ในบทความนี้ขอนำเสนอเทคนิคการนำเสนอข้อมูลด้วย Excel
โดยใช้เทคนิคของ logarithm graph ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้แก้ปัญหาข้อมูลที่นำเสนอมีค่าที่แตกต่างกันอย่างมาก
เช่น มีค่าตั้งแต่ 100 – 1,000,000 ในกราฟเดียวกัน หรือยอดขายของเซลล์แต่ละคน
ยอดขายสินค้า by item ในแต่ละเดือนเป็นต้น
ก่อนอื่นขอเริ่มต้นให้ท่านผู้อ่านรู้จัก scaling ก่อนครับ Scaling
เป็นการเพิ่มหรือลดขนาดของตัวเลขในกลุ่มข้อมูลด้วยค่าคงที่ค่าหนึ่งๆ
โดยส่วนใหญ่เราจะรู้จัก scaling แบบ linear (linear scale) ซึ่งสามารถเขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้
y = ax
เมื่อ y คือค่าหลังทำการ scale
x คือค่าก่อนการ scale
a คือค่าคงที่ในการ scale มีค่ามากกว่า 0
จากสมการจะพบว่าความสัมพันธ์ระหว่าง x และ y เป็นแบบ linear
โดยหาก a มีค่ามากกว่า 1 จะเป็นการขยายค่า หรือ scale up และหาก x น้อยกว่า 1 จะเป็นการ scale down ตัวอย่างการทำ linear scale มีมากมายที่จะประยุกต์ใช้
ยกตัวอย่างเช่น คุณสมชายมีข้อมูลยอดขายสินค้า 5 item ซึ่งมีข้อมูลดังนี้
จากข้อมูลหากนำเสนอเป็นตัวเลขดังกล่าวคงสร้างความลำบากในการอ่านหรือนำเสนอเป็นอย่างมาก
และในความเป็นจริงผู้บริหารอาจต้องการทราบตัวเลขโดยประมาณก็เป็นได้ ดังนั้น
เราจะทำการปรับ scale จากมูลค่า บาท เป็นมูลค่า ล้านบาท ซึ่งทำได้โดยการหารยอดขายด้วยค่า 1,000,000
ดังนั้นจากสมการ
linear scale เราสามารถเขียนได้ดังนี้
Y = (1/1,000,000)*x
ซึ่ง y เป็นยอดขายหลังทำการ scale แล้ว
หน่วยเป็น ล้านบาท
x เป็นยอดขายที่แท้จริง หน่วยเป็นล้านบาท
a = 1/1,000,000
จากสมการ linear scale ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า a น้อยกว่า 1
ดังนั้นจึงเป็นการ scale down โดยหลังการ scaling แล้วจะได้
ยอดขายใหม่ในหน่วย ล้านบาท และเมื่อใช้สูตร excel ปรับรูปแบบตัวเลขเป็นทศนิยม
2 ตำแหน่ง ข้อมูลการนำเสนอยอดขายจะแสดงได้ดังตาราง
จากตารางเราจะพบว่าข้อมูลที่ได้หลังการทำ scaling
ดูง่ายและสะดวกในการนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟแท่งหรือกราฟเส้นตรงจาก
excel แสดงในภาพที่ 1 มาถึงจุดนี้หวังว่าท่านผู้อ่านจะนำเทคนิคการทำ
linear scale ไปประยุกต์ใช้ในการนำเสนอข้อมูลของท่านเพื่อให้เป็นการนำเสนอที่มีความสมบูรณ์แบบและชัดเจน
เอาหล่ะครับมาถึงขณะนี้สมมุติว่า
คุณสมชายมีสินค้าใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก 1 item ยอดขาย 80,000 บาท และต้องการนำเสนอผู้บริหารด้วยเนื่องจากเป็นสินค้าที่กำลังมาแรงหรือมี potential ในตลาดขณะนี้
เรามาดูกราฟหลังการเพิ่มสินค้า item นี้กันครับ
จากกราฟเป็นยังบ้างครับ ข้อมูล item 6 ไม่มีความโดดเด่นและไม่น่าสนใจเลย ซึ่งขัดแย้งกับเทคนิคการนำเสนอที่ต้องมีความน่าสนใจและชัดเจน ครับ เราจะแก้ปัญหานี้ได้
โดยการใช้ scaling แบบ logarithm ติดตามกันในบทความถัดไปครับ
ว่า scaling แบบ logarithm คืออะไร
ก่อนจบอยากจะบอกว่าแรงบันดาลใจในการนำเสนอการ scaling แบบ logarithm
เนื่องจากเมื่อเดือนที่แล้ว หลานสาวซึ่งกำลังเรียนอยู่ชั้น ม 5
นำการบ้านคณิตศาสตร์เรื่อง logarithm มาให้ช่วยสอน พร้อมกับคำถามว่า logarithm
เอามาใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง และล่าสุดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทย
ที่จังหวัดเชียงราย หลายท่านคงทราบว่ามีขนาด 6.3 ตามมาตราริกเตอร์ มีคำถามมากมายในเหตุการณ์ดังกล่าว รวมถึงขนาดของแผ่นดินไหวที่วัดได้ก็ถูกอธิบายใน logarithm scale ซึ่งระดับความรุนแรงจะแตกต่างกันมากแม้ว่าขนาดจะต่างกันเพียงเล็กน้อยใน logarithm scale
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น