ล้านบาท



Yahoo bot last visit powered by  Ybotvisit.com